กรณีนำเข้าสินค้าพืชผักจากต่างประเทศเพื่อจำหน่ายจะต้องจดVATหรือไม่
ถามวันที่ 27 ก.ค. 2559 . ถามโดย estrellas1985 . เข้าชม 16 ครั้ง
กรณีนำเข้าสินค้าพืชผักจากต่างประเทศเพื่อจำหน่ายจะต้องจดVATหรือไม่
ถามวันที่ 27 ก.ค. 2559 . ถามโดย estrellas1985 . เข้าชม 16 ครั้ง
เรียน อาจารย์สุเทพ ค่ะ
กรณีบริษัทมีการนำเข้าพืช ผัก ผลไม้ จากต่างประเทศ เพื่อทำการจำหน่ายในราชอาณาจักร และ ส่งออกด้วย จะต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่คะ
ขอบพระคุณค่ะ
กรณีบริษัทมีการนำเข้าพืช ผัก ผลไม้ จากต่างประเทศ เพื่อทำการจำหน่ายในราชอาณาจักร และ ส่งออกด้วย จะต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่คะ
ขอบพระคุณค่ะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ estrellas1985
กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการนำเข้าพืช ผัก ผลไม้ จากต่างประเทศ เพื่อทำการจำหน่ายในราชอาณาจักร นั้น
1. สำหรับการนำเข้าพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสดหรือรักษาสภาพไว้ เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่ง ด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็งหรือด้วยการจัดทำ หรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้น หรือด้วยวิธีอื่น ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะหรือหีบห่อ ที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามมาตรา 81 (1)(ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 นั้น ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
2. สำหรับรายได้จากการขายพืชผลทางการเกษตร ตามข้อ 1 ดังกล่าวข้างต้น เฉพาะที่กระทำในราชอาณาจักร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการขายพืชผลทางการเกษตรในราชอาณาจักร นั้น ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (ภ.พ.01.1) เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้นัยมาตรา 81/3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
3. สำหรับรายได้จากการส่งออกพืชผลทางการเกษตร เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แ่หงประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ.01
อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการมีรายได้จากการส่งออกพืชผลทางการเกษตรในแต่ละปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท อันเป็นขนาดรายได้ของฐานภาษีของผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการก็ย่อมได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามนัยมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548
อนึ่ง หลักการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ให้ใช้กับการขายสินค้าในราชอาณาจักร และการนำเข้าซึ่งสินค้าดังต่อไปนีี้ด้วย
- การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือด้วยการจัดทำหรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้นหรือด้วยวิธีอื่น แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะ และเงื่อนไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมุลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3)
(ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 29/2535)
- การขายปุ๋ย
- การขายปลาป่น อาหารสัตว์
- การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา ป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
- การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการนำเข้าพืช ผัก ผลไม้ จากต่างประเทศ เพื่อทำการจำหน่ายในราชอาณาจักร นั้น
1. สำหรับการนำเข้าพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสดหรือรักษาสภาพไว้ เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่ง ด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็งหรือด้วยการจัดทำ หรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้น หรือด้วยวิธีอื่น ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะหรือหีบห่อ ที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามมาตรา 81 (1)(ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 นั้น ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
2. สำหรับรายได้จากการขายพืชผลทางการเกษตร ตามข้อ 1 ดังกล่าวข้างต้น เฉพาะที่กระทำในราชอาณาจักร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการขายพืชผลทางการเกษตรในราชอาณาจักร นั้น ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (ภ.พ.01.1) เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้นัยมาตรา 81/3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
3. สำหรับรายได้จากการส่งออกพืชผลทางการเกษตร เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แ่หงประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ.01
อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการมีรายได้จากการส่งออกพืชผลทางการเกษตรในแต่ละปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท อันเป็นขนาดรายได้ของฐานภาษีของผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการก็ย่อมได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามนัยมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548
อนึ่ง หลักการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ให้ใช้กับการขายสินค้าในราชอาณาจักร และการนำเข้าซึ่งสินค้าดังต่อไปนีี้ด้วย
- การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือด้วยการจัดทำหรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้นหรือด้วยวิธีอื่น แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะ และเงื่อนไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมุลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3)
(ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 29/2535)
- การขายปุ๋ย
- การขายปลาป่น อาหารสัตว์
- การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา ป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
- การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
ตอบเมื่อ 27 ก.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ