รายจ่ายค่ารับรองมาตรฐานสากล
ถามวันที่ 12 ก.ค. 2559 . ถามโดย Hkomut . เข้าชม 56 ครั้ง
รายจ่ายค่ารับรองมาตรฐานสากล
ถามวันที่ 12 ก.ค. 2559 . ถามโดย Hkomut . เข้าชม 56 ครั้ง
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ VAT เท่าไร สำหรับรายจ่ายไปต่างประเทศกับองค์การ สถาบันรับรองมาตรฐานสากล ต่างๆ เช่น ISO9001, Global Reporting Initiative Index (GRI) for sustainability reporting
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
1 คำตอบ
เรียน คุณ Hkomut
การจ่ายค่าบริการตรวจรับรองมาตรฐานสากลต่างๆ อาทิ ISO9001, Global Reporting Initiative Index (GRI) for sustainability reporting นั้น
1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
(1) สำหรับการจ่ายให้แก่บริษัทผู้ให้บริการที่ไม่ได้อยู่ในประเทศที่มิได้มีอนุสัญญาภาษีซ้อน
กับประเทศไทย เข้าลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ โดยต้องนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้นั้น
(2) สำหรับการจ่ายให้แก่บริษัทผู้ให้บริการที่อยู่ในประเทศที่มิได้มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐเยอรมนี เป็นต้น
กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าบริการตรวจรับรองมาตรฐาน เช่น ISO 9001:2000 ด้านระบบบริหารการจัดการและคุณภาพสินค้าที่ส่งออก ไปให้แก่บริษัทผู้ให้บริการที่อยู่ในประเทศที่มิได้มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐเยอรมนี เป็นต้น เข้าลักษณะเป็นกำไรธุรกิจ เพราะบริษัท ผู้ให้บริการมิได้ให้บริการโดยผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งความตกลง เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศที่มีสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือสหรัฐอเมริกา หรือสหพันธรัฐเยอรมนี เป็นต้น แล้วแต่กรณี ประกอบกับ มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินจึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร (อ้างถึง หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/3688 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2549)
2. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีบริษัทฯ ชำระค่าบริการตรวจรับรองมาตรฐานสากลต่างๆ ให้แก่บริษัทผู้ให้บริการในต่างประเทศ เป็นกรณีบริษัทฯ ชำระค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัทฯ มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามข้อ 4 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้ การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
การจ่ายค่าบริการตรวจรับรองมาตรฐานสากลต่างๆ อาทิ ISO9001, Global Reporting Initiative Index (GRI) for sustainability reporting นั้น
1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
(1) สำหรับการจ่ายให้แก่บริษัทผู้ให้บริการที่ไม่ได้อยู่ในประเทศที่มิได้มีอนุสัญญาภาษีซ้อน
กับประเทศไทย เข้าลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ โดยต้องนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้นั้น
(2) สำหรับการจ่ายให้แก่บริษัทผู้ให้บริการที่อยู่ในประเทศที่มิได้มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐเยอรมนี เป็นต้น
กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าบริการตรวจรับรองมาตรฐาน เช่น ISO 9001:2000 ด้านระบบบริหารการจัดการและคุณภาพสินค้าที่ส่งออก ไปให้แก่บริษัทผู้ให้บริการที่อยู่ในประเทศที่มิได้มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐเยอรมนี เป็นต้น เข้าลักษณะเป็นกำไรธุรกิจ เพราะบริษัท ผู้ให้บริการมิได้ให้บริการโดยผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งความตกลง เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศที่มีสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือสหรัฐอเมริกา หรือสหพันธรัฐเยอรมนี เป็นต้น แล้วแต่กรณี ประกอบกับ มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินจึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร (อ้างถึง หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/3688 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2549)
2. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีบริษัทฯ ชำระค่าบริการตรวจรับรองมาตรฐานสากลต่างๆ ให้แก่บริษัทผู้ให้บริการในต่างประเทศ เป็นกรณีบริษัทฯ ชำระค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัทฯ มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามข้อ 4 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้ การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ตอบเมื่อ 15 ก.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ