ส่วนควบที่ดิน
ถามวันที่ 18 ต.ค. 2559 . ถามโดย poonsri.41109 . เข้าชม 20 ครั้ง
ส่วนควบที่ดิน
ถามวันที่ 18 ต.ค. 2559 . ถามโดย poonsri.41109 . เข้าชม 20 ครั้ง
บริษัท ทำรั้ว ลักษณะ เสาปูนตอกระยะห่าง 1.5 เมตร ขึงลวดหนาม บนพื้นที่ 2 ไร่ ขอคำแนะนำคะ ว่าการทำรั้วลักษณะนี้
คำถาม 1) ควรบันทึกเป็นทรัพย์สิน หรือ เป็นรายจ่ายคะ
2) ถ้ามองเป็นทรัพย์สิน ต้องถือเป็นส่วนควบที่ดิน หรือส่วนปรับปรุงที่ดิน ต้องตัดค่าเสื่อมราคาหรือไม่ / อัตราค่าเสื่อมราคาใช้อัตรา 100 เหมือนโรงเรือนชั่วคราวหรือเปล่าคะ / จะสามารถเฉลียตัดจ่ายตามอายุการใช้งานได้หรือไม่คะ ( รั้วลักษณะนี้อายุการใช้งานไม่น่าจะเกิน 5 ปี )
คำถาม 1) ควรบันทึกเป็นทรัพย์สิน หรือ เป็นรายจ่ายคะ
2) ถ้ามองเป็นทรัพย์สิน ต้องถือเป็นส่วนควบที่ดิน หรือส่วนปรับปรุงที่ดิน ต้องตัดค่าเสื่อมราคาหรือไม่ / อัตราค่าเสื่อมราคาใช้อัตรา 100 เหมือนโรงเรือนชั่วคราวหรือเปล่าคะ / จะสามารถเฉลียตัดจ่ายตามอายุการใช้งานได้หรือไม่คะ ( รั้วลักษณะนี้อายุการใช้งานไม่น่าจะเกิน 5 ปี )
1 คำตอบ
เรียน คุณ poonsri.41109
บริษัทฯ ทำรั้ว ลักษณะ เสาปูนตอกระยะห่าง 1.5 เมตร ขึงลวดหนาม บนพื้นที่ 2 ไร่ การทำรั้วลักษณะดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี
1) บริษัทฯ จึงต้องบันทึกเป็นทรัพย์สินถาวร ประเภททรัพย์สินอื่น
2) รั้วซึ่งถือเป็นทรัพย์สินอื่น ไม่นับเป็นส่วนปรับปรุงที่ดิน บริษัทฯ ต้องคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 มาตรา 4 (5) ซึงยอมให้คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน ไม่อาจคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 100 ดังเช่นโรงเรือนชั่วคราวได้ หากอายุการใช้งานจริงน้อยกว่า 5 ปี ให้ดำเนินการตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 58/2538 ต่อไป
บริษัทฯ ทำรั้ว ลักษณะ เสาปูนตอกระยะห่าง 1.5 เมตร ขึงลวดหนาม บนพื้นที่ 2 ไร่ การทำรั้วลักษณะดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี
1) บริษัทฯ จึงต้องบันทึกเป็นทรัพย์สินถาวร ประเภททรัพย์สินอื่น
2) รั้วซึ่งถือเป็นทรัพย์สินอื่น ไม่นับเป็นส่วนปรับปรุงที่ดิน บริษัทฯ ต้องคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 มาตรา 4 (5) ซึงยอมให้คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน ไม่อาจคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 100 ดังเช่นโรงเรือนชั่วคราวได้ หากอายุการใช้งานจริงน้อยกว่า 5 ปี ให้ดำเนินการตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 58/2538 ต่อไป
ตอบเมื่อ 21 ต.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ