ภงด 51 ปี 59 SME. เสียภาษีในอัตราเท่าไรคะ บัญชีชุดเดียวคะ ดูแบบในภงด 51 แล้วไม่มีเปลี่ยนแปลงจากเดิมเลยคะ
ถามวันที่ 22 ก.ค. 2559 . ถามโดย Thanasub2549 . เข้าชม 35 ครั้ง
ภงด 51 ปี 59 SME. เสียภาษีในอัตราเท่าไรคะ บัญชีชุดเดียวคะ ดูแบบในภงด 51 แล้วไม่มีเปลี่ยนแปลงจากเดิมเลยคะ
ถามวันที่ 22 ก.ค. 2559 . ถามโดย Thanasub2549 . เข้าชม 35 ครั้ง
ภงด 51 ปี 59 SME. เสียภาษีในอัตราเท่าไรคะ บัญชีชุดเดียวคะ ดูแบบในภงด 51 แล้วไม่มีเปลี่ยนแปลงจากเดิมเลยคะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ Thanasub2549
ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 ได้กำหนดยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับ SMEs มีทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้
"มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 และมีทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท สําหรับกําไรสุทธิดังต่อไปนี้
(1) กําไรสุทธิสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(2) กําไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกินสามแสนบาทแรก สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560"
การยกเว้นดังกล่าว เป็นการยกเว้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี อันเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง กล่าวคือ ต้องรอให้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจึงจะมีความชัดเจน
ดังนั้น หากกรมสรรพากรจะตั้งเงื่อนไขว่า ให้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด.51 ก่อน แล้วค่อยคืนภาษีแก่เฉพาะรายที่ได้รับยกเว้น ดังเช่นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ก็ทำได้ แต่ความเสี่ยง (ที่น้ำลายจะท่วมกรมสรรพากร เพราะถูกด่าทอ) ก็ย่อมมีมากด้วยเช่นกัน
ณ บัดนี้ กรมสรรพากรได้กำหนดแบบ ภ.ง.ด.51 ที่กำหนดให้นำประมาณการกำไรสุทธิที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย รวมทั้งการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 ดังภาพที่แนบท้ายนี้
ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 ได้กำหนดยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับ SMEs มีทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้
"มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 และมีทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท สําหรับกําไรสุทธิดังต่อไปนี้
(1) กําไรสุทธิสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(2) กําไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกินสามแสนบาทแรก สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560"
การยกเว้นดังกล่าว เป็นการยกเว้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี อันเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง กล่าวคือ ต้องรอให้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจึงจะมีความชัดเจน
ดังนั้น หากกรมสรรพากรจะตั้งเงื่อนไขว่า ให้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด.51 ก่อน แล้วค่อยคืนภาษีแก่เฉพาะรายที่ได้รับยกเว้น ดังเช่นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ก็ทำได้ แต่ความเสี่ยง (ที่น้ำลายจะท่วมกรมสรรพากร เพราะถูกด่าทอ) ก็ย่อมมีมากด้วยเช่นกัน
ณ บัดนี้ กรมสรรพากรได้กำหนดแบบ ภ.ง.ด.51 ที่กำหนดให้นำประมาณการกำไรสุทธิที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย รวมทั้งการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 ดังภาพที่แนบท้ายนี้
ตอบเมื่อ 22 ก.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ