ค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการ
ถามวันที่ 14 มิ.ย. 2560 . ถามโดย plamukwan . เข้าชม 35 ครั้ง
ค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการ
ถามวันที่ 14 มิ.ย. 2560 . ถามโดย plamukwan . เข้าชม 35 ครั้ง
สวัสดีค่ะอาจารย์
นกรบกวนสอบถามเกี่ยวกับเรื่องค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการค่ะ คือวันที่เริ่มสัญญาประกันภัย 1 มิถุนายน 2560 วันที่ครบกำหนดสัญญาประกันภัยคือ 1 มิถุนายน 2575 จำนวนเงินเอาประกันภัย 14,895,363 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 2,000,000 บาท มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 771,957.13 บาท
ซึ่งบริษัทออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กรรมการ อยากทราบว่าเวลาบันทึกบัญชีต้องบันทึ่กรับรู้ค่าใช้จ่ายของปี 2560 จำนวน 7 เดือน และค่าใช้จ่ายของปี 2561 อีก 5 เดือน ถูกต้องหรือไม่คะ
ปี 2560 เดบิต ค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการ 1,166,666.69
เดบิต ค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการจ่ายล่วงหน้า 833,333.31
เดบิต ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ 771,957.13
เครดิต ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 771,957.13
เครดิต เงินฝากธนาคาร 2,000,000.-
ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
นก
นกรบกวนสอบถามเกี่ยวกับเรื่องค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการค่ะ คือวันที่เริ่มสัญญาประกันภัย 1 มิถุนายน 2560 วันที่ครบกำหนดสัญญาประกันภัยคือ 1 มิถุนายน 2575 จำนวนเงินเอาประกันภัย 14,895,363 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 2,000,000 บาท มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 771,957.13 บาท
ซึ่งบริษัทออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กรรมการ อยากทราบว่าเวลาบันทึกบัญชีต้องบันทึ่กรับรู้ค่าใช้จ่ายของปี 2560 จำนวน 7 เดือน และค่าใช้จ่ายของปี 2561 อีก 5 เดือน ถูกต้องหรือไม่คะ
ปี 2560 เดบิต ค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการ 1,166,666.69
เดบิต ค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการจ่ายล่วงหน้า 833,333.31
เดบิต ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ 771,957.13
เครดิต ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 771,957.13
เครดิต เงินฝากธนาคาร 2,000,000.-
ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
นก
1 คำตอบ
เกี่ยวกับค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการ ซึ่งวันที่เริ่มสัญญาประกันชีวิต คือ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 วันที่ครบกำหนดสัญญาประกันชีวิต คือวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2575 จำนวนเงินเอาประกันภัย 14,895,363 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 2,000,000 บาท มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 771,957.13 บาท นั้น
โดยความเห็นส่วนตัว เห็นว่า การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่กรรมการ จำนวน 2 ล้านบาท และบริษัทฯ ตกลงออกภาษีเงินได้บุคคธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายอีกเป็นจำนวน 771,957.13 บาท นั้น เป็นการตัดขาดจากบริษัทฯ โดยสิ้นเชิง เช่นเดียวกับการจ่ายค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารทั่วไป จึงให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 ทั้งจำนวน
ให้บันทึกรายการบัญชีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 ดังนี้
เดบิต ค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการ....2,000,000.00
........ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ .........771,957.13
....เครดิต ภาษีหัก ณ ที่จ่าย...................................771,957.13
..............เงินฝากธนาคาร..................................2,000,000.00
โดยความเห็นส่วนตัว เห็นว่า การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่กรรมการ จำนวน 2 ล้านบาท และบริษัทฯ ตกลงออกภาษีเงินได้บุคคธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายอีกเป็นจำนวน 771,957.13 บาท นั้น เป็นการตัดขาดจากบริษัทฯ โดยสิ้นเชิง เช่นเดียวกับการจ่ายค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารทั่วไป จึงให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 ทั้งจำนวน
ให้บันทึกรายการบัญชีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 ดังนี้
เดบิต ค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการ....2,000,000.00
........ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ .........771,957.13
....เครดิต ภาษีหัก ณ ที่จ่าย...................................771,957.13
..............เงินฝากธนาคาร..................................2,000,000.00
ตอบเมื่อ 25 มิ.ย. 2560 . ตอบโดย อจ.สุเทพ