เรื่อง การหัก ณ ที่จ่าย
ถามวันที่ 4 ต.ค. 2559 . ถามโดย poonsri.41109 . เข้าชม 11 ครั้ง
เรื่อง การหัก ณ ที่จ่าย
ถามวันที่ 4 ต.ค. 2559 . ถามโดย poonsri.41109 . เข้าชม 11 ครั้ง
บริษัท ก (จดทะเบียนประกอบธุรกิจ ขายสินค้า บริการ) รับงานติดตั้งระบบหล่อหลื่น ให้กับริษัท A ( การติดตั้งระบบหล่อหลื่อนั้นต้องมีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง)
บริษัท ก จึงไปจ้างบริษัท ข มาทำระบบไฟฟ้า โดยบริษัท ข เปิดบิลเรียกเก็บค่าทำระบบไฟฟ้า งวดแรก 50 % เมือได้รับ PO ส่วนที่ 2 50 % เมื่อติดตั้งเสร็จ เปิดบิลมาเรียกเก็บ บริษัท ก โดยแยก ค่าของ 1 ใบ และค่าแรง 1 ใบ (บริษัท ข จดเบียนประกอบธุรกิจ ขายสินค้า / บริการตั้ง) อยากทราบว่า บริษัท ก ผู้จ่ายค่าจ้างให้กับบริษัท ข จะต้องหัก ณ ที่จ่าย อย่างไร จึงจะถูกต้อง 1) เอาค่าของ + ค่าแรง แล้วหัก ณ ที่จ่าย 2 ) เอาเฉพาะ บิลค่าแรง อย่างเดียวมาหัก ณ ที่จ่ายคะ ( หมายเหตุ บริษัท ข ไม่ยอมให้เอาบิลค่าของมารวมหัก ณ ที่จ่าย แจ้งว่าเขาประกอบกิจการขายสินค้าด้วย )
บริษัท ก จึงไปจ้างบริษัท ข มาทำระบบไฟฟ้า โดยบริษัท ข เปิดบิลเรียกเก็บค่าทำระบบไฟฟ้า งวดแรก 50 % เมือได้รับ PO ส่วนที่ 2 50 % เมื่อติดตั้งเสร็จ เปิดบิลมาเรียกเก็บ บริษัท ก โดยแยก ค่าของ 1 ใบ และค่าแรง 1 ใบ (บริษัท ข จดเบียนประกอบธุรกิจ ขายสินค้า / บริการตั้ง) อยากทราบว่า บริษัท ก ผู้จ่ายค่าจ้างให้กับบริษัท ข จะต้องหัก ณ ที่จ่าย อย่างไร จึงจะถูกต้อง 1) เอาค่าของ + ค่าแรง แล้วหัก ณ ที่จ่าย 2 ) เอาเฉพาะ บิลค่าแรง อย่างเดียวมาหัก ณ ที่จ่ายคะ ( หมายเหตุ บริษัท ข ไม่ยอมให้เอาบิลค่าของมารวมหัก ณ ที่จ่าย แจ้งว่าเขาประกอบกิจการขายสินค้าด้วย )
1 คำตอบ
เรียน คุณ poonsri.41109
กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัท ก ผู้จ่ายค่าจ้างให้กับบริษัท ข ตามวิธีที่ 2 ตือหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เฉพาะค่าจ้าง (ตามบิลค่าแรง) อย่างเดียว เนื่องจากบริษัท ข ประกอบกิจการขายสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้า
ทั้งนี้ ตามตัวอย่างหนังสือตอบข้อหารือที่แนบมาพร้อมนี้
เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม)/2110 วันที่ 14 ธันวาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีขายพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ
ข้อหารือ :
บริษัทฯ ประกอบกิจการขายอุปกรณ์สินค้าประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมบริการติดตั้ง โดยทำสัญญาจ้างเหมาและได้ออกใบกำกับภาษีโดยไม่ได้แยกราคาสินค้าและค่าบริการออกจากกัน ขอทราบว่า เมื่อผู้ว่าจ้างได้ชำระค่าสินค้าและค่าบริการจะมีสิทธิหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
แนววินิจฉัย :
(1) การขายสินค้าพร้อมให้บริการ โดยคิดราคาสินค้าและค่าบริการรวมกัน ถือเป็นการขายสินค้า ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อชำระราคาสินค้า บริษัทฯ ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530
(2) ในกรณีที่บริษัทฯ แยกราคาสินค้าและค่าบริการออกจากกันในส่วนของค่าบริการอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530
เลขตู้ : 62/27392
กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัท ก ผู้จ่ายค่าจ้างให้กับบริษัท ข ตามวิธีที่ 2 ตือหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เฉพาะค่าจ้าง (ตามบิลค่าแรง) อย่างเดียว เนื่องจากบริษัท ข ประกอบกิจการขายสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้า
ทั้งนี้ ตามตัวอย่างหนังสือตอบข้อหารือที่แนบมาพร้อมนี้
เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม)/2110 วันที่ 14 ธันวาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีขายพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ
ข้อหารือ :
บริษัทฯ ประกอบกิจการขายอุปกรณ์สินค้าประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมบริการติดตั้ง โดยทำสัญญาจ้างเหมาและได้ออกใบกำกับภาษีโดยไม่ได้แยกราคาสินค้าและค่าบริการออกจากกัน ขอทราบว่า เมื่อผู้ว่าจ้างได้ชำระค่าสินค้าและค่าบริการจะมีสิทธิหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
แนววินิจฉัย :
(1) การขายสินค้าพร้อมให้บริการ โดยคิดราคาสินค้าและค่าบริการรวมกัน ถือเป็นการขายสินค้า ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อชำระราคาสินค้า บริษัทฯ ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530
(2) ในกรณีที่บริษัทฯ แยกราคาสินค้าและค่าบริการออกจากกันในส่วนของค่าบริการอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530
เลขตู้ : 62/27392
ตอบเมื่อ 5 ต.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ