รายจ่ายลงทุนหักได้ 2เท่า
ถามวันที่ 21 ก.ค. 2559 . ถามโดย suntree . เข้าชม 30 ครั้ง
รายจ่ายลงทุนหักได้ 2เท่า
ถามวันที่ 21 ก.ค. 2559 . ถามโดย suntree . เข้าชม 30 ครั้ง
อยากทราบรายละเอียด ของมาตรการนี้่ค่ะ
1.วันที่ ของระยะเวลาใช้สิทธิ
สามารถใช้วันที่เริ่มคิดค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่ เพราะถ้าใช้เอกสาร PR.PO นั้นต้องเก็บข้อมูลย้อนหลักมาก
2.ทรัพย์สินที่ได้มาจาการโอน WIP เป็น Asset นั้น สามารถใช้วันที่ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินได้หรือไม่
ขอบคุณค่ะ
1.วันที่ ของระยะเวลาใช้สิทธิ
สามารถใช้วันที่เริ่มคิดค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่ เพราะถ้าใช้เอกสาร PR.PO นั้นต้องเก็บข้อมูลย้อนหลักมาก
2.ทรัพย์สินที่ได้มาจาการโอน WIP เป็น Asset นั้น สามารถใช้วันที่ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินได้หรือไม่
ขอบคุณค่ะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ Suntree
เกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์หักรายจ่ายในการลงทุนเพิ่มขึ้นอืก 100% ของรายจ่ายตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2558 นั้น
1. ตามข้อ 4 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ ดังนี้
"ข้อ 3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประเภทของทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาดังนี้
(1) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (1) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(2) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (2) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(3) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (3) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(4) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (4) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลายี่สิบรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
ข้อ 4 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
(1) กรณีนอกจาก (2) ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีที่นำทรัพย์สินตามข้อ 1 ไปใช้ในโครงการที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลง โดยถือเสมือนเป็นการใช้สิทธิยกเว้นเช่นเดียวกับกรณี (1) และให้ถือว่าการเริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว เป็นการเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนการเริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร"
2. กรณีทรัพย์สินที่ได้มาจาการโอน WIP: Work in Progress หรืองานระหว่างทำที่บริษัทฯ ได้ลงมือจัดทำหรือจัดสร้างเอง เป็น Asset นั้น ทรัพย์สินดังกล่าว ต้องเกิดจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266) ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้
“ข้อ 2 ทรัพย์สินตามข้อ 1 (1)(2) และ (3) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ทรัพย์สินตามข้อ 1 (4) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินดังนี้
(1) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ
(2) ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ
(3) กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
การลงทุนในทรัพย์ตามข้อ 1 (4) ไม่รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินโดยการซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินนั้นมา”
ดังนั้น หากการได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทฯ ไม่เข้าตามลักษณะที่กฎหมายกำหนดก็ย่อมไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
เกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์หักรายจ่ายในการลงทุนเพิ่มขึ้นอืก 100% ของรายจ่ายตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2558 นั้น
1. ตามข้อ 4 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ ดังนี้
"ข้อ 3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประเภทของทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาดังนี้
(1) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (1) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(2) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (2) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(3) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (3) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(4) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (4) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลายี่สิบรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
ข้อ 4 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
(1) กรณีนอกจาก (2) ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีที่นำทรัพย์สินตามข้อ 1 ไปใช้ในโครงการที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลง โดยถือเสมือนเป็นการใช้สิทธิยกเว้นเช่นเดียวกับกรณี (1) และให้ถือว่าการเริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว เป็นการเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนการเริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร"
2. กรณีทรัพย์สินที่ได้มาจาการโอน WIP: Work in Progress หรืองานระหว่างทำที่บริษัทฯ ได้ลงมือจัดทำหรือจัดสร้างเอง เป็น Asset นั้น ทรัพย์สินดังกล่าว ต้องเกิดจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266) ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้
“ข้อ 2 ทรัพย์สินตามข้อ 1 (1)(2) และ (3) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ทรัพย์สินตามข้อ 1 (4) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินดังนี้
(1) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ
(2) ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ
(3) กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
การลงทุนในทรัพย์ตามข้อ 1 (4) ไม่รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินโดยการซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินนั้นมา”
ดังนั้น หากการได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทฯ ไม่เข้าตามลักษณะที่กฎหมายกำหนดก็ย่อมไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
ตอบเมื่อ 22 ก.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ