ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีลาออก - เลิกจ้าง
ถามวันที่ 1 ส.ค. 2559 . ถามโดย pradinun . เข้าชม 15 ครั้ง
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีลาออก - เลิกจ้าง
ถามวันที่ 1 ส.ค. 2559 . ถามโดย pradinun . เข้าชม 15 ครั้ง
ในกรณีที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีโครงการ 2 โครงการ คือ "โครงการสมัครใจเกษียณอายุงานก่อนกำหนด" และ "โครงการร่วมใจลาจาก" เงินได้ที่มหาวิทยาลัยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน อยากทราบวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. การที่บุคลากรเข้าร่วมโครงการดังกล่าวถือเป็นกรณีลาออก หรือเลิกจ้าง
2. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีลาออก กรณีเลิกจ้าง มีวิธีการคำนวณแตกต่างกันอย่างไร
3. ถ้าเป็นกรณีเลิกจ้างมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จะต้องออกเอกสารอย่างไรเพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. การที่บุคลากรเข้าร่วมโครงการดังกล่าวถือเป็นกรณีลาออก หรือเลิกจ้าง
2. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีลาออก กรณีเลิกจ้าง มีวิธีการคำนวณแตกต่างกันอย่างไร
3. ถ้าเป็นกรณีเลิกจ้างมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จะต้องออกเอกสารอย่างไรเพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1 คำตอบ
เรียน คุณ pradinun
1. การที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการดังกล่าวถือเป็นกรณีลาออก ตามชื่อโครงการ "โครงการสมัครใจเกษียณอายุงานก่อนกำหนด" และ "โครงการร่วมใจลาจาก"
2. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีลาออก กรณีเลิกจ้าง มีวิธีการคำนวณที่ไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด ดังนี้
2.1 กรณีที่บุคลากร มีอายุการทำงานไม่ถึง 5 ปีบริบูรณ์ เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคลากร ถือเป็นเสมือน "โบนัส" ให้ผู้จ่ายคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เช่นเดียวกับกรณีได้รับโบนัส หรือประโยชน์เพิ่มอย่างอื่น ตามข้อ 1 (5) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 96/2543 ดังนี้
"(5) กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวตาม (2) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออกได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น แล้วให้นำมารวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น"
2.2 กรณีบุคลากรที่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้คำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับ "เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน" ตามมาตรา 50 (1) วรรคสาม และมาตรา 48 (5) แห่งประมสวลรัษฎากร
"... สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด โดยให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวหักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับ 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแต่ไม่เกินเงินได้พึงประเมิน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายอีกร้อยละ 50 ของเงินที่เหลือนั้น แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้
ในกรณีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวจ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่งและเงินบำนาญอีกจำนวนหนึ่ง ให้ถือว่าเฉพาะเงินที่จ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จเป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และให้ลดค่าใช้จ่ายจำนวน 7,000 บาท ลงเหลือ 3,500 บาท"
การเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ดังกล่าว ให้ผู้มีเงินได้กรอกใน "ใบแนบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91"
3. เมื่อไม่เป็นกรณีเลิกจ้าง ผู้จ่ายเงินได้มีหน้ที่ต้องออกใหนือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พื่อนำไปเป็นหลักฐานในการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. การที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการดังกล่าวถือเป็นกรณีลาออก ตามชื่อโครงการ "โครงการสมัครใจเกษียณอายุงานก่อนกำหนด" และ "โครงการร่วมใจลาจาก"
2. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีลาออก กรณีเลิกจ้าง มีวิธีการคำนวณที่ไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด ดังนี้
2.1 กรณีที่บุคลากร มีอายุการทำงานไม่ถึง 5 ปีบริบูรณ์ เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคลากร ถือเป็นเสมือน "โบนัส" ให้ผู้จ่ายคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เช่นเดียวกับกรณีได้รับโบนัส หรือประโยชน์เพิ่มอย่างอื่น ตามข้อ 1 (5) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 96/2543 ดังนี้
"(5) กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวตาม (2) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออกได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น แล้วให้นำมารวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น"
2.2 กรณีบุคลากรที่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้คำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับ "เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน" ตามมาตรา 50 (1) วรรคสาม และมาตรา 48 (5) แห่งประมสวลรัษฎากร
"... สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด โดยให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวหักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับ 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแต่ไม่เกินเงินได้พึงประเมิน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายอีกร้อยละ 50 ของเงินที่เหลือนั้น แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้
ในกรณีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวจ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่งและเงินบำนาญอีกจำนวนหนึ่ง ให้ถือว่าเฉพาะเงินที่จ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จเป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และให้ลดค่าใช้จ่ายจำนวน 7,000 บาท ลงเหลือ 3,500 บาท"
การเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ดังกล่าว ให้ผู้มีเงินได้กรอกใน "ใบแนบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91"
3. เมื่อไม่เป็นกรณีเลิกจ้าง ผู้จ่ายเงินได้มีหน้ที่ต้องออกใหนือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พื่อนำไปเป็นหลักฐานในการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตอบเมื่อ 3 ส.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ