การขายสินค้าในเขตปลอดอากร
ถามวันที่ 28 ก.ค. 2559 . ถามโดย chayapha.sin . เข้าชม 15 ครั้ง
การขายสินค้าในเขตปลอดอากร
ถามวันที่ 28 ก.ค. 2559 . ถามโดย chayapha.sin . เข้าชม 15 ครั้ง
บริษัท ก อยู่ในเขตปลอดอากร ขายสินค้าส่งออกให้แก่บริษัท B ต่างประเทศ แต่ B แจ้งให้ส่งมอบสินค้าแก่ลูกค้าของ B ในประเทศไทย ดังนี้
(1) ส่งมอบให้ บริษัท ข ที่อยู่ กทม และ ข. เป็นผู้นำสินค้าออกจากบริษัท ก พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมศุลกากรเมื่อนำสินค้าออกจากเขตปลอดอากร.
(2) ส่งมอบให้บริษัท ค อยู่ในเขตปลอดอากรคนละเขต ซึ่งบริษัท ค ทำพิธีการนำสินค้าออกจากบริษัทก ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเนื่องจากเป็นเขตปลอดอากรเหมือนกัน. ขอเรียนสอบถามว่า.
1. บริษัท ก ขายสินค้าส่งออกแต่มิได้มีการส่งออกไปต่างประเทศ และส่งมอบสินค้าในประเทศไทย ทั้ง 2 กรณี ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 พร้อมออกใบกำกับภาษีขายให้แก่บริษัท B ใช่หรือไม่.
2. การที่ บริษัท ก ส่งมอบสินค้าให้บริษัท ค ที่อยู่ในเขตปลอดอากรด้วยกัน ซึ่ง ค มิได้เป็นคู่ค้ากับบริษัท ก จะถือว่า บริษัท ก ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตามประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 123 หรือไม่.
3. เมื่อบริษัท ข และ ค จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าให้บริษัท B จะต้องนำส่งด้วยแบบ ภ.พ.36 ใช่หรือไม่.
ขอกราบขอบพระคุณค่ะ
(1) ส่งมอบให้ บริษัท ข ที่อยู่ กทม และ ข. เป็นผู้นำสินค้าออกจากบริษัท ก พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมศุลกากรเมื่อนำสินค้าออกจากเขตปลอดอากร.
(2) ส่งมอบให้บริษัท ค อยู่ในเขตปลอดอากรคนละเขต ซึ่งบริษัท ค ทำพิธีการนำสินค้าออกจากบริษัทก ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเนื่องจากเป็นเขตปลอดอากรเหมือนกัน. ขอเรียนสอบถามว่า.
1. บริษัท ก ขายสินค้าส่งออกแต่มิได้มีการส่งออกไปต่างประเทศ และส่งมอบสินค้าในประเทศไทย ทั้ง 2 กรณี ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 พร้อมออกใบกำกับภาษีขายให้แก่บริษัท B ใช่หรือไม่.
2. การที่ บริษัท ก ส่งมอบสินค้าให้บริษัท ค ที่อยู่ในเขตปลอดอากรด้วยกัน ซึ่ง ค มิได้เป็นคู่ค้ากับบริษัท ก จะถือว่า บริษัท ก ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตามประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 123 หรือไม่.
3. เมื่อบริษัท ข และ ค จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าให้บริษัท B จะต้องนำส่งด้วยแบบ ภ.พ.36 ใช่หรือไม่.
ขอกราบขอบพระคุณค่ะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ
1. กรณีบริษัท ก ตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร ได้ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ แต่มิได้มีการส่งออกไปต่างประเทศ และได้รับคำสั่งให้ส่งมอบสินค้าในประเทศไทย ทั้ง 2 กรณี ถือเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร ให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ มิใช่การส่งออกตามมาตรา 77/1 (14) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 พร้อมออกใบกำกับภาษีขายให้แก่บริษัท B ถูกต้องแล้ว
2. การที่บริษัท ก ส่งมอบสินค้าให้บริษัท ค ที่อยู่ในเขตปลอดอากรด้วยกัน ซึ่ง ค มิได้เป็นคู่ค้ากับบริษัท ก จึงไม่อาจถือได้ว่า บริษัท ก ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) เพราะเหตุที่บริษัท ค ไม่ใช่ผุ้ซื้อสินค้าจากบริษัท ก
อย่างไรก็ตาม หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปเป็นว่า บริษัท B ในต่างประเทศเป็นเพียงนายหน้าตัวแทน ของบริษัท ก หรือบริษัท ค ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การขายสินค้าระหว่างบริษัท ก และบริษัท ค ก็ย่อมได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123)
3. เมื่อบริษัท ข และ ค จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าให้บริษัท B จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบ ภ.พ.36 ด้วย ถูกต้องแล้วครับ (ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 97/2543 ประกอบ)
1. กรณีบริษัท ก ตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร ได้ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ แต่มิได้มีการส่งออกไปต่างประเทศ และได้รับคำสั่งให้ส่งมอบสินค้าในประเทศไทย ทั้ง 2 กรณี ถือเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร ให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ มิใช่การส่งออกตามมาตรา 77/1 (14) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 พร้อมออกใบกำกับภาษีขายให้แก่บริษัท B ถูกต้องแล้ว
2. การที่บริษัท ก ส่งมอบสินค้าให้บริษัท ค ที่อยู่ในเขตปลอดอากรด้วยกัน ซึ่ง ค มิได้เป็นคู่ค้ากับบริษัท ก จึงไม่อาจถือได้ว่า บริษัท ก ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) เพราะเหตุที่บริษัท ค ไม่ใช่ผุ้ซื้อสินค้าจากบริษัท ก
อย่างไรก็ตาม หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปเป็นว่า บริษัท B ในต่างประเทศเป็นเพียงนายหน้าตัวแทน ของบริษัท ก หรือบริษัท ค ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การขายสินค้าระหว่างบริษัท ก และบริษัท ค ก็ย่อมได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123)
3. เมื่อบริษัท ข และ ค จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าให้บริษัท B จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบ ภ.พ.36 ด้วย ถูกต้องแล้วครับ (ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 97/2543 ประกอบ)
ตอบเมื่อ 5 ส.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ