การจ่ายเงินปันผล
ถามวันที่ 10 ก.ค. 2559 . ถามโดย boonruk888 . เข้าชม 132 ครั้ง
การจ่ายเงินปันผล
ถามวันที่ 10 ก.ค. 2559 . ถามโดย boonruk888 . เข้าชม 132 ครั้ง
กรณีกิจการตั้งบริษัทมายาวนานได้ 30ปี มีผลประกอบการทั้งกำไรและขาดทุน ในงบบัญชีการเงินปีที่30 กิจการเห็นว่า งบแสดงฐานะการเงินมีกำไรสะสม และกิจการก็มีเงินสดในมืออย่างเพียงพอ จึงจะประกาศจ่ายเงินปันผล
ในหลัก ป.พ.พ.กิจการสามารถนำกำไรสะสมทางบัญชีที่ได้เสียภาษีแล้ว ไปจ่ายปันผลได้ โดยต้องไล่ลำดับกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรกไปจนครบจำนวนเงินปันผลที่จะจ่าย
ปัญหามีอยู่ว่า เนื่องจากกิจการมีผลประกอบมายาวนานถึง 30 ปี ทำให้ได้ทำลายเอกสารทางบัญชีและภ.ง.ด.50 ของอดีตไปหมดสิ้นแล้ว คงเหลือเอกสารทางบัญชีและภ.ง.ด.50 ของ 10 ปีย้อนหลังเท่านั้น หากจะต้องคำนวณกำไรสุทธิหลังภาษีตั้งแต่บาทแรก จะทำได้อย่างไร
หากกิจการจะใช้กำไรสะสมที่เสียภาษีแล้วตั้งแต่ปีที่ 21 ไปจ่ายปันผล โดยตัดตอนประหนึ่งเป็นปีทีมีกำไรสุทธิครั้งแรก จะถือว่ากระทำผิด ป.พ.พ.หรือไม่ครับ
ในหลัก ป.พ.พ.กิจการสามารถนำกำไรสะสมทางบัญชีที่ได้เสียภาษีแล้ว ไปจ่ายปันผลได้ โดยต้องไล่ลำดับกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรกไปจนครบจำนวนเงินปันผลที่จะจ่าย
ปัญหามีอยู่ว่า เนื่องจากกิจการมีผลประกอบมายาวนานถึง 30 ปี ทำให้ได้ทำลายเอกสารทางบัญชีและภ.ง.ด.50 ของอดีตไปหมดสิ้นแล้ว คงเหลือเอกสารทางบัญชีและภ.ง.ด.50 ของ 10 ปีย้อนหลังเท่านั้น หากจะต้องคำนวณกำไรสุทธิหลังภาษีตั้งแต่บาทแรก จะทำได้อย่างไร
หากกิจการจะใช้กำไรสะสมที่เสียภาษีแล้วตั้งแต่ปีที่ 21 ไปจ่ายปันผล โดยตัดตอนประหนึ่งเป็นปีทีมีกำไรสุทธิครั้งแรก จะถือว่ากระทำผิด ป.พ.พ.หรือไม่ครับ
1 คำตอบ
เรียน คุณ boonruk888
การจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ นั้น กำหนดให้จ่ายจากกำไรสะสมที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน โดยไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องจ่ายจากกำไรตามลำคับปีที่เกิดกำไรนั้น ดังบริษัทฯ จะเลือกจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิจากผลการปะกอบการของรอบระยะเวลาบัญชีปีใดก็ได้ แต่ต้องตั้งสำรองในอัตรา 5% ของกำไรสุทธิทางบัญชีของรอบระยะเวลาบัญชีที่มี่กำไร จนกว่าเงินสำรองตามกฎหมายนั้น จะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของปีปัจจุบัน
ดังนั้น
1. กรณีบริษัทฯ จะเลือกจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมที่เสียภาษีแล้วตั้งแต่ปีที่ 21 ถึงปีที่ 30 โดยตัดตอนประหนึ่งเป็นปีทีมีกำไรสุทธิครั้งแรก ก็ไม่ถือว่ากระทำผิด ป.พ.พ.แต่อย่างใดไม่
2. สำหรับกำไรสะสมของปีก่อนหน้านั้น ในส่วนที่เหลือ ซึ่งหักกลบกับขาดทุนสะสมไปบ้าง เมื่อไม่เป็นที่แน่ชัด ก็ไม่ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ว่า บริษัทฯ ได้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลไปในอัตราเท่าใด เพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้ไม่ต้องนำไปใช้เป็นเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัฎากร เท่ากับบังคับให้ผู้ถือหุ้นเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ในอัตรา 10% ของเงินปันผลตามมาตรา 48 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
3. เป็นอุทาหรณ์ว่า หากยังไม่จ่ายปันผล ควรเก็บเอกสารหลักฐานไว้ เพื่อประกอบข้อเท็จจริงในการจ่ายเงินปันผล การแถลงให้ผู้ถือหุ้น และการใช้เครดิตภาษีของผู้ถือหุ้น
การจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ นั้น กำหนดให้จ่ายจากกำไรสะสมที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน โดยไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องจ่ายจากกำไรตามลำคับปีที่เกิดกำไรนั้น ดังบริษัทฯ จะเลือกจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิจากผลการปะกอบการของรอบระยะเวลาบัญชีปีใดก็ได้ แต่ต้องตั้งสำรองในอัตรา 5% ของกำไรสุทธิทางบัญชีของรอบระยะเวลาบัญชีที่มี่กำไร จนกว่าเงินสำรองตามกฎหมายนั้น จะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของปีปัจจุบัน
ดังนั้น
1. กรณีบริษัทฯ จะเลือกจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมที่เสียภาษีแล้วตั้งแต่ปีที่ 21 ถึงปีที่ 30 โดยตัดตอนประหนึ่งเป็นปีทีมีกำไรสุทธิครั้งแรก ก็ไม่ถือว่ากระทำผิด ป.พ.พ.แต่อย่างใดไม่
2. สำหรับกำไรสะสมของปีก่อนหน้านั้น ในส่วนที่เหลือ ซึ่งหักกลบกับขาดทุนสะสมไปบ้าง เมื่อไม่เป็นที่แน่ชัด ก็ไม่ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ว่า บริษัทฯ ได้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลไปในอัตราเท่าใด เพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้ไม่ต้องนำไปใช้เป็นเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัฎากร เท่ากับบังคับให้ผู้ถือหุ้นเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ในอัตรา 10% ของเงินปันผลตามมาตรา 48 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
3. เป็นอุทาหรณ์ว่า หากยังไม่จ่ายปันผล ควรเก็บเอกสารหลักฐานไว้ เพื่อประกอบข้อเท็จจริงในการจ่ายเงินปันผล การแถลงให้ผู้ถือหุ้น และการใช้เครดิตภาษีของผู้ถือหุ้น
ตอบเมื่อ 11 ก.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ