ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารโรงงานใหม่
ถามวันที่ 26 ก.ย. 2559 . ถามโดย c.choosaranont . เข้าชม 19 ครั้ง
ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารโรงงานใหม่
ถามวันที่ 26 ก.ย. 2559 . ถามโดย c.choosaranont . เข้าชม 19 ครั้ง
เรียนถามอาจารย์ครับ
เนื่องจากบริษัทมีการก่อสร้างอาคารโรงงานใหม่ มีข้อสงสัยในการปฎิบัติ
ว่าค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างต้องรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สิน(อาคาร) ใช่หรือไม่ครับ
ค่าใช้จ่ายบางอย่างเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วนั้น ไม่สามารถมองเห็นหรือ ชี้ได้ว่ามี
ตัวตนสัมผัสได้ หรือบอกได้ว่าอยู่ตรงไหนของอาคาร จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ครับ
จะมีหลักอย่างไรในการพิจารณาได้บ้างครับว่า อย่างไรลงเป็นค่าใช้จ่ายได้ หรือต้องลงเป็นต้นทุนของทรัพย์สิน(อาคาร)
ทั้งหมดครับ
เช่น 1. ค่าโรยหินคลุกที่โรยถนนชั่วคราว(ดิน) เพื่อให้รถบรรทุกสามารถวิ่งเข้าออกไซค์งานได้ หรือใช้วางวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง
เนื่องจากบริษัทมีการก่อสร้างอาคารโรงงานใหม่ มีข้อสงสัยในการปฎิบัติ
ว่าค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างต้องรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สิน(อาคาร) ใช่หรือไม่ครับ
ค่าใช้จ่ายบางอย่างเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วนั้น ไม่สามารถมองเห็นหรือ ชี้ได้ว่ามี
ตัวตนสัมผัสได้ หรือบอกได้ว่าอยู่ตรงไหนของอาคาร จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ครับ
จะมีหลักอย่างไรในการพิจารณาได้บ้างครับว่า อย่างไรลงเป็นค่าใช้จ่ายได้ หรือต้องลงเป็นต้นทุนของทรัพย์สิน(อาคาร)
ทั้งหมดครับ
เช่น 1. ค่าโรยหินคลุกที่โรยถนนชั่วคราว(ดิน) เพื่อให้รถบรรทุกสามารถวิ่งเข้าออกไซค์งานได้ หรือใช้วางวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง
1 คำตอบ
เรียน คุณ c.choosaranont
กรณีบริษัทฯ มีการก่อสร้างอาคารโรงงานใหม่ จึงมีข้อสงสัยในการปฎิบัติว่า ค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างต้องรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สิน (อาคาร) หรือไม่ นั้น
การบันทึกรับรู้มูลค่าต้นทุนอาคารเนื่องจากบริษัทฯ ทำการก่อสร้างเอง
ในเบื้องต้นให้นำต้นทุนค่าก่อสร้างและรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการก่อสร้างอาคารมาบันทึกเป็นมูลค่าอาคารระหว่างก่อสร้าง อาทิ
1. ค่าออกแบบแปลนแผนผังอาคาร
2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร โดยให้แยกค่าวัสดุในส่วนที่เป็นค่าสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งค่าทำถนน หรือที่จอดรถ และอื่นๆ เนื่องจากอัตราค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาไม่เท่าเทียมกัน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
3. ค่าจ้างแรงงานในการก่อสร้างอาคาร โดยให้แยกค่าจ้างในการจัดทำในส่วนที่เป็นสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งค่าทำถนน หรือที่จอดรถ และอื่นๆ
4. ค่าจ้างที่ปรึกษาวิศวกรในการก่อสร้างอาคาร
สำหรับรายจ่ายบางอย่างเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วนั้น ไม่สามารถมองเห็นหรือ ชี้ได้ว่ามีตัวตนสัมผัสได้ หรือบอกได้ว่าอยู่ตรงไหนของอาคารไม่สามารถมองเห็นหรือ ชี้ได้ว่ามีตัวตนสัมผัสได้ หรือบอกได้ว่าอยู่ตรงไหนของอาคาร เช่น ค่าโรยหินคลุกที่โรยถนนชั่วคราว (ดิน) เพื่อให้รถบรรทุกสามารถวิ่งเข้าออกไซค์งานได้ หรือใช้วางวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง นั้น หากรายการใดเกี่ยวข้องโดยตรงกับการก่อสร้างอาคาร ก็ให้บันทึกเป็นต้นทุนอาคาร แต่หากเกี่ยวข้องกับรายการทรัพย์สินประเภทอื่นใด ก็ให้บันทึกเป็นต้นทุนของทรัพย์สินประเภทนั้นๆ เช่น ค่าโรยหินคลุกดังกล่าว หากบริษัทฯ ต้องใช้บริเวณนั้นจัดทำลานจอดรถหรือทำเป็นถนนก็ให้บันทึกเป้นต้นทุนของทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องนำมาบันทึกรวมเป็นต้นทุนอาคาร หรือบันทึกเป็นส่วนปรับปรุงที่ดิน
กรณีบริษัทฯ มีการก่อสร้างอาคารโรงงานใหม่ จึงมีข้อสงสัยในการปฎิบัติว่า ค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างต้องรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สิน (อาคาร) หรือไม่ นั้น
การบันทึกรับรู้มูลค่าต้นทุนอาคารเนื่องจากบริษัทฯ ทำการก่อสร้างเอง
ในเบื้องต้นให้นำต้นทุนค่าก่อสร้างและรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการก่อสร้างอาคารมาบันทึกเป็นมูลค่าอาคารระหว่างก่อสร้าง อาทิ
1. ค่าออกแบบแปลนแผนผังอาคาร
2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร โดยให้แยกค่าวัสดุในส่วนที่เป็นค่าสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งค่าทำถนน หรือที่จอดรถ และอื่นๆ เนื่องจากอัตราค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาไม่เท่าเทียมกัน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
3. ค่าจ้างแรงงานในการก่อสร้างอาคาร โดยให้แยกค่าจ้างในการจัดทำในส่วนที่เป็นสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งค่าทำถนน หรือที่จอดรถ และอื่นๆ
4. ค่าจ้างที่ปรึกษาวิศวกรในการก่อสร้างอาคาร
สำหรับรายจ่ายบางอย่างเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วนั้น ไม่สามารถมองเห็นหรือ ชี้ได้ว่ามีตัวตนสัมผัสได้ หรือบอกได้ว่าอยู่ตรงไหนของอาคารไม่สามารถมองเห็นหรือ ชี้ได้ว่ามีตัวตนสัมผัสได้ หรือบอกได้ว่าอยู่ตรงไหนของอาคาร เช่น ค่าโรยหินคลุกที่โรยถนนชั่วคราว (ดิน) เพื่อให้รถบรรทุกสามารถวิ่งเข้าออกไซค์งานได้ หรือใช้วางวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง นั้น หากรายการใดเกี่ยวข้องโดยตรงกับการก่อสร้างอาคาร ก็ให้บันทึกเป็นต้นทุนอาคาร แต่หากเกี่ยวข้องกับรายการทรัพย์สินประเภทอื่นใด ก็ให้บันทึกเป็นต้นทุนของทรัพย์สินประเภทนั้นๆ เช่น ค่าโรยหินคลุกดังกล่าว หากบริษัทฯ ต้องใช้บริเวณนั้นจัดทำลานจอดรถหรือทำเป็นถนนก็ให้บันทึกเป้นต้นทุนของทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องนำมาบันทึกรวมเป็นต้นทุนอาคาร หรือบันทึกเป็นส่วนปรับปรุงที่ดิน
ตอบเมื่อ 2 ต.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ