การซื้ออาคารสำหรับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถามวันที่ 22 ก.ค. 2559 . ถามโดย wap.pthailand . เข้าชม 11 ครั้ง
การซื้ออาคารสำหรับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถามวันที่ 22 ก.ค. 2559 . ถามโดย wap.pthailand . เข้าชม 11 ครั้ง
1. ถ้าบริษัทซื้ออาคารในนามบริษัทเป็นเงินผ่อน Vat ซื้อใช้เคลมภาษีได้หรือเปล่าค่ะ
2. ถ้าซื้อในนามบริษัท แต่ไม่เอามาบันทึกหรือยุ่งในบริษัทเลยได้หรือเปล่า
3. รับรู้เป็นสินทรัพย์แบบไหน ยังไงค่ะ
2. ถ้าซื้อในนามบริษัท แต่ไม่เอามาบันทึกหรือยุ่งในบริษัทเลยได้หรือเปล่า
3. รับรู้เป็นสินทรัพย์แบบไหน ยังไงค่ะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ wap.pthailand
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซื้ออาคารสำหรับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เนื่องจากการขายอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ เป้นกิจการที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีภาษีซื้อจากการศซื้ออาคารดังกล่าว
1. ไม่ว่าบริษัทฯ จะซื้ออาคารเป็นเงินสดหรือเงินผ่อนก็ไม่มีภาษีซื้อเกิดขึ้นจากการซื้ออาคาร เว้นแต่กรณีบริษัทฯ ซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ไม่ควรถามผมในส่วนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงขอข้ามคำถามนี้ไป
3. ให้บริษัทฯ รับรู้เป็นอาคารถาวร เป็นทรัพย์สินเพื่อคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 เพื่อถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อไป
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซื้ออาคารสำหรับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เนื่องจากการขายอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ เป้นกิจการที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีภาษีซื้อจากการศซื้ออาคารดังกล่าว
1. ไม่ว่าบริษัทฯ จะซื้ออาคารเป็นเงินสดหรือเงินผ่อนก็ไม่มีภาษีซื้อเกิดขึ้นจากการซื้ออาคาร เว้นแต่กรณีบริษัทฯ ซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ไม่ควรถามผมในส่วนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงขอข้ามคำถามนี้ไป
3. ให้บริษัทฯ รับรู้เป็นอาคารถาวร เป็นทรัพย์สินเพื่อคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 เพื่อถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อไป
ตอบเมื่อ 22 ก.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ