ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

สอบถามเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีด้านผู้เช่า

ถามวันที่ 22 ก.ค. 2559  .  ถามโดย plamukwan  .  เข้าชม 28 ครั้ง

สวัสดีค่ะอาจารย์
บริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่ารถยนต์กับบริษัท โตโยต้าฯ และต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิย.59 กรมสรรพากรมีคำสั่งให้ผู้เช่าหรือผู้มีหน้าที่จ่ายเงินต้องการการหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ซึ่งบริษัทได้หักภาษีและนำส่งสรรพากรเรียบร้อย ต่อมาทางบริษัท โตโยต้าฯ ได้มีหนังสือหารือกับกรมสรรพากรเกี่ยวกับการกระทำการแทนผู้เช่าหรือผู้มีหน้าที่จ่ายเงิน และกรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบรับ (ตามเอกสารที่ได้แนบมาท้ายคำถามนี้) ทำให้นกเกิดความสงสัยทางด้านการบันทึกบัญชีของบริษัทฯ ว่าจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไรในงวดการชำระเงินในเดือนสิงหาคม 59 นกขออธิบายดังนี้นะคะ บริษัทฯ ทำสัญญาเช่า จึงไม่ได้มีการบันทึกบัญชีเป็นทรัพย์สินและคิดค่าเสื่อมราคาแต่อย่างใด (นกส่งสัญญาเช่า แนบมาให้ด้วยค่ะ) โดยที่ท่านมาบริษัทฯบันทึกบัญชีรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย โดยบันทึกบัญชีไว้ดังนี้ค่ะ
งวดที่ 1-36 เดบิต ค่าเช่ารถผู้บริหาร 36,000 บาท
เดบิต ค่าใช้จ่ายต้องห้าม 38,822 บาท
เครดิต เงินฝากธนาคาร 74,822 บาท
งวดที่ 37-38 เดบิต ค่าเช่ารถผู้บริหาร 36,000 บาท
เดบิต ค่าใช้จ่ายต้องห้าม 38,822 บาท
เดบิต ลุกหนี้บริษัทโตโยต้า 3,496.26 บาท
เครดิต ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้าจ่าย 3,496.26 บาท
เครดิต เงินฝากธนาคาร 74,822.00 บาท
ที่ต้องตั้งลูกหนี้บริษัทโตโยต้า เนื่องจากทางบริษัทโตโยต้าให้ชำระยอดเต็ม และโอนเงินค่าภาษีคืนให้กับบริษัทในภายหลังค่ะ
ประเด็นปัญหาคือ หากแต่งตั้งให้บริษัทเป็นผู้กระทำการแทนบริษัทในการยื่นภาษีแล้ว บริษัทจะต้องมีการบันทึกบัญชีอย่างไรคะ เมื่ออ่านข้อความในหน้าที่ 2 ข้อ (๒) ในวงเล็บตรงที่มีการไฮไลท์ไว้ บริษัทยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่ต้องออกหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นรายฉบับทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน
รบกวนอาจารย์ตอบและยกตัวอย่างให้ด้วยนะคะเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจค่ะ (นกจะส่งไฟล์ตามอีกครั้งนะคะเพราะแนบไฟล์ได้ครั้งเดียวค่ะ)
ขอบพระคุณมากค่ะ
นก

1 คำตอบ
เรียน คุณนก "plamukwan"
กรณีบริษัทฯ เช่ารถยนต์นั่งจากบริษัทโตโยต้าฯ ซึ่งทางบริษัทโตโยต้าฯ ได้มีหนังสือหารือกับกรมสรรพากรเกี่ยวกับการกระทำการแทนผู้เช่าหรือผู้มีหน้าที่จ่ายเงิน และกรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบรับให้บริษัทโตโยต้าฯ กระทำการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแทนบริษัทฯ ผู้จ่ายเงินแล้ว นั้น
ในการบันทึกรายการทางบัญชีสำหรับเดือนสิงหาคม 2559 ซึ่งเป็นเดือนเริ่มต้นให้บริษัทฯ บันทึกรายการทางบัญชี ดังเช่นกรณีที่ไม่มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับงวดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 โดย
เดบิต ค่าเช่ารถผู้บริหาร ................... 36,000 บาท
........ ค่าใช้จ่ายต้องห้าม ................. 38,822 บาท
......เครดิต เงินฝากธนาคาร .................................74,822 บาท
ภาระหน้าที่เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในกรณีนี้ จึงหายไปจากบริษัทฯ ทั้งหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 และการนำส่ง ตามมาตรา 52 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร การออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (แทนใบรับตามมาตรา 105 และมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร) การจัดทำบัญชีพิเศษ ตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร รวมทั้งความรับผิดเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัทโตโยต้าฯ รับเป็นภาระแทนบริษัทฯ ไปทั้งหมดแล้ว
ตอบเมื่อ 22 ก.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ