รายจ่าย 1 เท่า ตาม พรฏ604
ถามวันที่ 26 ก.ค. 2559 . ถามโดย churma . เข้าชม 30 ครั้ง
รายจ่าย 1 เท่า ตาม พรฏ604
ถามวันที่ 26 ก.ค. 2559 . ถามโดย churma . เข้าชม 30 ครั้ง
เรียน อาจารย์สุเทพ รบกวนสอบถามดังนี้ค่ะ
1. บริษัทฯ นำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในประเทศไทย เครื่องจักรดังกล่าวสามารถใช้สิทธิได้หรือไม่
2. บริษัทฯ มีการก่อสร้างอาคาร คาดว่าจะเสร็จในปี 60 ซึ่งมีการจัดทำสัญญาบางส่วนในปี 59 จึงอยากสอบถามดังนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่มีสัญญา เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2 พ.ย. 58-31 ธ.ค. 59 ซึ่งถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนของอาคารสามารถใช้สิทธิได้หรือไม่ค่ะ
2.2 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่มีสัญญา หลังจากวันที่ 31 ธ.ค. 59 ซึ่งถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนของอาคารเดียวกัน สามารถนำไปรวมเพื่อใช้สิทธิได้หรือไม่ค่ะ ถ้าไม่ได้ ต้องจัดทำแยกออกมาเป็นอาคารเพื่อใช้สิทธิทางภาษี ใช่หรือไม่ค่ะ
3. ค่าเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคาร ถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนหรือไม่ค่ะ
ขอบพระคุณมากค่ะ
1. บริษัทฯ นำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในประเทศไทย เครื่องจักรดังกล่าวสามารถใช้สิทธิได้หรือไม่
2. บริษัทฯ มีการก่อสร้างอาคาร คาดว่าจะเสร็จในปี 60 ซึ่งมีการจัดทำสัญญาบางส่วนในปี 59 จึงอยากสอบถามดังนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่มีสัญญา เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2 พ.ย. 58-31 ธ.ค. 59 ซึ่งถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนของอาคารสามารถใช้สิทธิได้หรือไม่ค่ะ
2.2 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่มีสัญญา หลังจากวันที่ 31 ธ.ค. 59 ซึ่งถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนของอาคารเดียวกัน สามารถนำไปรวมเพื่อใช้สิทธิได้หรือไม่ค่ะ ถ้าไม่ได้ ต้องจัดทำแยกออกมาเป็นอาคารเพื่อใช้สิทธิทางภาษี ใช่หรือไม่ค่ะ
3. ค่าเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคาร ถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนหรือไม่ค่ะ
ขอบพระคุณมากค่ะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ churma
เกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559
1. สำหรับเครื่องจักรที่บริษัทฯ นำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในประเทศไทย นั้น เครื่องจักรดังกล่าวสามารถใช้สิทธิได้หากเป็นไปตามเงื่อนไขตามประกาศอธิบดี เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266) ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ดังต่อไปนี้
- ทรัพย์สินจะนำมาหักเป็นรายจ่ายได้สองเท่า ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
(2) ต้องสามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องได้ทรัพย์สินนั้นมาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การได้ตามประสงค์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559
(3) ต้องอยู่ในราชอาณาจักร เว้นแต่ยานพาหนะที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ
(4) ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(5) ไม่เป็นทรัพย์สินที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่เป็นการนำไปใช้ในโครงการตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น
- ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559
2. กรณีบริษัทฯ มีการก่อสร้างอาคาร คาดว่าจะเสร็จในปี 2560 ซึ่งมีการจัดทำสัญญาบางส่วนในปี 2559 นั้น
- สำหรับอาคารถาวร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน นอกจากคุณลักษณะ 5 ข้อตามข้อ 1 ดังนี้
(1) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ
(2) ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ
(3) กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
2.1 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่มีสัญญา เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 พ.ย. 58 - 31 ธ.ค. 59 ซึ่งถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนของอาคาร ย่อมไม่สามารถนำมาใช้สิทธิตามกฎหมายได้ เพราะ ต้องตีความโดยเคร่งครัด
2.2 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่มีสัญญา หลังจากวันที่ 31 ธ.ค. 59 ซึ่งถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนของอาคารเดียวกัน ก็ไม่สามารถนำไปรวมเพื่อใช้สิทธิได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงต้องจัดทำรายการแยกต่างหากเพื่อการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตาม พ.ร.ฎ. (604) พ.ศ. 2558 แต่ก็ยังคงเป็นทรัพย์สินที่สามารถนำไปหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
3. ค่าเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคาร ถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน แต่ไม่มีสิทธินำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา จึงไม่ได้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2558 แต่อย่างใด
เกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559
1. สำหรับเครื่องจักรที่บริษัทฯ นำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในประเทศไทย นั้น เครื่องจักรดังกล่าวสามารถใช้สิทธิได้หากเป็นไปตามเงื่อนไขตามประกาศอธิบดี เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266) ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ดังต่อไปนี้
- ทรัพย์สินจะนำมาหักเป็นรายจ่ายได้สองเท่า ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
(2) ต้องสามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องได้ทรัพย์สินนั้นมาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การได้ตามประสงค์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559
(3) ต้องอยู่ในราชอาณาจักร เว้นแต่ยานพาหนะที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ
(4) ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(5) ไม่เป็นทรัพย์สินที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่เป็นการนำไปใช้ในโครงการตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น
- ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559
2. กรณีบริษัทฯ มีการก่อสร้างอาคาร คาดว่าจะเสร็จในปี 2560 ซึ่งมีการจัดทำสัญญาบางส่วนในปี 2559 นั้น
- สำหรับอาคารถาวร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน นอกจากคุณลักษณะ 5 ข้อตามข้อ 1 ดังนี้
(1) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ
(2) ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ
(3) กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
2.1 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่มีสัญญา เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 พ.ย. 58 - 31 ธ.ค. 59 ซึ่งถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนของอาคาร ย่อมไม่สามารถนำมาใช้สิทธิตามกฎหมายได้ เพราะ ต้องตีความโดยเคร่งครัด
2.2 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่มีสัญญา หลังจากวันที่ 31 ธ.ค. 59 ซึ่งถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนของอาคารเดียวกัน ก็ไม่สามารถนำไปรวมเพื่อใช้สิทธิได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงต้องจัดทำรายการแยกต่างหากเพื่อการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตาม พ.ร.ฎ. (604) พ.ศ. 2558 แต่ก็ยังคงเป็นทรัพย์สินที่สามารถนำไปหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
3. ค่าเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคาร ถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน แต่ไม่มีสิทธินำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา จึงไม่ได้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2558 แต่อย่างใด
ตอบเมื่อ 27 ก.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ