เรื่องสำรองตามก.ม.จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นได้หรือไม่
ถามวันที่ 25 ก.ย. 2559 . ถามโดย poonsri.41109 . เข้าชม 17 ครั้ง
เรื่องสำรองตามก.ม.จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นได้หรือไม่
ถามวันที่ 25 ก.ย. 2559 . ถามโดย poonsri.41109 . เข้าชม 17 ครั้ง
เรียนอาจารย์คะ บริษัทมีการตั้งสำรองตาม ก.ม.10 % ของทุนจดทะเบียนไว้ ณ ตอนที่มีจ่ายเงินปันผล อาจารย์คะ สำรองตาม ก.ม.ที่ตั้งไว้นั้นสามารถนำมาจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นอีกได้ไหมคะ มีข้อกม.อะไรที่เกี่ยวข้องบ้างสำหรับเรื่องสำรองตามกม. ขอคำแนะนำคะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ poonsri.41109
กรณีบริษัทฯ มีการตั้งสำรองตาม ก.ม.10 % ของทุนจดทะเบียนไว้ ณ ตอนที่มีจ่ายเงินปันผล
สำรองตาม ก.ม.ที่ตั้งไว้นั้นสามารถนำมาจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นได้อีก เมื่อบริษัทได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์แล้ว ให้โอนบัญชีสำรองต่างๆ กลับไปยังบัญชีกำไรสะสม
การจัดสรรกำไรสะสม โดย ครูเบญจมาศ ดีเจริญ
การจัดสรรกำไรสะสม คือ การแยกกำไรสะสมส่วนหนึ่งออกมาจากกำไรสะสม ที่ยังมิได้จัดสรร มาตั้งไว้ต่างหากเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง หรือตามข้อบังคับของกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยเฉพาะ ซึ่งกำไรสะสมในส่วนนี้ บริษัทจะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ ในการจัดสรรกำไรสะสมโดยการตั้งสำรองต่างๆ อาจจำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การตั้งสำรองตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ถ้าบริษัทจำกัดมีกำไรสุทธิ จะต้องจัดสรรกำไรสะสม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1202 ทุกครั้งที่ได้มีมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ประกาศจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสะสมไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อย 5% ของกำไรสุทธิประจำปี จนกว่ากำไรสะสมที่จัดสรรไว้เป็นทุนสำรองนั้น มีจำนวน 10% ของจำนวนทุนที่จดทะเบียนหรือมากกว่าที่กฎหมายกำหนด หากได้มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้มากกว่า
2. การตั้งสำรองตามข้อผูกพัน ซึ่งเป็นการตั้งตามมติของคณะกรรมการบริษัทให้จัดสรรกำไรสะสมเพื่อเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้หรือผู้ถือหุ้นกู้ โดยบริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสะสมทุกวันสิ้นปีตลอดอายุของหุ้นกู้ หรือตลอดสัญญาของการเป็นหนี้ และในขณะเดียวกันบริษัทจะต้องมีการกันเงินสดไว้เท่ากับกำไรสะสมที่เท่ากัน เพื่อที่จะให้มีเงินสดเพียงพอที่จะไปชำระหุ้นกู้เมื่อวันครบกำหนดหลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นการชำระหนี้แล้ว บัญชีสำรองตามข้อผูกพันมียอดคงเหลือ ให้โอนปิดบัญชีสำรองตามข้อผูกพันกลับไปยังบัญชีกำไรสะสมที่ไม่ได้จัดสรรตามเดิม
3. การตั้งสำรองตามนโยบายของบริษัท ซึ่งเป็นการจัดสรรกำไรสะสมตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัท โดยให้กันกำไรสะสมไว้ส่วนหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะรักษาไว้ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนให้มีสภาพคล่องในอัตราที่สูง ในการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น บริษัทให้กันกำไรสะสมไว้สำหรับค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สำรองเพื่อการขยายงาน สำรองเพื่อประกันภัยตนเอง เป็นต้น
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการตั้งสำรองต่างๆ จะบันทึกได้ดังนี้
เดบิท กำไรสะสม xxx
เครดิต สำรองตามกฎหมาย xxx
สำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ xxx
สำรองเพื่อขยายงาน xxx
การตั้งสำรองต่างๆ
เมื่อบริษัทได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์แล้ว ให้โอนบัญชีสำรองต่างๆ กลับไปยังบัญชีกำไรสะสม ซึ่งบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิท สำรองต่างๆ xxx
เครดิต กำไรสะสม xxx
โอนปิดบัญชีสำรองต่างๆ
ที่มา: http://kruben.krutechnic.com/u32.html
กรณีบริษัทฯ มีการตั้งสำรองตาม ก.ม.10 % ของทุนจดทะเบียนไว้ ณ ตอนที่มีจ่ายเงินปันผล
สำรองตาม ก.ม.ที่ตั้งไว้นั้นสามารถนำมาจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นได้อีก เมื่อบริษัทได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์แล้ว ให้โอนบัญชีสำรองต่างๆ กลับไปยังบัญชีกำไรสะสม
การจัดสรรกำไรสะสม โดย ครูเบญจมาศ ดีเจริญ
การจัดสรรกำไรสะสม คือ การแยกกำไรสะสมส่วนหนึ่งออกมาจากกำไรสะสม ที่ยังมิได้จัดสรร มาตั้งไว้ต่างหากเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง หรือตามข้อบังคับของกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยเฉพาะ ซึ่งกำไรสะสมในส่วนนี้ บริษัทจะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ ในการจัดสรรกำไรสะสมโดยการตั้งสำรองต่างๆ อาจจำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การตั้งสำรองตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ถ้าบริษัทจำกัดมีกำไรสุทธิ จะต้องจัดสรรกำไรสะสม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1202 ทุกครั้งที่ได้มีมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ประกาศจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสะสมไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อย 5% ของกำไรสุทธิประจำปี จนกว่ากำไรสะสมที่จัดสรรไว้เป็นทุนสำรองนั้น มีจำนวน 10% ของจำนวนทุนที่จดทะเบียนหรือมากกว่าที่กฎหมายกำหนด หากได้มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้มากกว่า
2. การตั้งสำรองตามข้อผูกพัน ซึ่งเป็นการตั้งตามมติของคณะกรรมการบริษัทให้จัดสรรกำไรสะสมเพื่อเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้หรือผู้ถือหุ้นกู้ โดยบริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสะสมทุกวันสิ้นปีตลอดอายุของหุ้นกู้ หรือตลอดสัญญาของการเป็นหนี้ และในขณะเดียวกันบริษัทจะต้องมีการกันเงินสดไว้เท่ากับกำไรสะสมที่เท่ากัน เพื่อที่จะให้มีเงินสดเพียงพอที่จะไปชำระหุ้นกู้เมื่อวันครบกำหนดหลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นการชำระหนี้แล้ว บัญชีสำรองตามข้อผูกพันมียอดคงเหลือ ให้โอนปิดบัญชีสำรองตามข้อผูกพันกลับไปยังบัญชีกำไรสะสมที่ไม่ได้จัดสรรตามเดิม
3. การตั้งสำรองตามนโยบายของบริษัท ซึ่งเป็นการจัดสรรกำไรสะสมตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัท โดยให้กันกำไรสะสมไว้ส่วนหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะรักษาไว้ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนให้มีสภาพคล่องในอัตราที่สูง ในการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น บริษัทให้กันกำไรสะสมไว้สำหรับค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สำรองเพื่อการขยายงาน สำรองเพื่อประกันภัยตนเอง เป็นต้น
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการตั้งสำรองต่างๆ จะบันทึกได้ดังนี้
เดบิท กำไรสะสม xxx
เครดิต สำรองตามกฎหมาย xxx
สำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ xxx
สำรองเพื่อขยายงาน xxx
การตั้งสำรองต่างๆ
เมื่อบริษัทได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์แล้ว ให้โอนบัญชีสำรองต่างๆ กลับไปยังบัญชีกำไรสะสม ซึ่งบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิท สำรองต่างๆ xxx
เครดิต กำไรสะสม xxx
โอนปิดบัญชีสำรองต่างๆ
ที่มา: http://kruben.krutechnic.com/u32.html
ตอบเมื่อ 2 ต.ค. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ