การเปิดใบกำกับภาษี
ถามวันที่ 9 ส.ค. 2559 . ถามโดย carmugen . เข้าชม 13 ครั้ง
การเปิดใบกำกับภาษี
ถามวันที่ 9 ส.ค. 2559 . ถามโดย carmugen . เข้าชม 13 ครั้ง
เรียบสอบถามอาจารย์ดังนี้ค่ะ
บริษัททำธุรกิจจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ได้ขอรายละเอียดชื่อที่อยู่ลูกค้าเพื่อเปิดใบกำกับภาษี ลูกค้าเป็นกิจการจำหน่ายอะไหล่ มีหน้าร้าน ได้ให้รายละเอียดเป็นชื่อและที่อยู่ของบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่ชื่อตนและแจ้งกับบริษัทว่าเป็นญาติกัน ที่อยู่ตามบัตรที่ให้มาเป็นคนละที่กันกับหน้าร้านที่บริษัทส่งสินค้า กรณีเช่นนี้บริษัทสามารถออกใบกำกับภาษีตามรายละเอียดที่ลูกค้าให้มาได้หรือไม่
บริษัททำธุรกิจจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ได้ขอรายละเอียดชื่อที่อยู่ลูกค้าเพื่อเปิดใบกำกับภาษี ลูกค้าเป็นกิจการจำหน่ายอะไหล่ มีหน้าร้าน ได้ให้รายละเอียดเป็นชื่อและที่อยู่ของบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่ชื่อตนและแจ้งกับบริษัทว่าเป็นญาติกัน ที่อยู่ตามบัตรที่ให้มาเป็นคนละที่กันกับหน้าร้านที่บริษัทส่งสินค้า กรณีเช่นนี้บริษัทสามารถออกใบกำกับภาษีตามรายละเอียดที่ลูกค้าให้มาได้หรือไม่
1 คำตอบ
เรียน คุณ carmugen
การออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายหมาย ซึ่งตามมาตรา 86/13 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า
"มาตรา 86/13 ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้
บุคคลใดออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย บุคคลนั้นต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้นั้นเสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน"
นอกจากนี้ ผู้ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายยังต้องรับผิดดังนี้
1. เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
"มาตรา 89 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือบุคคลตามมาตรา 86/13 เสียเบี้ยปรับในกรณีและตามอัตราดังต่อไปนี้
...
(6) ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายตามมาตรา 86/13 ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้นั้น"
2. ระโทษทางอาญาตามมาตรา 90/4 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
"มาตรา 90/4 บุคคลดังต่อไปนี้ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
...
(3) ผู้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออก เอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86/13"
กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ได้ขอรายละเอียดชื่อที่อยู่ลูกค้าเพื่อเปิดใบกำกับภาษี ลูกค้าเป็นกิจการจำหน่ายอะไหล่ มีหน้าร้าน ได้ให้รายละเอียดเป็นชื่อและที่อยู่ของบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่ชื่อตนและแจ้งกับบริษัทว่าเป็นญาติกัน ที่อยู่ตามบัตรที่ให้มาเป็นคนละที่กันกับหน้าร้านที่บริษัทส่งสินค้า กรณีเช่นนี้เห็นว่า บริษัทฯ ไม่สามารถออกใบกำกับภาษีตามรายละเอียดที่ลูกค้าให้มาได้ เพราะไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
การออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายหมาย ซึ่งตามมาตรา 86/13 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า
"มาตรา 86/13 ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้
บุคคลใดออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย บุคคลนั้นต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้นั้นเสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน"
นอกจากนี้ ผู้ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายยังต้องรับผิดดังนี้
1. เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
"มาตรา 89 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือบุคคลตามมาตรา 86/13 เสียเบี้ยปรับในกรณีและตามอัตราดังต่อไปนี้
...
(6) ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายตามมาตรา 86/13 ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้นั้น"
2. ระโทษทางอาญาตามมาตรา 90/4 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
"มาตรา 90/4 บุคคลดังต่อไปนี้ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
...
(3) ผู้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออก เอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86/13"
กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ได้ขอรายละเอียดชื่อที่อยู่ลูกค้าเพื่อเปิดใบกำกับภาษี ลูกค้าเป็นกิจการจำหน่ายอะไหล่ มีหน้าร้าน ได้ให้รายละเอียดเป็นชื่อและที่อยู่ของบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่ชื่อตนและแจ้งกับบริษัทว่าเป็นญาติกัน ที่อยู่ตามบัตรที่ให้มาเป็นคนละที่กันกับหน้าร้านที่บริษัทส่งสินค้า กรณีเช่นนี้เห็นว่า บริษัทฯ ไม่สามารถออกใบกำกับภาษีตามรายละเอียดที่ลูกค้าให้มาได้ เพราะไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
ตอบเมื่อ 14 ส.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ