การควบรวมกิจการ
ถามวันที่ 28 ก.ย. 2559 . ถามโดย Account_nre . เข้าชม 10 ครั้ง
การควบรวมกิจการ
ถามวันที่ 28 ก.ย. 2559 . ถามโดย Account_nre . เข้าชม 10 ครั้ง
เรียน อาจารย์สุเทพ
เนื่องจากทางบริษัทต้องการควบรวมกิจการ(ธุรกิจประเภทเดียวกัน)ซึ่งบริษัทเดิมสิ้นสภาพไปเกิดบริษัทใหม่ในส่วนของกรมสรรพากร ต้องทำอะไรบ้างคะ เช่น
1.แต่ละบริษัทภาษี ที่ชำระเกินไว้ ต้องทำอย่างไร
2.เมื่อควบรวมกิจการแล้ว แต่ละจุด/หน่วยงาน/ สาขา สถานภาพเป็นอะไรคะ
3.หลังการควบรวมแล้ว การยื่นภาษี ภพ.30 รายงานภาษีต้องออกอย่างไรคะ
4.บริษัทต้องตีราคาหุ้นอีกหรือไม่คะ(ตอนนี้หุ้นละ 100 บาท)
5.หากผู้ถือหุ้นเดิมจะเข้ามาถือหุ้นบริษัทใหม่ ในจำนวนหุ้นเท่าเดิม จำเป็นจะต้องทำสัญญาซื้อขายหุ้นหรือไม่คะ
6.การโอนสินทรัพย์ในทะเบียนทรัพย์สิน จากบริษัทเดิมมาบริษัทใหม่ ต้องตีราคาใหม่หรือไม่ และต้องเสีย VAT หรือไม่คะ
7.สินค้าคงเหลือ ณ วันโอน ถือเป็นการขายหรือไม่คะ
8.การโอนลูกหนี้,เจ้าหนี้ มาบริษัทใหม่ต้องทำอย่างไรคะ,ต้องเสียภาษีหรือไม่
9.อิ่นๆที่ควรทราบมีอะไรบ้างคะ
ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
เนื่องจากทางบริษัทต้องการควบรวมกิจการ(ธุรกิจประเภทเดียวกัน)ซึ่งบริษัทเดิมสิ้นสภาพไปเกิดบริษัทใหม่ในส่วนของกรมสรรพากร ต้องทำอะไรบ้างคะ เช่น
1.แต่ละบริษัทภาษี ที่ชำระเกินไว้ ต้องทำอย่างไร
2.เมื่อควบรวมกิจการแล้ว แต่ละจุด/หน่วยงาน/ สาขา สถานภาพเป็นอะไรคะ
3.หลังการควบรวมแล้ว การยื่นภาษี ภพ.30 รายงานภาษีต้องออกอย่างไรคะ
4.บริษัทต้องตีราคาหุ้นอีกหรือไม่คะ(ตอนนี้หุ้นละ 100 บาท)
5.หากผู้ถือหุ้นเดิมจะเข้ามาถือหุ้นบริษัทใหม่ ในจำนวนหุ้นเท่าเดิม จำเป็นจะต้องทำสัญญาซื้อขายหุ้นหรือไม่คะ
6.การโอนสินทรัพย์ในทะเบียนทรัพย์สิน จากบริษัทเดิมมาบริษัทใหม่ ต้องตีราคาใหม่หรือไม่ และต้องเสีย VAT หรือไม่คะ
7.สินค้าคงเหลือ ณ วันโอน ถือเป็นการขายหรือไม่คะ
8.การโอนลูกหนี้,เจ้าหนี้ มาบริษัทใหม่ต้องทำอย่างไรคะ,ต้องเสียภาษีหรือไม่
9.อิ่นๆที่ควรทราบมีอะไรบ้างคะ
ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ Account_nre
กรณีบริษัทฯ ต้องการควบรวมกิจการ (ธุรกิจประเภทเดียวกัน) ซึ่งบริษัทเดิมสิ้นสภาพไปเกิดบริษัทใหม่ หรือเรียกว่า "การโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน" นั้น ในส่วนของบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ให้ศึกษา บทบัญญัติดังต่อไปนี้
1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล
ให้ศึกษาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการโอนกิจการทั้งหมด ดังนี้
(1) มาตรา 72 มาตรา 73 และมาตรา 74 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
ให้ศึกษาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการโอนกิจการทั้งหมด ดังนี้
(1) มาตรา 5 โสฬส 5 สัตตรส และมาตรา 6 (31) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
(2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากัน หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชน จำกัด หรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555
3. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้ศึกษาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการโอนกิจการทั้งหมด ดังนี้
(1) มาตรา 77/1 (8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) มาตรา 85/13 แห่งประมวลรัษฎากร
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. แต่ละบริษัทภาษี ที่ชำระเกินไว้ ให้บริษัทฯ ที่รับโอนขอคืนแทนบริษัทที่เลิกกิจการไปเพราะการโอนกิจการ โดยยังถือเป็นสิทธิของกิจการที่เลิกไปเพราะการโอนกิจการ
2. เมื่อควบรวมกิจการแล้ว แต่ละจุด/หน่วยงาน/ สาขา สถานภาพเป็นบริษัทใหม่หรือส่วนหนึ่งของบริษัทที่รับโอนกิจการ
3. หลังการควบรวมแล้ว การยื่นภาษี ภพ.30 รายงานภาษีต้องออกในนามของบริษัทฯที่รับโอนกิจการ
4. บริษัทต้องตีราคาทรัพย์สิน เพื่อคำนวณหามูลค่าหุ้น หรือส่วนของเจ้าของของกิจการที่เลิกไป เพื่อคำนวณสิทธิประโยชน์ที่ได้จากโอนกิจการ
5. หากผู้ถือหุ้นเดิมจะเข้ามาถือหุ้นบริษัทใหม่ ในจำนวนหุ้นเท่าเดิม ก็ยังจำเป็นคำนวณมูลค่าหุ้นตามข้อ 4 เพื่อการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในอันที่จะนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียเงินได้ของผู้ถือหุ้นของกิจการที่เลิกต่อไป
6. การโอนสินทรัพย์ในทะเบียนทรัพย์สิน จากบริษัทเดิมมาบริษัทใหม่ ต้องตีราคาใหม่ตามมาตรา 74 (1) แห่งประมวลรัษำากร แต่ไม่ต้องเสีย VAT
7. สินค้าคงเหลือ ณ วันโอน ไม่ถือเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
8. การโอนลูกหนี้, เจ้าหนี้ มาบริษัทใหม่ ให้โอนบัญชีมายังกิจการใหม่ได้เลย ไม่มีภาระภาษีที่ต้องเสีย
9. อิ่นๆที่ควรทราบ ให้ศึกษาบทบัญญัติข้างต้นให้ชัดแจ้ง หากมีข้อสงสัยให้สอบถามเพิ่มเติมไป
กรณีบริษัทฯ ต้องการควบรวมกิจการ (ธุรกิจประเภทเดียวกัน) ซึ่งบริษัทเดิมสิ้นสภาพไปเกิดบริษัทใหม่ หรือเรียกว่า "การโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน" นั้น ในส่วนของบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ให้ศึกษา บทบัญญัติดังต่อไปนี้
1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล
ให้ศึกษาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการโอนกิจการทั้งหมด ดังนี้
(1) มาตรา 72 มาตรา 73 และมาตรา 74 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
ให้ศึกษาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการโอนกิจการทั้งหมด ดังนี้
(1) มาตรา 5 โสฬส 5 สัตตรส และมาตรา 6 (31) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
(2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากัน หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชน จำกัด หรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555
3. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้ศึกษาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการโอนกิจการทั้งหมด ดังนี้
(1) มาตรา 77/1 (8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) มาตรา 85/13 แห่งประมวลรัษฎากร
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. แต่ละบริษัทภาษี ที่ชำระเกินไว้ ให้บริษัทฯ ที่รับโอนขอคืนแทนบริษัทที่เลิกกิจการไปเพราะการโอนกิจการ โดยยังถือเป็นสิทธิของกิจการที่เลิกไปเพราะการโอนกิจการ
2. เมื่อควบรวมกิจการแล้ว แต่ละจุด/หน่วยงาน/ สาขา สถานภาพเป็นบริษัทใหม่หรือส่วนหนึ่งของบริษัทที่รับโอนกิจการ
3. หลังการควบรวมแล้ว การยื่นภาษี ภพ.30 รายงานภาษีต้องออกในนามของบริษัทฯที่รับโอนกิจการ
4. บริษัทต้องตีราคาทรัพย์สิน เพื่อคำนวณหามูลค่าหุ้น หรือส่วนของเจ้าของของกิจการที่เลิกไป เพื่อคำนวณสิทธิประโยชน์ที่ได้จากโอนกิจการ
5. หากผู้ถือหุ้นเดิมจะเข้ามาถือหุ้นบริษัทใหม่ ในจำนวนหุ้นเท่าเดิม ก็ยังจำเป็นคำนวณมูลค่าหุ้นตามข้อ 4 เพื่อการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในอันที่จะนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียเงินได้ของผู้ถือหุ้นของกิจการที่เลิกต่อไป
6. การโอนสินทรัพย์ในทะเบียนทรัพย์สิน จากบริษัทเดิมมาบริษัทใหม่ ต้องตีราคาใหม่ตามมาตรา 74 (1) แห่งประมวลรัษำากร แต่ไม่ต้องเสีย VAT
7. สินค้าคงเหลือ ณ วันโอน ไม่ถือเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
8. การโอนลูกหนี้, เจ้าหนี้ มาบริษัทใหม่ ให้โอนบัญชีมายังกิจการใหม่ได้เลย ไม่มีภาระภาษีที่ต้องเสีย
9. อิ่นๆที่ควรทราบ ให้ศึกษาบทบัญญัติข้างต้นให้ชัดแจ้ง หากมีข้อสงสัยให้สอบถามเพิ่มเติมไป
ตอบเมื่อ 2 ต.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ