การเปลี่ยนแปลงอัตราคิดค่าเสื่อมราคา
ถามวันที่ 18 เม.ย. 2560 . ถามโดย khunjui14 . เข้าชม 14 ครั้ง
การเปลี่ยนแปลงอัตราคิดค่าเสื่อมราคา
ถามวันที่ 18 เม.ย. 2560 . ถามโดย khunjui14 . เข้าชม 14 ครั้ง
เรียนท่าน อาจารย์สุเทพ
ผมขออนุญาตคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการคิดค่าเสื่อมราคา กรณีบริษัทเป็นโรงงานอุตสาหกรรม พึ่งเปิดดำเนินการในปี 2558 ทางพนักงานบัญชีบันทึกตัดค่าเสื่อมราคาเครื่องมือเครื่องใช้ในโรงงานในอัตรา 20 % ทำให้บริษัทมีผลขาดทุนในปีแรก ๆ เป็นจำนวนมาก หากบริษัท มีความประสงค์จะตัดค่าเสื่อมราคาในอัตรา ปีละ 10 % ตั้งแต่ต้น โดยการปรับปรงงบการเงินในปี 2559 ค่าเสื่อมราคาที่ปรับปรุง เอาไปหักออกจากขาดทุนสะสม ผมมีคำถามจะเรียนถามดังนี้ครับ
1. บริษัท สามารถดำเนินการได้หรือไม่
2. และต้องยื่นขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดค่าเสื่อมต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือไม่
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
ผมขออนุญาตคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการคิดค่าเสื่อมราคา กรณีบริษัทเป็นโรงงานอุตสาหกรรม พึ่งเปิดดำเนินการในปี 2558 ทางพนักงานบัญชีบันทึกตัดค่าเสื่อมราคาเครื่องมือเครื่องใช้ในโรงงานในอัตรา 20 % ทำให้บริษัทมีผลขาดทุนในปีแรก ๆ เป็นจำนวนมาก หากบริษัท มีความประสงค์จะตัดค่าเสื่อมราคาในอัตรา ปีละ 10 % ตั้งแต่ต้น โดยการปรับปรงงบการเงินในปี 2559 ค่าเสื่อมราคาที่ปรับปรุง เอาไปหักออกจากขาดทุนสะสม ผมมีคำถามจะเรียนถามดังนี้ครับ
1. บริษัท สามารถดำเนินการได้หรือไม่
2. และต้องยื่นขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดค่าเสื่อมต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือไม่
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
1 คำตอบ
ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ซึ่งมีผลใช้บังคับในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป ดังนี้
"มาตรา 3 ในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้เลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป และอัตราที่จะหักอย่างใด แล้วให้ใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป และอัตราที่จะหักอย่างใด แล้วให้ใช้วิธีการทางบัญชีและอัตรานั้นตลอดไป เว้นแต่ จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายและให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัตินั้น"
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา กรณีบริษัทฯ เป็นโรงงานอุตสาหกรรม พึ่งเปิดดำเนินการในปี 2558 ทางพนักงานบัญชีบันทึกตัดค่าเสื่อมราคาเครื่องมือเครื่องใช้ในโรงงานในอัตรา 20 % ทำให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนในปีแรก ๆ เป็นจำนวนมาก หากบริษัทฯ มีความประสงค์จะตัดค่าเสื่อมราคาในอัตรา ปีละ 10% ตั้งแต่ต้น โดยการปรับปรงงบการเงินในปี 2559 ค่าเสื่อมราคาที่ปรับปรุง เอาไปหักออกจากขาดทุนสะสม
1. บริษัท ไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่แจ้งไป
2. เพราะบริษัทฯ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคิดค่าเสื่อมต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ดังกล่าว
"มาตรา 3 ในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้เลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป และอัตราที่จะหักอย่างใด แล้วให้ใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป และอัตราที่จะหักอย่างใด แล้วให้ใช้วิธีการทางบัญชีและอัตรานั้นตลอดไป เว้นแต่ จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายและให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัตินั้น"
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา กรณีบริษัทฯ เป็นโรงงานอุตสาหกรรม พึ่งเปิดดำเนินการในปี 2558 ทางพนักงานบัญชีบันทึกตัดค่าเสื่อมราคาเครื่องมือเครื่องใช้ในโรงงานในอัตรา 20 % ทำให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนในปีแรก ๆ เป็นจำนวนมาก หากบริษัทฯ มีความประสงค์จะตัดค่าเสื่อมราคาในอัตรา ปีละ 10% ตั้งแต่ต้น โดยการปรับปรงงบการเงินในปี 2559 ค่าเสื่อมราคาที่ปรับปรุง เอาไปหักออกจากขาดทุนสะสม
1. บริษัท ไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่แจ้งไป
2. เพราะบริษัทฯ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคิดค่าเสื่อมต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ดังกล่าว
ตอบเมื่อ 12 พ.ค. 2560 . ตอบโดย อจ.สุเทพ