ขายรถยนต์นั่งที่อยู่ระหว่างการเช่าซื้อ
ถามวันที่ 21 ต.ค. 2559 . ถามโดย giganticwhite . เข้าชม 33 ครั้ง
ขายรถยนต์นั่งที่อยู่ระหว่างการเช่าซื้อ
ถามวันที่ 21 ต.ค. 2559 . ถามโดย giganticwhite . เข้าชม 33 ครั้ง
ผมขอสอบถาม กรณีขายรถยนต์ที่อยู่ระหว่างการเช่าซื้อ ที่นั่งไม่เกิน 10 นั่ง เช่าซื้อรถวอลโว่ รุน XC90 D5 มาเดือนตุลาคม 2555 ทำการขายเดือนธันวาคม
2557 ในราคา 384,000 บาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง และกรรมการบริษัทฯ ไม่ได้ใช้แล้ว
รายละเอียดการเช่าซื้อและบัญชีคร่าว ๆ
มูลค่าตามบัญชี (รวม VAT) = เงินดาวน์+เงินค่างวด (38งวด X 60,000/งวด)
มูลค่าตามบัญชี (รวม VAT) = 2,780,000 (500,000+2,280,000)
เงินดาวน์+เงินงวดที่ชำระแล้ว = 2,120,000 (500,000+1,620,000 (27งวด) )
ค่าเสื่อมสะสมทางบัญชี = 1,251,000 (139,000+(2,780,000*20/100*2)
ค่าเสื่อมสะสมทางภาษี (ไม่เกิน 1ล้านบาท) = 450,000 (50,000+(200,000*2)
ขาดทุนทางบัญชี = 1,145,000 (2,780,000-(1,251,000+384,000)
แต่จากข้อมูลราคาประเมินรถยนต์ พศ.2557 ของกรมการขนส่งทางบก รถยนนั่งที่เช่าซื้อมารุ่นดังกล่าวมีราคาประเมินอยู่ที่ประมาณ 2,000,000 - 3,300,000
บาท http://apps.dlt.go.th/inspection/news/price.html (หน้าที่ 87)
และของเว็บรถมือสอง อยู่ที่ประมาณ 900,000 - 1,000,000 บาท http://www.one2car.com/volvo/xc90/thailand/
%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E
%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5/?type=used
และเนื่องจากเงินค่างวดรถวอลโว่ บริษัทฯ ยังมีการจ่ายชำระยังไม่ครบ 38 งวด จึงขอสอบถามดังนี้
1. ในทางภาษีต้องรับรู้รายได้ ภงด.50 และ ภพ.30 ตามที่ได้รับเงินมาจริงคือ 384,000 บาท ตามราคาของกรมการขนส่งทางบก ปี 2557 หรือตามราคา
เว็บไซด์รถมือสอง เพื่อให้ถูกต้องตาม มาตรา 65 ทวิ(4) ครับ ?
2. การบวกกลับ เพื่อยื่นแบบชำระภาษี และทางบัญชีในปี 2557 ต้องปฏิบัติอย่างไร
ขอบคุณครับ _/\_
2557 ในราคา 384,000 บาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง และกรรมการบริษัทฯ ไม่ได้ใช้แล้ว
รายละเอียดการเช่าซื้อและบัญชีคร่าว ๆ
มูลค่าตามบัญชี (รวม VAT) = เงินดาวน์+เงินค่างวด (38งวด X 60,000/งวด)
มูลค่าตามบัญชี (รวม VAT) = 2,780,000 (500,000+2,280,000)
เงินดาวน์+เงินงวดที่ชำระแล้ว = 2,120,000 (500,000+1,620,000 (27งวด) )
ค่าเสื่อมสะสมทางบัญชี = 1,251,000 (139,000+(2,780,000*20/100*2)
ค่าเสื่อมสะสมทางภาษี (ไม่เกิน 1ล้านบาท) = 450,000 (50,000+(200,000*2)
ขาดทุนทางบัญชี = 1,145,000 (2,780,000-(1,251,000+384,000)
แต่จากข้อมูลราคาประเมินรถยนต์ พศ.2557 ของกรมการขนส่งทางบก รถยนนั่งที่เช่าซื้อมารุ่นดังกล่าวมีราคาประเมินอยู่ที่ประมาณ 2,000,000 - 3,300,000
บาท http://apps.dlt.go.th/inspection/news/price.html (หน้าที่ 87)
และของเว็บรถมือสอง อยู่ที่ประมาณ 900,000 - 1,000,000 บาท http://www.one2car.com/volvo/xc90/thailand/
%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E
%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5/?type=used
และเนื่องจากเงินค่างวดรถวอลโว่ บริษัทฯ ยังมีการจ่ายชำระยังไม่ครบ 38 งวด จึงขอสอบถามดังนี้
1. ในทางภาษีต้องรับรู้รายได้ ภงด.50 และ ภพ.30 ตามที่ได้รับเงินมาจริงคือ 384,000 บาท ตามราคาของกรมการขนส่งทางบก ปี 2557 หรือตามราคา
เว็บไซด์รถมือสอง เพื่อให้ถูกต้องตาม มาตรา 65 ทวิ(4) ครับ ?
2. การบวกกลับ เพื่อยื่นแบบชำระภาษี และทางบัญชีในปี 2557 ต้องปฏิบัติอย่างไร
ขอบคุณครับ _/\_
1 คำตอบ
เรียน คุณ giganticwhite
กรณีบริษัทฯ ซื้อรถยนต์นั่งตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ยี่ห้อ วอลโว่ รุน XC90 D5 เมื่อเดือนตุลาคม 2555 บริษัทฯ บันทึกมูลค่ารถยนตฺ์ดังกล่าว 2,780,000 บาท โดยรวมเงินดาวน์ 500,000 บาท กับค่างวดผ่อนชำระ รวม VAT (38 งวด X 60,000/งวด) = 2,280,000 บาท อันเป็นการบันทึกตามหลักการทางภาษีอากร (ซึ่งตามหลักการบัญชี บริษัทฯ ต้องใช้ราคาเงินสดบันทึกมูลค่าต้นทุน และส่วนที่เกินกว่าราคาเงินสดบันทึกเป็นค่าดอกผลเช่าซื้อรอตัดจ่าย)
ต่อมาในเดือนธันวาคม 2557 ภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้ผ่อนชำระตามสัญญาเช่าซื้อมาแล้ว 27 งวด บริษัทฯ ได้ขายไปในราคา (384,000 + 660,000) = 1,044,000 บาท โดยรับชำระเป็นเงินสดเพียง 384,000 บาท ซึ่งผู้ซื้อต้องส่งค่างวดต่อไปอีก 11 งวดงวดละ 60,000 บาท เป็นเงิน 660,000 บาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง และกรรมการบริษัทฯ ไม่ได้ใช้แล้ว บริษัทฯ ได้คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางบัญชีเป็นเงิน (139,000 + (2,780,000 X 20/100 X 2) = 1,251,000 บาท โดยได้ปรับปรุงบวกกลับค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสำหรับต้นทุนรถยนต์นั่งในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งล้านบาทไว้แล้ว (1,251,0000 - 450,000) = 801,000 บาท ก่อให้เกิดผลขาดทุนทางบัญชี (2,780,000 - (1,251,000 + 384,000 + 660,000) = 585,000 บาท
จากข้อถามขอเรียนว่า
1. ในทางภาษีบริษัทฯ ต้องรับรู้รายได้เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 ตามราคาตลาด (ซึ่งเห็นว่าควรจะเป็นตามราคา
เว็บไซด์รถมือสอง เพื่อให้ถูกต้องตาม มาตรา 65 ทวิ (4) คือ (900,000 + 1,000,000)/2 = 950,000 บาท ยังขาดไปอีก (950,000 - 384,000) = 566,000 บาท
2. การบวกกลับ เพื่อยื่นแบบชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2557 ให้นำราคาขายที่พึงขาย 950,000 หักด้วย จำนวนค่าเสื่อมราคาทางภาษีอากรที่ยังไม่ได้หัก (1,000,000 - 450,000) = 550,000 บาท ซึ่งบริษัทฯ ต้องบวกกลับเป็นจำนวน 950,000 - 550,000 = 400,000 บาท
กรณีบริษัทฯ ซื้อรถยนต์นั่งตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ยี่ห้อ วอลโว่ รุน XC90 D5 เมื่อเดือนตุลาคม 2555 บริษัทฯ บันทึกมูลค่ารถยนตฺ์ดังกล่าว 2,780,000 บาท โดยรวมเงินดาวน์ 500,000 บาท กับค่างวดผ่อนชำระ รวม VAT (38 งวด X 60,000/งวด) = 2,280,000 บาท อันเป็นการบันทึกตามหลักการทางภาษีอากร (ซึ่งตามหลักการบัญชี บริษัทฯ ต้องใช้ราคาเงินสดบันทึกมูลค่าต้นทุน และส่วนที่เกินกว่าราคาเงินสดบันทึกเป็นค่าดอกผลเช่าซื้อรอตัดจ่าย)
ต่อมาในเดือนธันวาคม 2557 ภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้ผ่อนชำระตามสัญญาเช่าซื้อมาแล้ว 27 งวด บริษัทฯ ได้ขายไปในราคา (384,000 + 660,000) = 1,044,000 บาท โดยรับชำระเป็นเงินสดเพียง 384,000 บาท ซึ่งผู้ซื้อต้องส่งค่างวดต่อไปอีก 11 งวดงวดละ 60,000 บาท เป็นเงิน 660,000 บาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง และกรรมการบริษัทฯ ไม่ได้ใช้แล้ว บริษัทฯ ได้คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางบัญชีเป็นเงิน (139,000 + (2,780,000 X 20/100 X 2) = 1,251,000 บาท โดยได้ปรับปรุงบวกกลับค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสำหรับต้นทุนรถยนต์นั่งในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งล้านบาทไว้แล้ว (1,251,0000 - 450,000) = 801,000 บาท ก่อให้เกิดผลขาดทุนทางบัญชี (2,780,000 - (1,251,000 + 384,000 + 660,000) = 585,000 บาท
จากข้อถามขอเรียนว่า
1. ในทางภาษีบริษัทฯ ต้องรับรู้รายได้เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 ตามราคาตลาด (ซึ่งเห็นว่าควรจะเป็นตามราคา
เว็บไซด์รถมือสอง เพื่อให้ถูกต้องตาม มาตรา 65 ทวิ (4) คือ (900,000 + 1,000,000)/2 = 950,000 บาท ยังขาดไปอีก (950,000 - 384,000) = 566,000 บาท
2. การบวกกลับ เพื่อยื่นแบบชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2557 ให้นำราคาขายที่พึงขาย 950,000 หักด้วย จำนวนค่าเสื่อมราคาทางภาษีอากรที่ยังไม่ได้หัก (1,000,000 - 450,000) = 550,000 บาท ซึ่งบริษัทฯ ต้องบวกกลับเป็นจำนวน 950,000 - 550,000 = 400,000 บาท
ตอบเมื่อ 22 ต.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ