ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเขตปลอดอากร
ถามวันที่ 1 พ.ย. 2561 . ถามโดย sunisa29.mu . เข้าชม 6 ครั้ง
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเขตปลอดอากร
ถามวันที่ 1 พ.ย. 2561 . ถามโดย sunisa29.mu . เข้าชม 6 ครั้ง
1.บริษัท A และ บริษัท B เป็นนิติบุคคลในเขตปลอดอากรทั้งคู่
2.บริษัท A รับจ้างผลิตสินค้าจากบริษัท B โดยบริษัท B เป็นผู้ซื้อวัตถุดิบ
3. เมื่อผลิตเสร็จบริษัท A ส่งสินค้าให้กับบริษัท B ถือเป็นค่าบริการหรือไม่
4. กรณีเป็นค่าบริการ บริษัท B ผู้ว่าจ้างต้องหักภาษีนำส่งหรือไม่
ขอบคุณมากเลยค่ะ
2.บริษัท A รับจ้างผลิตสินค้าจากบริษัท B โดยบริษัท B เป็นผู้ซื้อวัตถุดิบ
3. เมื่อผลิตเสร็จบริษัท A ส่งสินค้าให้กับบริษัท B ถือเป็นค่าบริการหรือไม่
4. กรณีเป็นค่าบริการ บริษัท B ผู้ว่าจ้างต้องหักภาษีนำส่งหรือไม่
ขอบคุณมากเลยค่ะ
1 คำตอบ
กรณีบริษัท A และบริษัท B เป็นนิติบุคคลในเขตปลอดอากรทั้งคู่ บริษัท A รับจ้างผลิตสินค้าให้แก่บริษัท B โดยบริษัท B เป็นผู้ซื้อวัตถุดิบ
เช่นนี้ เมื่อผลิตเสร็จบริษัท A ส่งสินค้าให้กับบริษัท B ถือเป็นการให้บริการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัท B ผู้ว่าจ้างต้องคำนวฯหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินได้ และนำส่งตามแบบ ภ.ง.ด.53 เว้นแต่บริษัท A ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เนื่องจากได้รับการส่งเสริมการลงทุน
เช่นนี้ เมื่อผลิตเสร็จบริษัท A ส่งสินค้าให้กับบริษัท B ถือเป็นการให้บริการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัท B ผู้ว่าจ้างต้องคำนวฯหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินได้ และนำส่งตามแบบ ภ.ง.ด.53 เว้นแต่บริษัท A ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เนื่องจากได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ตอบเมื่อ 8 ม.ค. 2562 . ตอบโดย อจ.สุเทพ