วิสาหกิจเพื่อสังคม
ถามวันที่ 5 ก.ย. 2559 . ถามโดย wesuporn . เข้าชม 12 ครั้ง
วิสาหกิจเพื่อสังคม
ถามวันที่ 5 ก.ย. 2559 . ถามโดย wesuporn . เข้าชม 12 ครั้ง
พระราชกฤษฏีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621)
มาตรา 8 วิสาหกิจเพื่อสังคมที่จะได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. มีคำว่า "วิสาหกิจเพื่อสังคม" อยู่ในชื่อบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
2. ได้รับการรับรองเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมจากหน่วยงานที่อธิบดีประกาศกำหนด
3. ยื่นคำร้องขอ และได้รับอนุมัติให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
4. ไม่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข) และ (ง)
5. ไม่มีการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการ เว้นแต่การโอนทรัพย์สินตามที่อธิบดีประกาศ
6. ไม่เป็นคู่สัญญากับผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน และไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน รวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน เว้นแต่ที่อธิบดีประกาศกำหนด
7. ไม่เปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการจากกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นการประกอบกิจการอื่นก่อนครบสิบรอบระยะเวลาบัญชี นับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุมัติ
8. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนด
บริษัทแม่ถือหุ้นบริษัทลูกที่จัดตั้งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยถือหุ้นเกือบ 100%
บริษัทลูกประกอบกิจการทำความสะอาด รักษาความปลอดภัย
โดยบริษัทแม่ได้มีการจ่ายเงินค่าสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมให้บริษัทลูกเพื่อใช้ในการอบรม และสร้างงานให้กับกลุ่มสตรีด้อยโอกาส เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ขอเรียนถามคำถามดังนี้คะ
1. พระราชกฤษฎีกาฉบับข้างต้นลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30/8/59
ถ้าบริษัทลูกไปจดเป็น "วิสาหกิจเพื่อสังคม" หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น จะยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 ย้อนหลังหรือไม่?
2. ตามมาตรา 8 ข้อ 6 ข้างต้น ถ้าตีความจากข้อ 6 หมายถึง "บริษัทลูกต้องไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น" อันนี้เข้าใจถูกหรือไม่?
3. เงินค่าสนับสนุนที่บริษัทแม่จ่ายให้กับบริษัทลูกนั้น บริษัทแม่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวนหรือไม่?
ขอบพระคุณคะ
มาตรา 8 วิสาหกิจเพื่อสังคมที่จะได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. มีคำว่า "วิสาหกิจเพื่อสังคม" อยู่ในชื่อบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
2. ได้รับการรับรองเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมจากหน่วยงานที่อธิบดีประกาศกำหนด
3. ยื่นคำร้องขอ และได้รับอนุมัติให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
4. ไม่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข) และ (ง)
5. ไม่มีการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการ เว้นแต่การโอนทรัพย์สินตามที่อธิบดีประกาศ
6. ไม่เป็นคู่สัญญากับผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน และไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน รวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน เว้นแต่ที่อธิบดีประกาศกำหนด
7. ไม่เปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการจากกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นการประกอบกิจการอื่นก่อนครบสิบรอบระยะเวลาบัญชี นับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุมัติ
8. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนด
บริษัทแม่ถือหุ้นบริษัทลูกที่จัดตั้งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยถือหุ้นเกือบ 100%
บริษัทลูกประกอบกิจการทำความสะอาด รักษาความปลอดภัย
โดยบริษัทแม่ได้มีการจ่ายเงินค่าสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมให้บริษัทลูกเพื่อใช้ในการอบรม และสร้างงานให้กับกลุ่มสตรีด้อยโอกาส เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ขอเรียนถามคำถามดังนี้คะ
1. พระราชกฤษฎีกาฉบับข้างต้นลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30/8/59
ถ้าบริษัทลูกไปจดเป็น "วิสาหกิจเพื่อสังคม" หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น จะยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 ย้อนหลังหรือไม่?
2. ตามมาตรา 8 ข้อ 6 ข้างต้น ถ้าตีความจากข้อ 6 หมายถึง "บริษัทลูกต้องไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น" อันนี้เข้าใจถูกหรือไม่?
3. เงินค่าสนับสนุนที่บริษัทแม่จ่ายให้กับบริษัทลูกนั้น บริษัทแม่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวนหรือไม่?
ขอบพระคุณคะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ wesuporn
ต่อข้อถามขอเรียนว่า
1. ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 ซึ่งลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 สิงหาคม 2559 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2559 นั้น บัญญัติว่า
"มาตรา ๔ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม สำหรับกำไรสุทธิของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่นำผลกำไรทั้งหมดในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไปลงทุนในกิจการหรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่น ๆ โดยไม่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๔) (ข) และ (ง) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน
การลงทุนในกิจการหรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสหรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่น ๆ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด"
ดังนั้น เมื่อบริษัทลูกไปจดเป็น "วิสาหกิจเพื่อสังคม" หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น ย่อมได้รับจะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 ย้อนหลังไปตลอดทั้งรอบระยะเวลาบัญชี
2. ตามมาตรา 8 (6) บัญญัติว่า
"(6) ไม่เป็นคู่สัญญากับผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน และไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน รวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน เว้นแต่ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด"
หมายถึง "บริษัทลูกที่เป็น "วิสาหกิจเพื่อสังคม" ต้องไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น" เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะได้ประกาศกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (ยังไม่ออก)
3. เงินค่าสนับสนุนที่บริษัทแม่จ่ายให้กับบริษัทลูกนั้น มีข้อกำหนดบริษัทแม่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 ดังนี้
3.1 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลบ ให้แก่บริษัทแม่ สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยของเงินลงทุนในหุ้นสามัญของวิสาหกิจเพื่อสังคมซึ่งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา 8 (1)(2)(3)(4)(6)(7) และ (8)
ในกรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) และ (ง) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่าร้อยละสามสิบของกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งได้โอนหุ้นก่อนวิสาหกิจเพื่อสังคมเลิกกัน ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นหมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรานี้ และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้นำจำนวนเงินลงทุนไปยกเว้นภาษีเงินได้นั้น
(มาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559)
3.2 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่าจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์สินที่โอนให้วิสาหกิจเพื่อสังคมซึ่งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา 8 (1)(2)(3)(5)(6)(7) และ (8) โดยไม่มีค่าตอบแทน แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสองของกำไรสุทธิ
ในกรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) และ (ง) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง
(มาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559)
ต่อข้อถามขอเรียนว่า
1. ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 ซึ่งลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 สิงหาคม 2559 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2559 นั้น บัญญัติว่า
"มาตรา ๔ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม สำหรับกำไรสุทธิของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่นำผลกำไรทั้งหมดในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไปลงทุนในกิจการหรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่น ๆ โดยไม่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๔) (ข) และ (ง) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน
การลงทุนในกิจการหรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสหรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่น ๆ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด"
ดังนั้น เมื่อบริษัทลูกไปจดเป็น "วิสาหกิจเพื่อสังคม" หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น ย่อมได้รับจะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 ย้อนหลังไปตลอดทั้งรอบระยะเวลาบัญชี
2. ตามมาตรา 8 (6) บัญญัติว่า
"(6) ไม่เป็นคู่สัญญากับผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน และไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน รวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน เว้นแต่ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด"
หมายถึง "บริษัทลูกที่เป็น "วิสาหกิจเพื่อสังคม" ต้องไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น" เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะได้ประกาศกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (ยังไม่ออก)
3. เงินค่าสนับสนุนที่บริษัทแม่จ่ายให้กับบริษัทลูกนั้น มีข้อกำหนดบริษัทแม่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 ดังนี้
3.1 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลบ ให้แก่บริษัทแม่ สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยของเงินลงทุนในหุ้นสามัญของวิสาหกิจเพื่อสังคมซึ่งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา 8 (1)(2)(3)(4)(6)(7) และ (8)
ในกรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) และ (ง) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่าร้อยละสามสิบของกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งได้โอนหุ้นก่อนวิสาหกิจเพื่อสังคมเลิกกัน ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นหมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรานี้ และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้นำจำนวนเงินลงทุนไปยกเว้นภาษีเงินได้นั้น
(มาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559)
3.2 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่าจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์สินที่โอนให้วิสาหกิจเพื่อสังคมซึ่งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา 8 (1)(2)(3)(5)(6)(7) และ (8) โดยไม่มีค่าตอบแทน แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสองของกำไรสุทธิ
ในกรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) และ (ง) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง
(มาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559)
ตอบเมื่อ 11 ก.ย. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ