กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ปี 2557 ภายหลังได้รับหมายเรียกเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจประเมินภาษีร้อยละ 5 จากยอดขาย ตาม ม.71(1) หรือไม่
ถามวันที่ 15 ก.ค. 2559 . ถามโดย wiwatc . เข้าชม 40 ครั้ง
กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ปี 2557 ภายหลังได้รับหมายเรียกเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจประเมินภาษีร้อยละ 5 จากยอดขาย ตาม ม.71(1) หรือไม่
ถามวันที่ 15 ก.ค. 2559 . ถามโดย wiwatc . เข้าชม 40 ครั้ง
เรียน อาจารย์สุเทพ ที่เคารพ
เรื่อง สอบถามกรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ปี 2557 ภายหลังได้รับหมายเรียกเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจประเมินภาษีร้อยละ 5 จากยอดขาย ตาม ม.71(1) หรือไม่
ห้างฯ ประกอบกิจการ ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เมื่อเดือน ธันวาคม 2558 ได้รับหมายเรียกตามประมวลรัษฎากร ระบุว่า ด้วยเจ้าพนักงานประเมิน มีเหตุอันควรเชื่อว่า/มีเหตุอันควรสงสัยว่า ห้างฯได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง/มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร/ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ สำหรับรอบบัญชี ปี2557 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19, 23, 88/4 ,91/21 และ 123 แห่งประมวลรัษฎากร หมวด 2,4,5,และ 6 ว่าด้วยวิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้นำส่งเอกสารเพื่อการตรวจสอบ
ณ ขณะที่ห้างฯได้รับหมายเรียก ห้างฯ ยังมิได้นำส่ง ภ.ง.ด.50 และห้างฯ ก็รีบดำเนินการส่งเอกสารเพื่อการตรวจสอบ และได้ยื่น ภ.ง.ด.50 เรียบร้อย ในเดือน กุมภาพันธ์ 2559 ห้างฯ ได้นำส่งเอกสารประกอบการลงรายการบัญชี และสมุดรายวัน ทั้งหมด ของกิจการ และได้ให้ความร่วมมือในการตอบปัญหาทุกเรื่องที่เจ้าพนักงาน สอบถามเพิ่มเติมเป็นอย่างดี
สรุปผลการตรวจสอบ เจ้าพนักงานได้เรียกไปรับทราบผลการตรวจสอบ ซึ่งผลการตรวจสอบ เจ้าพนักงานแจ้งว่า ห้างฯ มิได้นำ ค่าใช้จ่ายบางตัว ซึ่ง ต้องนำมารวมคิดเป็นต้นทุนสินค้าด้วย ทำให้เจ้าพนักงานได้ดำเนินการคิดต้นทุนสินค้าใหม่ และนำไปเปรียบเทียบกับราคาขาย ทำให้ รายการขายสินค้าบางอินวอยซ์ ต่ำกว่าต้นทุน เจ้าพนักงานจึงได้ประเมินราคาขายใหม่ โดยบวกต้นทุนใหม่ที่คำนวณได้ กับ เปอร์เซ็นต์กำไรขั้นต้นที่ทางห้างฯได้แจ้งไว้ ประเมินปรับยอดขายของห้างฯ เพิ่มขึ้น ทั้งปีรวมเป็นจำนวนเงิน ประมาณ 300,000 บาท และเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเพิ่ม จำนวนประมาณ 21,000 บาท ส่วนภาษีนิติบุคคล เนื่องจากห้างฯประกอบการมีผลขาดทุน เมื่อประเมินตาม ม.24 แล้ว จึงไม่มีภาษีที่ต้องชำระ แต่เจ้าพนักงานแจ้งว่า ห้างฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 หลังจากที่ทางเจ้าพนักงานได้ออกหมายแล้ว จึงต้อง ประเมินตาม ม.71 (1) ด้วย โดยเอายอดขายทั้งปี 57 คูณด้วยอัตราร้อยละ5 ซึ่งเป็นจำนวนเงินภาษี ประมาณ 500,000 บาท และนำภาษีที่ประเมินได้ ตาม ม.24 มาเปรียบเทียบ กับยอดภาษีที่ประเมินได้ ตาม ม.71 (1) แล้วแต่ว่าภาษีตามวิธีใดจะมีจำนวนมากกว่าก็ให้ใช้ตามวิธีนั้น ( ป. 78/2541)
สอบถาม
1. เจ้าพนักงานประเมิน ใช้อำนาจประเมินตามมาตรา 71(1) ได้หรือไม่ เพราะห้างฯได้ให้ความร่วมมือและจัดส่งเอกสารหลักฐานให้เพียงพอต่อการตรวจสอบแล้ว
2. เจ้าพนักงานประเมินสามารถใช้ดุลยพินิจไม่ประเมินตามมาตรา 71(1) ได้หรือไม่
3. มีเหตุผลในการขออุทธรณ์คดีอย่างไร
4. ด้วยเหตุนี้มีผลให้ ห้างเสียสิทธิในการจดแจ้ง พ.ร.ก.และพ.ร.ฎ.บัญชีชุดเดียวหรือไม่
คุณ Nok Auditor
เรื่อง สอบถามกรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ปี 2557 ภายหลังได้รับหมายเรียกเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจประเมินภาษีร้อยละ 5 จากยอดขาย ตาม ม.71(1) หรือไม่
ห้างฯ ประกอบกิจการ ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เมื่อเดือน ธันวาคม 2558 ได้รับหมายเรียกตามประมวลรัษฎากร ระบุว่า ด้วยเจ้าพนักงานประเมิน มีเหตุอันควรเชื่อว่า/มีเหตุอันควรสงสัยว่า ห้างฯได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง/มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร/ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ สำหรับรอบบัญชี ปี2557 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19, 23, 88/4 ,91/21 และ 123 แห่งประมวลรัษฎากร หมวด 2,4,5,และ 6 ว่าด้วยวิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้นำส่งเอกสารเพื่อการตรวจสอบ
ณ ขณะที่ห้างฯได้รับหมายเรียก ห้างฯ ยังมิได้นำส่ง ภ.ง.ด.50 และห้างฯ ก็รีบดำเนินการส่งเอกสารเพื่อการตรวจสอบ และได้ยื่น ภ.ง.ด.50 เรียบร้อย ในเดือน กุมภาพันธ์ 2559 ห้างฯ ได้นำส่งเอกสารประกอบการลงรายการบัญชี และสมุดรายวัน ทั้งหมด ของกิจการ และได้ให้ความร่วมมือในการตอบปัญหาทุกเรื่องที่เจ้าพนักงาน สอบถามเพิ่มเติมเป็นอย่างดี
สรุปผลการตรวจสอบ เจ้าพนักงานได้เรียกไปรับทราบผลการตรวจสอบ ซึ่งผลการตรวจสอบ เจ้าพนักงานแจ้งว่า ห้างฯ มิได้นำ ค่าใช้จ่ายบางตัว ซึ่ง ต้องนำมารวมคิดเป็นต้นทุนสินค้าด้วย ทำให้เจ้าพนักงานได้ดำเนินการคิดต้นทุนสินค้าใหม่ และนำไปเปรียบเทียบกับราคาขาย ทำให้ รายการขายสินค้าบางอินวอยซ์ ต่ำกว่าต้นทุน เจ้าพนักงานจึงได้ประเมินราคาขายใหม่ โดยบวกต้นทุนใหม่ที่คำนวณได้ กับ เปอร์เซ็นต์กำไรขั้นต้นที่ทางห้างฯได้แจ้งไว้ ประเมินปรับยอดขายของห้างฯ เพิ่มขึ้น ทั้งปีรวมเป็นจำนวนเงิน ประมาณ 300,000 บาท และเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเพิ่ม จำนวนประมาณ 21,000 บาท ส่วนภาษีนิติบุคคล เนื่องจากห้างฯประกอบการมีผลขาดทุน เมื่อประเมินตาม ม.24 แล้ว จึงไม่มีภาษีที่ต้องชำระ แต่เจ้าพนักงานแจ้งว่า ห้างฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 หลังจากที่ทางเจ้าพนักงานได้ออกหมายแล้ว จึงต้อง ประเมินตาม ม.71 (1) ด้วย โดยเอายอดขายทั้งปี 57 คูณด้วยอัตราร้อยละ5 ซึ่งเป็นจำนวนเงินภาษี ประมาณ 500,000 บาท และนำภาษีที่ประเมินได้ ตาม ม.24 มาเปรียบเทียบ กับยอดภาษีที่ประเมินได้ ตาม ม.71 (1) แล้วแต่ว่าภาษีตามวิธีใดจะมีจำนวนมากกว่าก็ให้ใช้ตามวิธีนั้น ( ป. 78/2541)
สอบถาม
1. เจ้าพนักงานประเมิน ใช้อำนาจประเมินตามมาตรา 71(1) ได้หรือไม่ เพราะห้างฯได้ให้ความร่วมมือและจัดส่งเอกสารหลักฐานให้เพียงพอต่อการตรวจสอบแล้ว
2. เจ้าพนักงานประเมินสามารถใช้ดุลยพินิจไม่ประเมินตามมาตรา 71(1) ได้หรือไม่
3. มีเหตุผลในการขออุทธรณ์คดีอย่างไร
4. ด้วยเหตุนี้มีผลให้ ห้างเสียสิทธิในการจดแจ้ง พ.ร.ก.และพ.ร.ฎ.บัญชีชุดเดียวหรือไม่
คุณ Nok Auditor
1 คำตอบ
เรื่อง สอบถามกรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ปี 2557 ภายหลังได้รับหมายเรียกเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจประเมินภาษีร้อยละ 5 จากยอดขาย ตาม ม.71(1) หรือไม่
เรียน คุณ Nok Auditor
ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 68 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังนี้
“มาตรา 71 ในกรณีที่
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ หรือมิได้ทำบัญชี หรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิ หรือไม่นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ถ้ายอดรายรับก่อนหักรายจ่าย หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายดังกล่าวไม่ปรากฏ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน โดยอาศัยเทียบเคียงกับยอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไป ถ้ายอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนไม่ปรากฏให้ประเมินได้ตามที่เห็นสมควร”
นอกจากนี้ ตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 78/2541 เรื่อง ขอบเขตการใช้อำนาจ ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ดังนี้
“ข้อ 4 กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด เพื่อทำการตรวจสอบภาษีอากร ตามมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร และสั่งให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นนำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบด้วย ให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร หรือจะทำการประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้ แล้วแต่ว่าภาษีตามวิธีใดจะมีจำนวนมากกว่า
ข้อ 5 กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียก ตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อทำการตรวจสอบภาษีอากรบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบ กิจการขายส่งสินค้าบางประเภท ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินสามารถหาหลักฐานเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการขายส่งสุรา เบียร์ ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง ปูนซีเมนต์ เป็นต้น ให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้ ตามมาตรา 20 หรือมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ตามมาตรา 22 หรือมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
ข้อ 6 กรณีตามข้อ 4 เจ้าพนักงานประเมินจะไม่ประเมินภาษีเงินได้โดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้ ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ประเมินภาษีเงินได้ ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นแต่ละกรณีไป”
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. ตามข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 78/2541 กำหนดว่า
“กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด เพื่อทำการตรวจสอบภาษีอากร ตามมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร และสั่งให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นนำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบด้วย ให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร หรือจะทำการประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้ แล้วแต่ว่าภาษีตามวิธีใดจะมีจำนวนมากกว่า”
ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงที่แจ้งเจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจประเมินตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากรได้ แม้ห้างฯ จะได้ให้ความร่วมมือและจัดส่งเอกสารหลักฐานให้เพียงพอต่อการตรวจสอบแล้ว (แต่เรื่องยังไม่จบในข้อเดียว โปรดอ่านข้อต่อไป)
2. อย่างไรก็ตาม เมื่อห้างฯ ได้ให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานประเมินจนสามารถคำนวณจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 เป็นที่แน่ชัดแล้ว เพียงแต่มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลตามวิธีตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 78/2541 ก็เปิดช่องให้เจ้าพนักงานประเมินใช้ดุลยพินิจในอันที่จะไม่ดำเนินการใช้อำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ หากแต่ต้อง “ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นแต่ละกรณีไป”
ซึ่งหากมองด้วยใจที่เป็นธรรม เจ้าพนักงานประเมินพึงต้องมีเมตตาที่จะขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ที่จะไม่ดำเนินการใช้อำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อันเนื่องจาก
(1) ห้างฯ ไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีอากร
(2) ห้างฯ ได้ให้ความร่วมมือด้วยดีในการดำเนินการตรวจสอบภาษีอากร
(3) อธิบายเหตุผลความจำเป็นที่ยังไม่สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 ได้ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการออกหมายเรียกตามมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร ได้อย่างมีเหตุผลเพียงพอ
3. มีเหตุผลในการขออุทธรณ์การประเมินภาษีอากรในกรณีนี้ คือ ความเป็นธรรม และเหตุผลตามข้อ 2 ข้างต้น
4. ด้วยเหตุของการตรวจสอบตามหมายเรียกดังกล่าว เห็นว่า ยังไม่มีผลเพียงพอที่จะให้ ห้างฯ เสียสิทธิในการจดแจ้ง พ.ร.ก. และ พ.ร.ฎ. บัญชีชุดเดียว แต่อย่างใด
เรียน คุณ Nok Auditor
ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 68 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังนี้
“มาตรา 71 ในกรณีที่
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ หรือมิได้ทำบัญชี หรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิ หรือไม่นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ถ้ายอดรายรับก่อนหักรายจ่าย หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายดังกล่าวไม่ปรากฏ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน โดยอาศัยเทียบเคียงกับยอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไป ถ้ายอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนไม่ปรากฏให้ประเมินได้ตามที่เห็นสมควร”
นอกจากนี้ ตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 78/2541 เรื่อง ขอบเขตการใช้อำนาจ ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ดังนี้
“ข้อ 4 กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด เพื่อทำการตรวจสอบภาษีอากร ตามมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร และสั่งให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นนำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบด้วย ให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร หรือจะทำการประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้ แล้วแต่ว่าภาษีตามวิธีใดจะมีจำนวนมากกว่า
ข้อ 5 กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียก ตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อทำการตรวจสอบภาษีอากรบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบ กิจการขายส่งสินค้าบางประเภท ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินสามารถหาหลักฐานเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการขายส่งสุรา เบียร์ ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง ปูนซีเมนต์ เป็นต้น ให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้ ตามมาตรา 20 หรือมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ตามมาตรา 22 หรือมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
ข้อ 6 กรณีตามข้อ 4 เจ้าพนักงานประเมินจะไม่ประเมินภาษีเงินได้โดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้ ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ประเมินภาษีเงินได้ ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นแต่ละกรณีไป”
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. ตามข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 78/2541 กำหนดว่า
“กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด เพื่อทำการตรวจสอบภาษีอากร ตามมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร และสั่งให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นนำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบด้วย ให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร หรือจะทำการประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้ แล้วแต่ว่าภาษีตามวิธีใดจะมีจำนวนมากกว่า”
ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงที่แจ้งเจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจประเมินตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากรได้ แม้ห้างฯ จะได้ให้ความร่วมมือและจัดส่งเอกสารหลักฐานให้เพียงพอต่อการตรวจสอบแล้ว (แต่เรื่องยังไม่จบในข้อเดียว โปรดอ่านข้อต่อไป)
2. อย่างไรก็ตาม เมื่อห้างฯ ได้ให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานประเมินจนสามารถคำนวณจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 เป็นที่แน่ชัดแล้ว เพียงแต่มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลตามวิธีตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 78/2541 ก็เปิดช่องให้เจ้าพนักงานประเมินใช้ดุลยพินิจในอันที่จะไม่ดำเนินการใช้อำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ หากแต่ต้อง “ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นแต่ละกรณีไป”
ซึ่งหากมองด้วยใจที่เป็นธรรม เจ้าพนักงานประเมินพึงต้องมีเมตตาที่จะขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ที่จะไม่ดำเนินการใช้อำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อันเนื่องจาก
(1) ห้างฯ ไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีอากร
(2) ห้างฯ ได้ให้ความร่วมมือด้วยดีในการดำเนินการตรวจสอบภาษีอากร
(3) อธิบายเหตุผลความจำเป็นที่ยังไม่สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 ได้ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการออกหมายเรียกตามมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร ได้อย่างมีเหตุผลเพียงพอ
3. มีเหตุผลในการขออุทธรณ์การประเมินภาษีอากรในกรณีนี้ คือ ความเป็นธรรม และเหตุผลตามข้อ 2 ข้างต้น
4. ด้วยเหตุของการตรวจสอบตามหมายเรียกดังกล่าว เห็นว่า ยังไม่มีผลเพียงพอที่จะให้ ห้างฯ เสียสิทธิในการจดแจ้ง พ.ร.ก. และ พ.ร.ฎ. บัญชีชุดเดียว แต่อย่างใด
ตอบเมื่อ 15 ก.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ