การบันทึกบัญชีของบริษัท
ถามวันที่ 4 ส.ค. 2559 . ถามโดย nookziiz8679 . เข้าชม 20 ครั้ง
การบันทึกบัญชีของบริษัท
ถามวันที่ 4 ส.ค. 2559 . ถามโดย nookziiz8679 . เข้าชม 20 ครั้ง
เรียน อาจารย์สุเทพ ที่เคารพ
ในกรณีที่บริษัทมีการพาพนักงานไปเที่ยวต่างจังหวัดในเทศกาลปีใหม่ บริษัทจะบันทึกบัญชีอย่างไรในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายออกไปให้กับ พนักงานแต่ละคน ซึ่งบางคนพาผู้ติดตามไปด้วย และพนักงานอาจจะต้องออกค่าใช้จ่ายเองบางส่วน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำงานของแต่ละคนที่บริษัทได้มีการกำหนดขึ้นมา
อยากทราบว่า บริษัทจะบันทึกบัญชีอย่างไร เพื่อขอเครดิตภาษีขายค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ในกรณีที่บริษัทมีการพาพนักงานไปเที่ยวต่างจังหวัดในเทศกาลปีใหม่ บริษัทจะบันทึกบัญชีอย่างไรในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายออกไปให้กับ พนักงานแต่ละคน ซึ่งบางคนพาผู้ติดตามไปด้วย และพนักงานอาจจะต้องออกค่าใช้จ่ายเองบางส่วน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำงานของแต่ละคนที่บริษัทได้มีการกำหนดขึ้นมา
อยากทราบว่า บริษัทจะบันทึกบัญชีอย่างไร เพื่อขอเครดิตภาษีขายค่ะ
ขอบคุณค่ะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ nookziiz8679
เกี่ยวกับรายจ่ายในการพาพนักงานไปเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ นั้น ในทางปฏิบัติมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นดังนี้
1. หากมีระเบียบของบริษัทฯ กำหนดให้บริษัทฯ มีภาระทีต้องจัดสวัสดิการดังกล่าว หรือแม้ไม่มีแต่บริษัทฯ ได้แจ้งแก่พนักงานของบริษัทฯ ว่า จะมีการจัดสวัสดิการดังกล่าวให้แก่พนักงาน เป็นการทั่วไป ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงแก่พนักงานคนใดคนหนึ่ง เช่นนี้ รายจ่ายในการจัดสวัสดิการนั้นย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่พนักงานต้องนำค่าสวัสดิการนั้นไปถือรวมเป้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่การจัดสวัสดิการทัศนศึกษานอกสถานที่ (Study Tour) ก้ไม่ต้องถือเป็นเงินได้ของพนักงานตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545
2. หากบริษัทฯ ไม่มีระเบียบสวัสดิการกำหนดไว้ การจัดสวัสดิการดังกล่าว อาจถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่พนักงานไม่ต้องนำค่าสวัสดิการนั้นไปถือรวมเป้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีตามข้อเท็จจริงที่แจ้งไป ถือได้ว่าเป็นกรณีที่บริษัทฯ มีระเบียบสวัสดิการไว้ชัดแจ้ง
1. ต้องให้พนักงานรับรู้ประโยชน์เพิ่มเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย โดยให้รับรู้ทั้งในส่วนที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่พนักงาน และผู้ติดตาม ในส่วนที่บริษัทได้มีการจ่ายค่าใช้จ่ายให้ด้วย
ส่วนผู้ติดตามที่บริษัทมีการจ่ายค่าใช้จ่ายให้ไม่ต้องรับรู้เงินได้แล้ว เพราะถือเป็นเงินได้ของพนักงานแล้ว มิฉะนั้น จะซ้ำซ้อน โดยถือเป็นค่าสวัสดิการพนักงาน
2. ต้องรับรู้เป็นเงินได้ในปีที่ได้พาพนักงานไปท่องเที่ยว
สำหรับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นดังกล่าว ให้นำไปถือเป็นเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
เกี่ยวกับรายจ่ายในการพาพนักงานไปเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ นั้น ในทางปฏิบัติมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นดังนี้
1. หากมีระเบียบของบริษัทฯ กำหนดให้บริษัทฯ มีภาระทีต้องจัดสวัสดิการดังกล่าว หรือแม้ไม่มีแต่บริษัทฯ ได้แจ้งแก่พนักงานของบริษัทฯ ว่า จะมีการจัดสวัสดิการดังกล่าวให้แก่พนักงาน เป็นการทั่วไป ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงแก่พนักงานคนใดคนหนึ่ง เช่นนี้ รายจ่ายในการจัดสวัสดิการนั้นย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่พนักงานต้องนำค่าสวัสดิการนั้นไปถือรวมเป้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่การจัดสวัสดิการทัศนศึกษานอกสถานที่ (Study Tour) ก้ไม่ต้องถือเป็นเงินได้ของพนักงานตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545
2. หากบริษัทฯ ไม่มีระเบียบสวัสดิการกำหนดไว้ การจัดสวัสดิการดังกล่าว อาจถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่พนักงานไม่ต้องนำค่าสวัสดิการนั้นไปถือรวมเป้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีตามข้อเท็จจริงที่แจ้งไป ถือได้ว่าเป็นกรณีที่บริษัทฯ มีระเบียบสวัสดิการไว้ชัดแจ้ง
1. ต้องให้พนักงานรับรู้ประโยชน์เพิ่มเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย โดยให้รับรู้ทั้งในส่วนที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่พนักงาน และผู้ติดตาม ในส่วนที่บริษัทได้มีการจ่ายค่าใช้จ่ายให้ด้วย
ส่วนผู้ติดตามที่บริษัทมีการจ่ายค่าใช้จ่ายให้ไม่ต้องรับรู้เงินได้แล้ว เพราะถือเป็นเงินได้ของพนักงานแล้ว มิฉะนั้น จะซ้ำซ้อน โดยถือเป็นค่าสวัสดิการพนักงาน
2. ต้องรับรู้เป็นเงินได้ในปีที่ได้พาพนักงานไปท่องเที่ยว
สำหรับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นดังกล่าว ให้นำไปถือเป็นเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
ตอบเมื่อ 5 ส.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ