การติดอากรสัญญาจ้างแรงงาน(SUB Contract)
ถามวันที่ 11 ก.ค. 2559 . ถามโดย jat_acc . เข้าชม 86 ครั้ง
การติดอากรสัญญาจ้างแรงงาน(SUB Contract)
ถามวันที่ 11 ก.ค. 2559 . ถามโดย jat_acc . เข้าชม 86 ครั้ง
บริษัทประกอบกิจการเป็นผู้จัดหาบุคคลต่างชาติ(พม่า ลาว กัมพูชา)เพื่อส่งให้กับผู้ว่าจ้างตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ทำงานตามสั่งของผู้ว่าจ้าง โดยทางบริษัทได้จัดทำใบอนุญาติทำงานถูกต้องและได้เป็นนายจ้างของพนักงานดังกล่าว การจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆเป็นหน้าที่ของบริษัท โดยบริษัทได้รับค่าตอบแทนจากผู้ว่าจ้างร้อยละ15 ของค่าจ่้างที่ลูกจ้างได้รับจากผู้ว่าจ้าง(จากค่าแรงขั้นต่ำ300บาท) ซึ่งบริษัทได้ออกใบกำกับภาษีและบวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีก7% เช่นค่าจ้างทั้งหมดที่จะวางบิลเรียกเก็บเงิน 10,000 ค่าตอบแทนบริษั1,500 (15%)รวม 11,500*7%รวมเป็น 12,805 บาท ซึ่งในสัญญายังไม่ทราบจำนวนเงินค่าตอบแทน ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกจ้างที่นายจ้างต้องการและขึ้นอยู่กับจำนวนวันที่ลูกจ้างได้ทำงาน อยากทราบว่าสัญญาจ้างแรงงาน(SUB CONTRACT)นี้ต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่และถ้าต้องติดจำต้องติดเท่าไรอย่างไร ในเมื่อสัญญายังไม่ทราบมูลค่าเลยครับ
1 คำตอบ
เรียน คุณ jat_acc
สัญญาจัดหาแรงงานดังกล่าว ที่บริษัทฯ ได้กระทำกับผู้ว่าจ้าง ในฐานะ Outsource (ผู้จัดหา) ถือเป็นสัญญาจ้างทำของ ที่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามลักษณะตราสารที่ 4 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามอัตราดังนี้
4. จ้างทำของ อัตราอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้
หมายเหตุ
(1) ถ้าในเวลากระทำสัญญาจ้างทำของไม่ทราบจำนวนสินจ้างว่าเป็นราคาใด ให้ประมาณจำนวนสินจ้างตามสมควรแล้วเสียอากรตามจำนวนสินจ้างที่ประมาณนั้น
(2) ถ้ามีการรับเงินสินจ้างเป็นคราว ๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนที่ต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน
(3) เมื่อการรับจ้างทำของได้สิ้นสุดลงแล้ว และปรากฏว่าได้เสียอากรเกินไป ให้ขอคืนตามมาตรา 122 แห่งประมวลรัษฎากร (ภายใน 6 เดือน นับแต่วั้นที่ได้ปิดอากรแสตมป์) ได้
ดังนั้น เมื่บริษัทฯ ยังไม่ทราบจำนวนค่าจ้างที่แท้จริง ให้ประมาณการค่าจ้างตามสมควรแล้วเสียอากรตามจำนวนค่าจ้างที่ประมาณนั้น ต่อมาหากมีการรับเงินค่าจ้างเพิ่มเติมจากที่ประมาณการไว้เป็นคราวๆ ให้บริษัทฯ ปิดอากรแสตมป์ให้ครบตามที่ต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน ซึ่งตามข้อ 5 และข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 153/2558 ได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปิดอากรแสตมป์สำหรับตราสารสัญญาจ้างทำของไว้ดังนี้
"ข้อ 5 ตราสารจ้างทำของที่ต้องเสียอากร หมายถึง เอกสารการจ้างทำของซึ่งผู้รับจ้างตกลงทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเป็นการตอบแทน โดยคู่สัญญาได้ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซึ่งประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ให้สร้างอาคารสำนักงานโดยบริษัท ก จำกัด แจ้งให้บริษัท ข จำกัด ประเมินราคางานเบื้องต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และบริษัท ข จำกัด ทำใบเสนอราคา (Quotation) ให้แก่บริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ต่อมาบริษัท ก จำกัด และบริษัท ข จำกัด ได้ทำสัญญาจ้างและลงลายชื่อทั้งสองฝ่ายในวันที่ 1 เมษายน 2559 บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันที่ได้จัดทำตราสารจ้างทำของ
(2) บริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซ่อมเครื่องจักร โดยบริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างออกใบเสนอราคา (Quotation) ให้บริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และบริษัท ก จำกัดได้ลงนามในใบเสนอราคาฉบับดังกล่าวในวันที่ 1 มีนาคม 2559 บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง จึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่ได้จัดทำตราสารจ้างทำของ
(3) บริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร โดยบริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง ออกใบเสนอราคา (Quotation) ให้บริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 แต่บริษัท ก จำกัด ไม่ได้ลงนามในใบเสนอราคาดังกล่าว ต่อมาบริษัท ก จำกัด ออกใบสั่งจ้าง (Purchase Order) แจ้งให้บริษัท ข จำกัด ทราบในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ใบสั่งจ้างตามใบเสนอราคาเป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกันและก่อให้เกิดตราสารจ้างทำของ บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง จึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 มีนาคม 2559
(4) บริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซ่อมหลังคาอาคารโรงงาน บริษัท ข จำกัด ได้ซ่อมหลังคาอาคารโรงงานตามที่ตกลงแล้วเสร็จในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ต่อมาบริษัท ก จำกัด ออกใบสั่งจ้าง (Purchase Order) ให้แก่บริษัท ข จำกัด ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 และบริษัท ข จำกัดออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) พร้อมแนบใบสั่งจ้างเรียกเก็บเงินจากบริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ใบแจ้งหนี้ตามใบสั่งจ้างเป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกันและก่อให้เกิดตราสารจ้างทำของ บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง จึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 เมษายน 2559
ข้อ 6 ผู้รับจ้างตามข้อ 5 มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือ เศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีไม่ทราบจำนวนสินจ้างในขณะทำสัญญาจ้างทำของว่าเป็นจำนวนเท่าใด ให้ประมาณจำนวนสินจ้างตามสมควร แล้วเสียอากรตามจำนวนสินจ้างที่ประมาณนั้น
กรณีมีการรับเงินสินจ้างเป็นคราวๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนทีต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน
ตัวอย่าง
(1) นาย ก ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ให้ทำการก่อสร้างโรงจอดรถยนต์ ราคาค่าก่อสร้าง 900,000 บาท บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท
(2) บริษัท ก จำกัด ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซึ่งประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างให้ทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานราคาค่าก่อสร้าง 1,100,000 บาท
(3) ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 นาย ก ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ให้ทำการก่อสร้างโรงจอดรถยนต์ ราคาค่าก่อสร้าง 900,000 บาท บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2559 นาย ก และบริษัท ข จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างฉบับดังกล่าวแก้ไขข้อสัญญาโดยเพิ่มค่าก่อสร้างอีกจำนวน 200,000 บาท บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องชำระอากรเพิ่มเติมให้ครบเป็นตัวเงินจากมูลค่า 200,000 บาท ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันจัดทำตราสารบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างทำของ
(4) ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 นาย ก ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ให้ทำการก่อสร้างบ้าน ราคาค่าก่อสร้าง 900,000 บาท บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท
ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2559 นาย ก และบริษัท ข จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างฉบับดังกล่าวให้บริษัท ข จำกัด ทำการก่อสร้างโรงจอดรถยนต์ ราคาค่าก่อสร้าง 200,000 บาท โดยบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาว่าจ้าง บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 200,000 บาท ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันจัดทำตราสารบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างทำของ
(5) บริษัท ก จำกัด ได้ทำสัญญาจ้างนาย ข เป็นนายหน้าจัดหาลูกค้า โดยคิดสินจ้างจากจำนวนลูกค้าที่หาได้ ในอัตราคนละ 10,000 บาท ทำให้ไม่อาจทราบจำนวนสินจ้างในขณะทำสัญญา จึงประมาณสินจ้างตามสมควรไว้จำนวน 500,000 บาท นาย ข ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 500,000 บาท
ต่อมาเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง บริษัท ก จำกัด จ่ายสินจ้างตามผลงานที่นาย ข ทำได้จำนวนรวมทั้งสิ้น 700,000 บาท นาย ข ผู้รับจ้าง มีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 200,000 บาท ที่เพิ่มขึ้นในทันทีที่มีการรับเงิน ..."
สัญญาจัดหาแรงงานดังกล่าว ที่บริษัทฯ ได้กระทำกับผู้ว่าจ้าง ในฐานะ Outsource (ผู้จัดหา) ถือเป็นสัญญาจ้างทำของ ที่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามลักษณะตราสารที่ 4 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามอัตราดังนี้
4. จ้างทำของ อัตราอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้
หมายเหตุ
(1) ถ้าในเวลากระทำสัญญาจ้างทำของไม่ทราบจำนวนสินจ้างว่าเป็นราคาใด ให้ประมาณจำนวนสินจ้างตามสมควรแล้วเสียอากรตามจำนวนสินจ้างที่ประมาณนั้น
(2) ถ้ามีการรับเงินสินจ้างเป็นคราว ๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนที่ต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน
(3) เมื่อการรับจ้างทำของได้สิ้นสุดลงแล้ว และปรากฏว่าได้เสียอากรเกินไป ให้ขอคืนตามมาตรา 122 แห่งประมวลรัษฎากร (ภายใน 6 เดือน นับแต่วั้นที่ได้ปิดอากรแสตมป์) ได้
ดังนั้น เมื่บริษัทฯ ยังไม่ทราบจำนวนค่าจ้างที่แท้จริง ให้ประมาณการค่าจ้างตามสมควรแล้วเสียอากรตามจำนวนค่าจ้างที่ประมาณนั้น ต่อมาหากมีการรับเงินค่าจ้างเพิ่มเติมจากที่ประมาณการไว้เป็นคราวๆ ให้บริษัทฯ ปิดอากรแสตมป์ให้ครบตามที่ต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน ซึ่งตามข้อ 5 และข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 153/2558 ได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปิดอากรแสตมป์สำหรับตราสารสัญญาจ้างทำของไว้ดังนี้
"ข้อ 5 ตราสารจ้างทำของที่ต้องเสียอากร หมายถึง เอกสารการจ้างทำของซึ่งผู้รับจ้างตกลงทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเป็นการตอบแทน โดยคู่สัญญาได้ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซึ่งประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ให้สร้างอาคารสำนักงานโดยบริษัท ก จำกัด แจ้งให้บริษัท ข จำกัด ประเมินราคางานเบื้องต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และบริษัท ข จำกัด ทำใบเสนอราคา (Quotation) ให้แก่บริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ต่อมาบริษัท ก จำกัด และบริษัท ข จำกัด ได้ทำสัญญาจ้างและลงลายชื่อทั้งสองฝ่ายในวันที่ 1 เมษายน 2559 บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันที่ได้จัดทำตราสารจ้างทำของ
(2) บริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซ่อมเครื่องจักร โดยบริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างออกใบเสนอราคา (Quotation) ให้บริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และบริษัท ก จำกัดได้ลงนามในใบเสนอราคาฉบับดังกล่าวในวันที่ 1 มีนาคม 2559 บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง จึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่ได้จัดทำตราสารจ้างทำของ
(3) บริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร โดยบริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง ออกใบเสนอราคา (Quotation) ให้บริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 แต่บริษัท ก จำกัด ไม่ได้ลงนามในใบเสนอราคาดังกล่าว ต่อมาบริษัท ก จำกัด ออกใบสั่งจ้าง (Purchase Order) แจ้งให้บริษัท ข จำกัด ทราบในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ใบสั่งจ้างตามใบเสนอราคาเป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกันและก่อให้เกิดตราสารจ้างทำของ บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง จึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 มีนาคม 2559
(4) บริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซ่อมหลังคาอาคารโรงงาน บริษัท ข จำกัด ได้ซ่อมหลังคาอาคารโรงงานตามที่ตกลงแล้วเสร็จในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ต่อมาบริษัท ก จำกัด ออกใบสั่งจ้าง (Purchase Order) ให้แก่บริษัท ข จำกัด ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 และบริษัท ข จำกัดออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) พร้อมแนบใบสั่งจ้างเรียกเก็บเงินจากบริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ใบแจ้งหนี้ตามใบสั่งจ้างเป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกันและก่อให้เกิดตราสารจ้างทำของ บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง จึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 เมษายน 2559
ข้อ 6 ผู้รับจ้างตามข้อ 5 มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือ เศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีไม่ทราบจำนวนสินจ้างในขณะทำสัญญาจ้างทำของว่าเป็นจำนวนเท่าใด ให้ประมาณจำนวนสินจ้างตามสมควร แล้วเสียอากรตามจำนวนสินจ้างที่ประมาณนั้น
กรณีมีการรับเงินสินจ้างเป็นคราวๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนทีต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน
ตัวอย่าง
(1) นาย ก ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ให้ทำการก่อสร้างโรงจอดรถยนต์ ราคาค่าก่อสร้าง 900,000 บาท บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท
(2) บริษัท ก จำกัด ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซึ่งประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างให้ทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานราคาค่าก่อสร้าง 1,100,000 บาท
(3) ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 นาย ก ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ให้ทำการก่อสร้างโรงจอดรถยนต์ ราคาค่าก่อสร้าง 900,000 บาท บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2559 นาย ก และบริษัท ข จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างฉบับดังกล่าวแก้ไขข้อสัญญาโดยเพิ่มค่าก่อสร้างอีกจำนวน 200,000 บาท บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องชำระอากรเพิ่มเติมให้ครบเป็นตัวเงินจากมูลค่า 200,000 บาท ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันจัดทำตราสารบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างทำของ
(4) ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 นาย ก ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ให้ทำการก่อสร้างบ้าน ราคาค่าก่อสร้าง 900,000 บาท บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท
ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2559 นาย ก และบริษัท ข จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างฉบับดังกล่าวให้บริษัท ข จำกัด ทำการก่อสร้างโรงจอดรถยนต์ ราคาค่าก่อสร้าง 200,000 บาท โดยบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาว่าจ้าง บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 200,000 บาท ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันจัดทำตราสารบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างทำของ
(5) บริษัท ก จำกัด ได้ทำสัญญาจ้างนาย ข เป็นนายหน้าจัดหาลูกค้า โดยคิดสินจ้างจากจำนวนลูกค้าที่หาได้ ในอัตราคนละ 10,000 บาท ทำให้ไม่อาจทราบจำนวนสินจ้างในขณะทำสัญญา จึงประมาณสินจ้างตามสมควรไว้จำนวน 500,000 บาท นาย ข ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 500,000 บาท
ต่อมาเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง บริษัท ก จำกัด จ่ายสินจ้างตามผลงานที่นาย ข ทำได้จำนวนรวมทั้งสิ้น 700,000 บาท นาย ข ผู้รับจ้าง มีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 200,000 บาท ที่เพิ่มขึ้นในทันทีที่มีการรับเงิน ..."
ตอบเมื่อ 11 ก.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ