กรณีเหตุอันสมควรตาม คำสั่ง ป.50/2537(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่ง ป.152/2558)
ถามวันที่ 1 ก.ย. 2559 . ถามโดย boonruk888 . เข้าชม 15 ครั้ง
กรณีเหตุอันสมควรตาม คำสั่ง ป.50/2537(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่ง ป.152/2558)
ถามวันที่ 1 ก.ย. 2559 . ถามโดย boonruk888 . เข้าชม 15 ครั้ง
กราบเรียนอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ผมใคร่ขอสอบถามกรณีการยื่นแบบแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2559 เนื่องด้วยได้นำรายจ่ายที่สามารถหักได้เพิ่มตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) ไปหักจากประมาณการกำไรสุทธิ ทำให้ประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ถือเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่
กรณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2557 เป็นระยะเวลา 3 ปีเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน โดยไม่รวมที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนนั้น การยื่นแบบแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี เนื่องจากได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประกาศคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ทำให้ประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ถือเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่
กราบเรียนอาจารย์มาด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
ผมใคร่ขอสอบถามกรณีการยื่นแบบแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2559 เนื่องด้วยได้นำรายจ่ายที่สามารถหักได้เพิ่มตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) ไปหักจากประมาณการกำไรสุทธิ ทำให้ประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ถือเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่
กรณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2557 เป็นระยะเวลา 3 ปีเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน โดยไม่รวมที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนนั้น การยื่นแบบแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี เนื่องจากได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประกาศคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ทำให้ประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ถือเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่
กราบเรียนอาจารย์มาด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
1 คำตอบ
เรียน อาจารย์ boonruk888
ต้องขอเรียนว่า คำถามของอาจารย์ boonruk888 แต่ละคำถาม ทำให้ผมต้องสะอึก สะดุ้ง หวั่นไหวได้ทุกครั้ง เพราะความลุ่มลึกในคำถามของผู้ปฎิบัติที่แท้จริง ต้องการแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน ขอแสดงความนับถือ และเรียกเป็น "อาจารย์" ด้วยความจริงใจครับ
1. กรณีการยื่นแบบแสดงประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2559 เนื่องจากได้นำรายได้ที่รับยกเว้นจากรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ที่สามารถหักได้เพิ่มตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2558 ไปหักจากออกจากประมาณการกำไรสุทธิ เป็นผลให้ประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว หากประมาณการดังกล่าวเป็นขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 เนื่องจาก ตามเงื่อนไขกรณีมีเหตุอันสมควรตามข้อ 1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 50/2537 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 152/2558 ใช้บังคับในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป) กำหนดว่า
"(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี”
ดังนั้น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) จะจัดอยู่ในข่าย "เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี" ด้วย
(ต้องขอโทษ ขอแก้ไข คำตอบเดิมที่เคยตอบผิด" โดยข้อท้วงติงของอาจารย์บุญรักษ์ และขอขอบคุณอาจารย์บุญรักษ์ เป็นอย่างสูง)
2. กรณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2557 เป็นระยะเวลา 3 ปีเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน โดยไม่รวมที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน นั้น หากกิจการมีเฉพาะรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้กิจการไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระ เพราะได้รับยกเว้นตามสิทธิประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุน กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่า การยื่นแบบแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด เพราะไม่มีฐานที่เรียกเก็บเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ต้องขอเรียนว่า คำถามของอาจารย์ boonruk888 แต่ละคำถาม ทำให้ผมต้องสะอึก สะดุ้ง หวั่นไหวได้ทุกครั้ง เพราะความลุ่มลึกในคำถามของผู้ปฎิบัติที่แท้จริง ต้องการแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน ขอแสดงความนับถือ และเรียกเป็น "อาจารย์" ด้วยความจริงใจครับ
1. กรณีการยื่นแบบแสดงประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2559 เนื่องจากได้นำรายได้ที่รับยกเว้นจากรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ที่สามารถหักได้เพิ่มตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2558 ไปหักจากออกจากประมาณการกำไรสุทธิ เป็นผลให้ประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว หากประมาณการดังกล่าวเป็นขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 เนื่องจาก ตามเงื่อนไขกรณีมีเหตุอันสมควรตามข้อ 1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 50/2537 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 152/2558 ใช้บังคับในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป) กำหนดว่า
"(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี”
ดังนั้น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) จะจัดอยู่ในข่าย "เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี" ด้วย
(ต้องขอโทษ ขอแก้ไข คำตอบเดิมที่เคยตอบผิด" โดยข้อท้วงติงของอาจารย์บุญรักษ์ และขอขอบคุณอาจารย์บุญรักษ์ เป็นอย่างสูง)
2. กรณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2557 เป็นระยะเวลา 3 ปีเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน โดยไม่รวมที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน นั้น หากกิจการมีเฉพาะรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้กิจการไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระ เพราะได้รับยกเว้นตามสิทธิประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุน กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่า การยื่นแบบแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด เพราะไม่มีฐานที่เรียกเก็บเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ตอบเมื่อ 3 ก.ย. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ