เช็คสั่งจ่ายเจ้าของกิจการ
ถามวันที่ 2 ส.ค. 2559 . ถามโดย anupong66 . เข้าชม 17 ครั้ง
เช็คสั่งจ่ายเจ้าของกิจการ
ถามวันที่ 2 ส.ค. 2559 . ถามโดย anupong66 . เข้าชม 17 ครั้ง
กรณีการชำระค่าสินค้าหรือบริการให้แก่บริษัทฯที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งบริษัทฯดังกล่าวได้จัดทำใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินมาให้เป็นหลักฐานด้วย แต่การสั่งจ่ายเช็คนั้นกลับให้ระบุชื่อสั่งจ่ายชื่อเจ้าของกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา กรณีดังกล่าวผู้จ่ายมีความเสี่ยงทางภาษีอากรด้านใดบ้าง
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
1 คำตอบ
เรียน คุณ anupong66
กรณีการชำระค่าสินค้าหรือบริการให้แก่บริษัทฯที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งบริษัทฯ ดังกล่าวได้จัดทำใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินมาให้เป็นหลักฐานด้วย แต่การสั่งจ่ายเช็คนั้นกลับให้ระบุชื่อสั่งจ่ายชื่อเจ้าของกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา กรณีดังกล่าวผู้จ่ายมีความเสี่ยงทางภาษีอากรดังนี้
1. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม
บริษัทผู้ขายสินค้าอาจไม่ได้นำหลักฐานการขายสินค้าที่ขายให้แก่บริษัทฯ ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอาจเป็นผลให้ใบกำกับภาษีดังกล่าวนั้น ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อไปจริง กลายเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเลยไปกว่านั้น บริษัทผู้ขายสินค้ามีพฤติการณ์ที่เสี่ยงที่จะออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงขั้นออกใบกำกับภาษีปลอม
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทฯ ได้รับหนังสือยืนยันให้สั่งจ่ายเงินในชื่อเจ้าของกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งระบุเหตุผลหรือคำอธิบายสั้นๆ ถึงสาเหตุให้สั่งจ่ายเงินในชื่อเจ้าของกิจการ ไว้ประกอบการลงบัญชี ก็ไม่มีความเสี่ยงมากนัก
2. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล
หากบริษัทฯ ได้รับหนังสือยืนยันให้สั่งจ่ายเงินในชื่อเจ้าของกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งระบุเหตุผลหรือคำอธิบายสั้นๆ ถึงสาเหตุให้สั่งจ่ายเงินในชื่อเจ้าของกิจการ ไว้ประกอบการลงบัญชี ก็ไม่มีความเสี่ยงตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร มากนัก
กรณีการชำระค่าสินค้าหรือบริการให้แก่บริษัทฯที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งบริษัทฯ ดังกล่าวได้จัดทำใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินมาให้เป็นหลักฐานด้วย แต่การสั่งจ่ายเช็คนั้นกลับให้ระบุชื่อสั่งจ่ายชื่อเจ้าของกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา กรณีดังกล่าวผู้จ่ายมีความเสี่ยงทางภาษีอากรดังนี้
1. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม
บริษัทผู้ขายสินค้าอาจไม่ได้นำหลักฐานการขายสินค้าที่ขายให้แก่บริษัทฯ ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอาจเป็นผลให้ใบกำกับภาษีดังกล่าวนั้น ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อไปจริง กลายเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเลยไปกว่านั้น บริษัทผู้ขายสินค้ามีพฤติการณ์ที่เสี่ยงที่จะออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงขั้นออกใบกำกับภาษีปลอม
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทฯ ได้รับหนังสือยืนยันให้สั่งจ่ายเงินในชื่อเจ้าของกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งระบุเหตุผลหรือคำอธิบายสั้นๆ ถึงสาเหตุให้สั่งจ่ายเงินในชื่อเจ้าของกิจการ ไว้ประกอบการลงบัญชี ก็ไม่มีความเสี่ยงมากนัก
2. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล
หากบริษัทฯ ได้รับหนังสือยืนยันให้สั่งจ่ายเงินในชื่อเจ้าของกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งระบุเหตุผลหรือคำอธิบายสั้นๆ ถึงสาเหตุให้สั่งจ่ายเงินในชื่อเจ้าของกิจการ ไว้ประกอบการลงบัญชี ก็ไม่มีความเสี่ยงตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร มากนัก
ตอบเมื่อ 3 ส.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ