การนำทุนสำรองไปใช้
ถามวันที่ 9 ต.ค. 2561 . ถามโดย Mewmyungsoo . เข้าชม 6 ครั้ง
การนำทุนสำรองไปใช้
ถามวันที่ 9 ต.ค. 2561 . ถามโดย Mewmyungsoo . เข้าชม 6 ครั้ง
เรียนอาจารย์สุเทพ
มีคำถามอยากสอบถามเรื่องทุนสำรองตามมาตรา 1202 เมื่อเราแบ่งทุนสำรองไว้แล้ว 10 % หรือเกินกว่าที่กำหนด คำถามคือ เราสามารถนำทุนสำรองส่วนที่เกิน 10% ไปให้ประโยชน์ในบริษัทฯ หรือนำไปจัดสรรเป็นการอื่นได้หรือไม่
มีคำถามอยากสอบถามเรื่องทุนสำรองตามมาตรา 1202 เมื่อเราแบ่งทุนสำรองไว้แล้ว 10 % หรือเกินกว่าที่กำหนด คำถามคือ เราสามารถนำทุนสำรองส่วนที่เกิน 10% ไปให้ประโยชน์ในบริษัทฯ หรือนำไปจัดสรรเป็นการอื่นได้หรือไม่
1 คำตอบ
เรียน คุณ Mewmyungsoo
กรณีบริษัทฯ มีการตั้งสำรองตาม ก.ม.10 % ของทุนจดทะเบียนไว้ ณ ตอนที่มีจ่ายเงินปันผล
สำรองตาม ก.ม.ที่ตั้งไว้นั้นสามารถนำมาจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นได้อีก เมื่อบริษัทได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์แล้ว ให้โอนบัญชีสำรองต่างๆ กลับไปยังบัญชีกำไรสะสม
การจัดสรรกำไรสะสม โดย ครูเบญจมาศ ดีเจริญ
ที่มา: http://kruben.krutechnic.com/u32.html
การจัดสรรกำไรสะสม คือ การแยกกำไรสะสมส่วนหนึ่งออกมาจากกำไรสะสม ที่ยังมิได้จัดสรร มาตั้งไว้ต่างหากเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง หรือตามข้อบังคับของกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยเฉพาะ ซึ่งกำไรสะสมในส่วนนี้ บริษัทจะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ ในการจัดสรรกำไรสะสมโดยการตั้งสำรองต่างๆ อาจจำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
........1. การตั้งสำรองตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ถ้าบริษัทจำกัดมีกำไรสุทธิ จะต้องจัดสรรกำไรสะสม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1202 ทุกครั้งที่ได้มีมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ประกาศจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสะสมไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อย 5% ของกำไรสุทธิประจำปี จนกว่ากำไรสะสมที่จัดสรรไว้เป็นทุนสำรองนั้น มีจำนวน 10% ของจำนวนทุนที่จดทะเบียนหรือมากกว่าที่กฎหมายกำหนด หากได้มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้มากกว่า
........2. การตั้งสำรองตามข้อผูกพัน ซึ่งเป็นการตั้งตามมติของคณะกรรมการบริษัทให้จัดสรรกำไรสะสมเพื่อเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้หรือผู้ถือหุ้นกู้ โดยบริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสะสมทุกวันสิ้นปีตลอดอายุของหุ้นกู้ หรือตลอดสัญญาของการเป็นหนี้ และในขณะเดียวกันบริษัทจะต้องมีการกันเงินสดไว้เท่ากับกำไรสะสมที่เท่ากัน เพื่อที่จะให้มีเงินสดเพียงพอที่จะไปชำระหุ้นกู้เมื่อวันครบกำหนดหลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นการชำระหนี้แล้ว บัญชีสำรองตามข้อผูกพันมียอดคงเหลือ ให้โอนปิดบัญชีสำรองตามข้อผูกพันกลับไปยังบัญชีกำไรสะสมที่ไม่ได้จัดสรรตามเดิม
........3. การตั้งสำรองตามนโยบายของบริษัท ซึ่งเป็นการจัดสรรกำไรสะสมตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัท โดยให้กันกำไรสะสมไว้ส่วนหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะรักษาไว้ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนให้มีสภาพคล่องในอัตราที่สูง ในการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น บริษัทให้กันกำไรสะสมไว้สำหรับค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สำรองเพื่อการขยายงาน สำรองเพื่อประกันภัยตนเอง เป็นต้น
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการตั้งสำรองต่างๆ จะบันทึกได้ดังนี้
เดบิท กำไรสะสม..................... xxx
....เครดิต สำรองตามกฎหมาย............ xxx
..............สำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้.. xxx
..............สำรองเพื่อขยายงาน.......... xxx
การตั้งสำรองต่างๆ เมื่อบริษัทได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์แล้ว ให้โอนบัญชีสำรองต่างๆ กลับไปยังบัญชีกำไรสะสม ซึ่งบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิท สำรองต่างๆ............... xxx
....เครดิต กำไรสะสม...................... xxx
โอนปิดบัญชีสำรองต่างๆ
ดังนั้น กิจการย่อมสามารถนำทุนสำรองส่วนที่เกิน 10% ไปให้ประโยชน์ในบริษัทฯ หรือนำไปจัดสรรเป็นการอื่นได้ เช่น นำไปจัดสรรตามนโยบายของบริษัทฯ เพราะไม่ได้มีข้อห้ามแต่ประการใด
กรณีบริษัทฯ มีการตั้งสำรองตาม ก.ม.10 % ของทุนจดทะเบียนไว้ ณ ตอนที่มีจ่ายเงินปันผล
สำรองตาม ก.ม.ที่ตั้งไว้นั้นสามารถนำมาจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นได้อีก เมื่อบริษัทได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์แล้ว ให้โอนบัญชีสำรองต่างๆ กลับไปยังบัญชีกำไรสะสม
การจัดสรรกำไรสะสม โดย ครูเบญจมาศ ดีเจริญ
ที่มา: http://kruben.krutechnic.com/u32.html
การจัดสรรกำไรสะสม คือ การแยกกำไรสะสมส่วนหนึ่งออกมาจากกำไรสะสม ที่ยังมิได้จัดสรร มาตั้งไว้ต่างหากเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง หรือตามข้อบังคับของกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยเฉพาะ ซึ่งกำไรสะสมในส่วนนี้ บริษัทจะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ ในการจัดสรรกำไรสะสมโดยการตั้งสำรองต่างๆ อาจจำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
........1. การตั้งสำรองตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ถ้าบริษัทจำกัดมีกำไรสุทธิ จะต้องจัดสรรกำไรสะสม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1202 ทุกครั้งที่ได้มีมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ประกาศจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสะสมไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อย 5% ของกำไรสุทธิประจำปี จนกว่ากำไรสะสมที่จัดสรรไว้เป็นทุนสำรองนั้น มีจำนวน 10% ของจำนวนทุนที่จดทะเบียนหรือมากกว่าที่กฎหมายกำหนด หากได้มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้มากกว่า
........2. การตั้งสำรองตามข้อผูกพัน ซึ่งเป็นการตั้งตามมติของคณะกรรมการบริษัทให้จัดสรรกำไรสะสมเพื่อเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้หรือผู้ถือหุ้นกู้ โดยบริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสะสมทุกวันสิ้นปีตลอดอายุของหุ้นกู้ หรือตลอดสัญญาของการเป็นหนี้ และในขณะเดียวกันบริษัทจะต้องมีการกันเงินสดไว้เท่ากับกำไรสะสมที่เท่ากัน เพื่อที่จะให้มีเงินสดเพียงพอที่จะไปชำระหุ้นกู้เมื่อวันครบกำหนดหลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นการชำระหนี้แล้ว บัญชีสำรองตามข้อผูกพันมียอดคงเหลือ ให้โอนปิดบัญชีสำรองตามข้อผูกพันกลับไปยังบัญชีกำไรสะสมที่ไม่ได้จัดสรรตามเดิม
........3. การตั้งสำรองตามนโยบายของบริษัท ซึ่งเป็นการจัดสรรกำไรสะสมตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัท โดยให้กันกำไรสะสมไว้ส่วนหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะรักษาไว้ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนให้มีสภาพคล่องในอัตราที่สูง ในการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น บริษัทให้กันกำไรสะสมไว้สำหรับค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สำรองเพื่อการขยายงาน สำรองเพื่อประกันภัยตนเอง เป็นต้น
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการตั้งสำรองต่างๆ จะบันทึกได้ดังนี้
เดบิท กำไรสะสม..................... xxx
....เครดิต สำรองตามกฎหมาย............ xxx
..............สำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้.. xxx
..............สำรองเพื่อขยายงาน.......... xxx
การตั้งสำรองต่างๆ เมื่อบริษัทได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์แล้ว ให้โอนบัญชีสำรองต่างๆ กลับไปยังบัญชีกำไรสะสม ซึ่งบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิท สำรองต่างๆ............... xxx
....เครดิต กำไรสะสม...................... xxx
โอนปิดบัญชีสำรองต่างๆ
ดังนั้น กิจการย่อมสามารถนำทุนสำรองส่วนที่เกิน 10% ไปให้ประโยชน์ในบริษัทฯ หรือนำไปจัดสรรเป็นการอื่นได้ เช่น นำไปจัดสรรตามนโยบายของบริษัทฯ เพราะไม่ได้มีข้อห้ามแต่ประการใด
ตอบเมื่อ 12 ม.ค. 2562 . ตอบโดย อจ.สุเทพ