การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางของกรรมการ
ถามวันที่ 25 ต.ค. 2559 . ถามโดย Warin . เข้าชม 35 ครั้ง
การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางของกรรมการ
ถามวันที่ 25 ต.ค. 2559 . ถามโดย Warin . เข้าชม 35 ครั้ง
ข้อมูล : บริษัท ก. จำกัด เป็นบริษัทที่จดจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย โดยมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นชาวต่างชาติทั้งหมด และมีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามจำนวน 2 คน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ 1 คน และเป็นคนไทย 1 คน บริษัท ก. จำกัดเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นฐานการผลิตและขายสินค้าให้กับทางลูกค้าแถบเอเชีย โดยมีบริษัทแม่ที่ให้การสนับสนุนอยู่ที่ต่างประเทศ และกรรมการทั้ง 2 คนเป็นพนักงานของบริษัทแม่ที่อยู่ในต่างประเทศ โดยกรรมการชาวต่างชาติอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศและกรรมการที่เป็นคนไทยอาศัยอยู่ในประเทศไทย
กรรมการทั้ง 2 คน เป็นผู้ดูแลในเรื่องผลการดำเนินงานและติดต่อหาลูกค้าให้กับบริษัท ก. ทั้งในประเทศไทยและประเทศแถบเอเชีย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อติดต่อและหาลูกค้าให้แก่บริษัท ก.
ข้อหารือ
1. ค่าใช้จ่ายค่าที่พัก รวมถึงค่าเดินทางทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศของกรรมการทั้ง 2 คน สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่
2. ภาษีซื้อค่าที่พักในประเทศไทยของกรรมการทั้ง 2 คน สามารถขอคืนเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่
3. กรณีที่กรรมการมีการเดินทางในต่างประเทศ และมีค่าใช้จ่ายค่าที่พักและค่าเดินทางเกิดขึ้น กรรมการชาวต่างชาติได้เบิกค่าใช้จ่ายจากบริษัทแม่ที่อยู่ในต่างประเทศ และบริษัทแม่ได้เรียกเก็บเงินทดรองจ่ายจากบริษัท ก. เงินทดรองจ่ายนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัท ก. ได้หรือไม่
4. เพื่อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของสรรพากร เอกสารประกอบการเบิกเงินทดรองจ่ายจากบริษัทแม่ นอกจากใบแจ้งหนี้แล้ว จำเป็นต้องมีเอกสารอะไรประกอบบ้าง
5. กรณีบริษัทแม่เรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าเดินทางของกรรมการจากบริษัท ก. บริษัท ก. ไม่จำเป็นต้องหัก ภาษี หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากรใช่หรือไม่
ขอแสดงความนับถือ
กรรมการทั้ง 2 คน เป็นผู้ดูแลในเรื่องผลการดำเนินงานและติดต่อหาลูกค้าให้กับบริษัท ก. ทั้งในประเทศไทยและประเทศแถบเอเชีย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อติดต่อและหาลูกค้าให้แก่บริษัท ก.
ข้อหารือ
1. ค่าใช้จ่ายค่าที่พัก รวมถึงค่าเดินทางทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศของกรรมการทั้ง 2 คน สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่
2. ภาษีซื้อค่าที่พักในประเทศไทยของกรรมการทั้ง 2 คน สามารถขอคืนเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่
3. กรณีที่กรรมการมีการเดินทางในต่างประเทศ และมีค่าใช้จ่ายค่าที่พักและค่าเดินทางเกิดขึ้น กรรมการชาวต่างชาติได้เบิกค่าใช้จ่ายจากบริษัทแม่ที่อยู่ในต่างประเทศ และบริษัทแม่ได้เรียกเก็บเงินทดรองจ่ายจากบริษัท ก. เงินทดรองจ่ายนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัท ก. ได้หรือไม่
4. เพื่อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของสรรพากร เอกสารประกอบการเบิกเงินทดรองจ่ายจากบริษัทแม่ นอกจากใบแจ้งหนี้แล้ว จำเป็นต้องมีเอกสารอะไรประกอบบ้าง
5. กรณีบริษัทแม่เรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าเดินทางของกรรมการจากบริษัท ก. บริษัท ก. ไม่จำเป็นต้องหัก ภาษี หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากรใช่หรือไม่
ขอแสดงความนับถือ
2 คำตอบ
เรียน คุณ warin.n .
กรณีบริษัท ก. จำกัด เป็นบริษัทที่จดจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย เพื่อเป็นฐานการผลิตและขายสินค้าให้กับทางลูกค้าแถบเอเชีย โดยมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นชาวต่างชาติทั้งหมด และมีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามจำนวน 2 คน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ 1 คน และเป็นคนไทย 1 คน บริษัท ก. จำกัด มีบริษัทแม่ที่ให้การสนับสนุนอยู่ที่ต่างประเทศ และกรรมการทั้ง 2 คนเป็นพนักงานของบริษัทแม่ที่อยู่ในต่างประเทศ โดยกรรมการชาวต่างชาติอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศและกรรมการที่เป็นคนไทยอาศัยอยู่ในประเทศไทย
กรรมการทั้ง 2 คน เป็นผู้ดูแลในเรื่องผลการดำเนินงานและติดต่อหาลูกค้าให้กับบริษัท ก. ทั้งในประเทศไทยและประเทศแถบเอเชีย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อติดต่อและหาลูกค้าให้แก่บริษัท ก.
1. ค่าใช้จ่ายค่าที่พัก รวมถึงค่าเดินทางทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศของกรรมการทั้ง 2 คน สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
อย่างไรก็ตาม ตามข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 23/2533 ได้วางแนวทางปฏิบัติสำหรับการกำหนดมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
"ข้อ 1 กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ให้กำหนดมูลค่าจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของลูกจ้าง ดังต่อไปนี้
(1) กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 20 ของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี
(2) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างหลังเดียวอยู่รวมกันโดยไม่เสียค่าเช่า ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มตามเกณฑ์ใน (1) เป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างแต่ละคน
(3) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างหลังเดียวอยู่รวมกันโดยไม่เสียค่าเช่าตาม (1) ไม่ว่าจะเป็นการโต้แย้งในชั้นการตรวจสอบไต่สวนหรือในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม ให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าเช่าของบ้านนั้น ๆ ว่าสมควรให้เช่าได้ตามปกติปีละเท่าใด และให้ทำบันทึกการประเมินไว้เป็นหลักฐานแล้วรายงานขอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมสรรพากร และใหถือว่าค่าเช่าบ้านที่ได้ทำการประเมินนี้เป็นเงินได้ของลูกจ้างที่จะนำมาทำการประเมินหรือพิจารณาชี้ขาดของเจ้าหน้าที่ผุ้พิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี และให้ถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินได้ในปีภาษีต่อไปด้วย เว้นแต่มีข้อเท็จจริงหรือสภาพของบ้านเปลี่ยนแปลงไป
(4) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างตาม (3) หลังเดียวอยู่รวมกัน ให้เฉลี่ยค่าเช่าบ้านที่ประเมินได้ตาม (3) เป็นเงินได้ของลูกจ้างแต่ละคนตามส่วนของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี และให้ถือว่าค่าเช่าบ้านที่ได้ทำการประเมินนี้เป็นเงินได้ของลูกจ้างที่จะนำมาทำการประเมินหรือพิจารณาชี้ขาดของเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี และให้ถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินได้ในปีภาษีต่อไปด้วย เว้นแต่มีข้อเท็จจริงหรือสภาพของบ้านเปลี่ยนแปลงไป
(5) กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่าและเป็นบ้านที่นายจ้างได้ไปเช่าจากบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินตามค่าเช่าที่นายจ้างได้จ่ายไปจริง
(6) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างตาม (5) อยู่รวมกัน ให้เฉลี่ยค่าเช่าบ้านที่นายจ้างได้จ่ายไปจริงตาม (5) เป็นเงินได้ของลูกจ้างแต่ละคนตามส่วนของเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี
ข้อ 2 ในกรณีนายจ้างได้เช่าบ้านให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับบริหาร โดยนายจ้างเป็นผู้ออกค่าเช่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าคนสวน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในบ้าน แม้ต่อมาพนักงานผู้นั้นหรือนายจ้างจะได้ใช้บ้านดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นสถานที่ประชุมและปรึกษาหารือกิจการของนายจ้างตลอดจนการจัดงานเลี้ยงรับรองลูกค้าสำคัญ ๆ ของนายจ้างเป็นครั้งคราว ถือได้ว่าค่าเช่าบ้านและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นายจ้างจ่ายไปเป็นประโยชน์ที่พนักงานผู้นั้นได้รับทั้งสิ้น พนักงานผู้นั้นจะต้องนำประโยชน์ที่ได้รับทั้งหมดมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย"
2. ภาษีซื้อค่าที่พักในประเทศไทยของกรรมการทั้ง 2 คน สามารถขอคืนเป็นภาษีซื้อได้ เพราะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ
3. กรณีที่กรรมการมีการเดินทางในต่างประเทศ และมีค่าใช้จ่ายค่าที่พักและค่าเดินทางเกิดขึ้น กรรมการชาวต่างชาติได้เบิกค่าใช้จ่ายจากบริษัทแม่ที่อยู่ในต่างประเทศ และบริษัทแม่ได้เรียกเก็บเงินทดรองจ่ายจากบริษัท ก. เงินทดรองจ่ายนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัท ก. ได้ เช่นกัน
4. เพื่อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของสรรพากร เอกสารประกอบการเบิกเงินทดรองจ่ายจากบริษัทแม่ นอกจากใบแจ้งหนี้แล้ว จำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการจ่ายเงิน คือ ใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยผู้รับเงิน และระบุชื่อบริษัท ก เป็นผู้จ่ายเงิน รวมทั้งเหตุผลความจำเป็นในการจ่ายรายจ่ายรายดังกล่าว
5. กรณีบริษัทแม่เรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าเดินทางของกรรมการจากบริษัท ก. บริษัท ก. ไม่จำเป็นต้องหัก ภาษี หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากร ถูกต้องแล้ว เพราะเป็นการจ่ายคืนเงินทดรองจ่าย
กรณีบริษัท ก. จำกัด เป็นบริษัทที่จดจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย เพื่อเป็นฐานการผลิตและขายสินค้าให้กับทางลูกค้าแถบเอเชีย โดยมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นชาวต่างชาติทั้งหมด และมีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามจำนวน 2 คน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ 1 คน และเป็นคนไทย 1 คน บริษัท ก. จำกัด มีบริษัทแม่ที่ให้การสนับสนุนอยู่ที่ต่างประเทศ และกรรมการทั้ง 2 คนเป็นพนักงานของบริษัทแม่ที่อยู่ในต่างประเทศ โดยกรรมการชาวต่างชาติอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศและกรรมการที่เป็นคนไทยอาศัยอยู่ในประเทศไทย
กรรมการทั้ง 2 คน เป็นผู้ดูแลในเรื่องผลการดำเนินงานและติดต่อหาลูกค้าให้กับบริษัท ก. ทั้งในประเทศไทยและประเทศแถบเอเชีย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อติดต่อและหาลูกค้าให้แก่บริษัท ก.
1. ค่าใช้จ่ายค่าที่พัก รวมถึงค่าเดินทางทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศของกรรมการทั้ง 2 คน สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
อย่างไรก็ตาม ตามข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 23/2533 ได้วางแนวทางปฏิบัติสำหรับการกำหนดมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
"ข้อ 1 กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ให้กำหนดมูลค่าจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของลูกจ้าง ดังต่อไปนี้
(1) กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 20 ของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี
(2) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างหลังเดียวอยู่รวมกันโดยไม่เสียค่าเช่า ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มตามเกณฑ์ใน (1) เป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างแต่ละคน
(3) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างหลังเดียวอยู่รวมกันโดยไม่เสียค่าเช่าตาม (1) ไม่ว่าจะเป็นการโต้แย้งในชั้นการตรวจสอบไต่สวนหรือในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม ให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าเช่าของบ้านนั้น ๆ ว่าสมควรให้เช่าได้ตามปกติปีละเท่าใด และให้ทำบันทึกการประเมินไว้เป็นหลักฐานแล้วรายงานขอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมสรรพากร และใหถือว่าค่าเช่าบ้านที่ได้ทำการประเมินนี้เป็นเงินได้ของลูกจ้างที่จะนำมาทำการประเมินหรือพิจารณาชี้ขาดของเจ้าหน้าที่ผุ้พิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี และให้ถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินได้ในปีภาษีต่อไปด้วย เว้นแต่มีข้อเท็จจริงหรือสภาพของบ้านเปลี่ยนแปลงไป
(4) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างตาม (3) หลังเดียวอยู่รวมกัน ให้เฉลี่ยค่าเช่าบ้านที่ประเมินได้ตาม (3) เป็นเงินได้ของลูกจ้างแต่ละคนตามส่วนของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี และให้ถือว่าค่าเช่าบ้านที่ได้ทำการประเมินนี้เป็นเงินได้ของลูกจ้างที่จะนำมาทำการประเมินหรือพิจารณาชี้ขาดของเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี และให้ถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินได้ในปีภาษีต่อไปด้วย เว้นแต่มีข้อเท็จจริงหรือสภาพของบ้านเปลี่ยนแปลงไป
(5) กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่าและเป็นบ้านที่นายจ้างได้ไปเช่าจากบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินตามค่าเช่าที่นายจ้างได้จ่ายไปจริง
(6) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างตาม (5) อยู่รวมกัน ให้เฉลี่ยค่าเช่าบ้านที่นายจ้างได้จ่ายไปจริงตาม (5) เป็นเงินได้ของลูกจ้างแต่ละคนตามส่วนของเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี
ข้อ 2 ในกรณีนายจ้างได้เช่าบ้านให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับบริหาร โดยนายจ้างเป็นผู้ออกค่าเช่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าคนสวน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในบ้าน แม้ต่อมาพนักงานผู้นั้นหรือนายจ้างจะได้ใช้บ้านดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นสถานที่ประชุมและปรึกษาหารือกิจการของนายจ้างตลอดจนการจัดงานเลี้ยงรับรองลูกค้าสำคัญ ๆ ของนายจ้างเป็นครั้งคราว ถือได้ว่าค่าเช่าบ้านและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นายจ้างจ่ายไปเป็นประโยชน์ที่พนักงานผู้นั้นได้รับทั้งสิ้น พนักงานผู้นั้นจะต้องนำประโยชน์ที่ได้รับทั้งหมดมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย"
2. ภาษีซื้อค่าที่พักในประเทศไทยของกรรมการทั้ง 2 คน สามารถขอคืนเป็นภาษีซื้อได้ เพราะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ
3. กรณีที่กรรมการมีการเดินทางในต่างประเทศ และมีค่าใช้จ่ายค่าที่พักและค่าเดินทางเกิดขึ้น กรรมการชาวต่างชาติได้เบิกค่าใช้จ่ายจากบริษัทแม่ที่อยู่ในต่างประเทศ และบริษัทแม่ได้เรียกเก็บเงินทดรองจ่ายจากบริษัท ก. เงินทดรองจ่ายนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัท ก. ได้ เช่นกัน
4. เพื่อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของสรรพากร เอกสารประกอบการเบิกเงินทดรองจ่ายจากบริษัทแม่ นอกจากใบแจ้งหนี้แล้ว จำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการจ่ายเงิน คือ ใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยผู้รับเงิน และระบุชื่อบริษัท ก เป็นผู้จ่ายเงิน รวมทั้งเหตุผลความจำเป็นในการจ่ายรายจ่ายรายดังกล่าว
5. กรณีบริษัทแม่เรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าเดินทางของกรรมการจากบริษัท ก. บริษัท ก. ไม่จำเป็นต้องหัก ภาษี หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากร ถูกต้องแล้ว เพราะเป็นการจ่ายคืนเงินทดรองจ่าย
ตอบเมื่อ 7 พ.ย. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ
ขอบคุณค่ะอาจารย์
ขอสอบถามเพิ่มเติมว่า
1. หากค่าที่พัก เป็นการจ่ายค่าโรงแรมเป็นครั้งคราว (ครั้งละ 5-7 วัน) กรณีนี้ไม่ต้องถือเป็นเงินได้ของกรรมการ เพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดาใช่หรือไม่
2. สรรพากรมีการกำหนดอัตราสูงสุดค่าที่พักต่อคืนของพนักงาน ที่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีหรือไม่
3. หากสรรพากรมีการกำหนดอัตราค่าที่พักตามข้อ 2 และบริษัทมีการจ่ายค่าที่พักเกินอัตราที่สรรพากรกำหนด ภาษีซื้อไม่สามารถขอคืนได้ทั้งหมดใช่หรือไม่
ขอบคุณและขอแสดงความนับถือค่ะ
ขอสอบถามเพิ่มเติมว่า
1. หากค่าที่พัก เป็นการจ่ายค่าโรงแรมเป็นครั้งคราว (ครั้งละ 5-7 วัน) กรณีนี้ไม่ต้องถือเป็นเงินได้ของกรรมการ เพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดาใช่หรือไม่
2. สรรพากรมีการกำหนดอัตราสูงสุดค่าที่พักต่อคืนของพนักงาน ที่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีหรือไม่
3. หากสรรพากรมีการกำหนดอัตราค่าที่พักตามข้อ 2 และบริษัทมีการจ่ายค่าที่พักเกินอัตราที่สรรพากรกำหนด ภาษีซื้อไม่สามารถขอคืนได้ทั้งหมดใช่หรือไม่
ขอบคุณและขอแสดงความนับถือค่ะ
ตอบเมื่อ 8 พ.ย. 2559 . ตอบโดย Warin