ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

การหัก ณ ที่จ่าย

ถามวันที่ 9 ส.ค. 2559  .  ถามโดย thitipong.kh  .  เข้าชม 17 ครั้ง

1.บุคคลธรรมดา เป็นผู้จ่ายเงินได้พึ่งประเมิน ม.40(1-8) ให้แก่ บุคคล หรือนิติบุคคล ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ไหมครับ เพราะใน ม.50 บอกว่าบุคคล ฯ ที่จ่าย ต้องหักฯ
2.ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่นิติบุคคล(บริษัท)จ่ายให้กับธนาคาร ตามสัญญาการกู้ยืมเงิน มีไม่กม.กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ถูกต้องไหมครับ
3.ในข้อ ๑๒/๖ ของ ทป.4/28 กำหนดว่า "การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีจำนวนตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท” ใช้บังคับ กับ ม.69 ทวิ เพราะเห็นในคำอธิบายหลังแบบ 53 ยังใช้จำนวน 500 บาท ครับ

รบกวนช่วยอธิบายด้วยครับ ขอบคุณครับ

1 คำตอบ
เรียน คุณ thitipong.kh

1. บุคคลธรรมดา เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 หรือมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร เพราะบทบัญญัติมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นบทบัญญัติตามส่วน 2 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใชักับเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น ไม่ครอบคลุมไปถึงกรณีผู้มีเงินได้ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ตามความในมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ บุคคล ที่จ่าย มีหน้าที่ต้องหักฯ นั้น รวมความถึงบุคคลธรมดาด้วยครับ ถูกต้องแล้ว
2. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่นิติบุคคล (บริษัท) จ่ายให้กับธนาคาร ตามสัญญาการกู้ยืมเงิน มีไม่กม.กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ถูกต้องครับ
3. ในข้อ 12/6 ของคำสั่งกรมสรรพากร ท.ป. 4/2528 กำหนดว่า "การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีจำนวนตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท” ไม่ใช้บังคับกับมาตรา 69 ทวิ แห่งประวลรัษฎากร เพราะตามแบบ ภ.ง.ด.53 ที่กำหนดให้ใช้จำนวน 500 บาท นั้น ให้ใช้กับเฉพากรณีการหักำภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามาตรา 69 ทวิ แห่งประวลรัษฎากร เท่านั้น
ตอบเมื่อ 14 ส.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ