ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ถามวันที่ 27 มิ.ย. 2560  .  ถามโดย nathanan_nan  .  เข้าชม 14 ครั้ง

1. กรณีบริษัทฯ ผิดนัดชำระเงินค่าเช่าที่ดินที่บริษัทฯ นำมาปลูกสร้างอาคารสำนักงาน มาเป็นเวลานานและผ็ูให้เช่ามีความประสงค์จะให้บริษัทฯ ออกจากที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งอาจารย์ได้ให้คำตอบแล้วว่า ในแง่บัญชีตัวอาคารและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปได้ ทางด้านบัญชีบริษัทฯ สามารถตัดต้นทุนอาคารและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกจากบัญชีตามมูลค่าที่เหลืออยู่เป็นค่าเสื่อมราคาได้ โดยทางบริษัทฯ ไม่ต้องรับรู้รายได้ตามราคาตลาดของอาคารและสิ่งปลูกสร้างอีก เพราะเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนผู้ให้เช่าถ้าต้องการตัวอาคารก็จะต้องนำไปเสียภาษ๊เงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าไม่ต้องการก็จะต้องทำการรื้อถอน จึงจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงขอเรียนปรึกษาอาจารย์ดังนี้
1.1 เหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร คือรายละเอียดอะไรค่ะ
1.2 . ค่าเช่าที่บริษัทฯ ค้างชำระอยู่นั้น ในแง่ภาษีทางบริษัทฯ จะต้องนำมารับรู้เป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยหรือเปล่าค่ะ เนื่องจากทางบริษัทฯ ได้ลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายไว้แล้วแต่ยังค้างชำระอยู่ในบัญชี

2. กรณีนำอาคารและสิ่งปลูกสร้างไปชำระนี้ค่าเช่าที่ค้างชำระ ในแง่ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ ต้องรับรู้รายได้ตามราคาตลาดของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร และสามารถนำมูลค่าสุทธิของอาคารและสิ่งปลูกสร้างมาเเป็นต้นทุนของการขายได้ถูกต้องไหมค่ะ
2.1 อยากทราบว่ากรณีตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ทางด้านผู้ให้เช่า ก็เหมือนกันใช่ไม่ค่ะ ถ้าต้องการอาคารก็ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถ้าไม่ต้องการก็รื้อถอน ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.2 กรณีตามข้อ 1 และ ข้อ 2 จะแตกต่างกันตรงที่่ กรณีที่ 1 บริษัทฯ ผิดนัดชำระหนี้แล้วผู้ให้เช่าให้เราออกจากที่ดินในแง่ภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ต้องรับรู้รายได้ตามราคาตลาดตามราคาประเมิน ส่วนกรณีที่ 2 กรณียกอาคารและส่ิงปลูกสร้างให้เจ้าของที่ดินเพื่อชดเชยที่ไม่ได้จ่ายค่าเช่าที่ดินจะต้องรับรู่้รายได้ตามราคาตลาดหรือค่ะ ในข้อ 2 อาจารย์เคยตอบให้มาตามนั้น เลยไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่
3. กรณีสัญญาเช่าระบุว่ากรณีสัญญาเช่าสิ้นสุดลง (โดยมิใช่ความผิดของผู้ให้เช่า) ผู้เช่าตกลงให้กรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างตกเป็นเป็นของผู้ให้เช่าตามสภาพซึ่งเป็นอยู่ในวันที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลง เนื่องจากทางบริษัทฯ ผิดนัดชำระหนี้เป็นระยะเวลาหลายปี แต่ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลือกได้ว่าจะให้ผู้เช่ารื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างหรือไม่
3.1 ถ้าผู้ให้เช่าให้บริษัทรื้้อถอน ไม่ทราบว่าผู้เช่าจะต้องเสียภาษีอะไรหรือเปล่าค่ะ จะถือว่าการให้กรรมสิทธิ์ในอาคารและส่ิงปลูกสร้าง เป็นการขายเพื้อตัดจำหน่ายทรัพย์สินออกจากบัญชีหรือไม่ค่ะ ส่วนผู้ให้เช่าไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช่ไหมค่ะ
3.2 ถ้าผู้ให้เช่าเลือกที่จะเอาอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ผู้ให้เช่าจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนผู้เช่าจะถือเหมือนข้อที่ 1 หรือไม่ค่ะ


ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

1 คำตอบ
1. กรณีบริษัทฯ ผิดนัดชำระเงินค่าเช่าที่ดินที่บริษัทฯ นำมาปลูกสร้างอาคารสำนักงาน มาเป็นเวลานานและผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะให้บริษัทฯ ออกจากที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งอาจารย์ได้ให้คำตอบแล้วว่า ในแง่บัญชีตัวอาคารและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปได้ ทางด้านบัญชีบริษัทฯ สามารถตัดต้นทุนอาคารและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกจากบัญชีตามมูลค่าที่เหลืออยู่เป็นค่าเสื่อมราคาได้ โดยทางบริษัทฯ ไม่ต้องรับรู้รายได้ตามราคาตลาดของอาคารและสิ่งปลูกสร้างอีก เพราะเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนผู้ให้เช่าถ้าต้องการตัวอาคารก็จะต้องนำไปเสียภาษ๊เงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าไม่ต้องการก็จะต้องทำการรื้อถอน จึงจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.1 เหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร คือ
"(4) ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงิน"
เป็นกรณีที่โอนทรัพย์สินอาคารให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยเรียกเก็บค่าอาคารตามราคาตลาดของอาคารนั้น เนื่องจากบริษัทฯ ผิดสัญญาไม่จ่ายค่าเช่าใหแก่เจ้าของทีดิน
1.2 . ค่าเช่าที่บริษัทฯ ค้างชำระอยู่นั้น ในแง่ภาษีทางบริษัทฯ จะต้องนำมารับรู้เป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย หากบริษัทฯ ไม่ต้องจ่ายเงินค่าเช่าให้แก่เจ้าของที่ดิน
เนื่องจากทางบริษัทฯ ได้ลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายไว้แล้วแต่ยังค้างชำระอยู่ในบัญชี

2. กรณีนำอาคารและสิ่งปลูกสร้างไปชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างชำระ ในแง่ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ ต้องรับรู้รายได้ตามราคาตลาดของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร และสามารถนำมูลค่าสุทธิของอาคารและสิ่งปลูกสร้างมาเเป็นต้นทุนของการขายได้ ถูกต้องแล้ว
2.1 เมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนไป ภาระภาษีทางด้านผู้ให้เช่า ก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ต้องรับรู้อาคารเป็นเงินได้เท่านั้น
2.2 กรณีตามข้อ 1 และ ข้อ 2 จะแตกต่างกันตรงที่่ กรณีที่ 1 บริษัทฯ ผิดนัดชำระหนี้แล้วผู้ให้เช่าให้เราออกจากที่ดินในแง่ภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ต้องรับรู้รายได้ตามราคาตลาดตามราคาประเมิน ส่วนกรณีที่ 2 กรณียกอาคารและส่ิงปลูกสร้างให้เจ้าของที่ดินเพื่อชดเชยที่ไม่ได้จ่ายค่าเช่าที่ดินจะต้องรับรู่้รายได้ตามราคาตลาดหรือค่ะ ในข้อ 2 อาจารย์เคยตอบให้มาตามนั้น เลยไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ (ขอบอกว่าผมลืมไปหมดแล้วครับ ไม่มีเรื่องอะไรอย่างนี้ ในสมองเลย และไม่ขอรับผิดชอบในคำตอบที่เคยได้ตอบไปด้วยครัย ต้องขอโทษจริง คุณถามวกไปวนมา)
3. กรณีสัญญาเช่าระบุว่ากรณีสัญญาเช่าสิ้นสุดลง (โดยมิใช่ความผิดของผู้ให้เช่า) ผู้เช่าตกลงให้กรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างตกเป็นเป็นของผู้ให้เช่าตามสภาพซึ่งเป็นอยู่ในวันที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลง (BOT) เนื่องจากทางบริษัทฯ ผิดนัดชำระหนี้เป็นระยะเวลาหลายปี เช่นนี้ ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเลือกได้ว่าจะให้ผู้เช่ารื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง นอกจากจะตกลงกันใหม่ (ก็คนกันเองทั้งนั้น จะถามไปใย)
3.1 ถ้าผู้ให้เช่าให้บริษัทฯ รื้อถอน ผู้เช่าจะไม่ต้องเสียภาษีอะไร เพราะหากมีข้อกำหนดให้กระทำเช่นนีั้น
3.2 ถ้าผู้ให้เช่าเลือกที่จะเอาอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ผู้ให้เช่าจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนผู้เช่าจะถือเหมือนข้อที่ 1 ถูกต้องแล้วครับ

หวังว่าคงไม่ถามคำถามทำนองนี้มาอีกนะครับ สงสารผมเถอะนะครับ
ตอบเมื่อ 30 ก.ค. 2560  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ