พรฎ 604 และประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2557 (ตอนที่ 2)
ถามวันที่ 31 ส.ค. 2559 . ถามโดย boonruk888 . เข้าชม 9 ครั้ง
พรฎ 604 และประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2557 (ตอนที่ 2)
ถามวันที่ 31 ส.ค. 2559 . ถามโดย boonruk888 . เข้าชม 9 ครั้ง
6) ทรัพย์สินลงทุนที่ทำสัญญาเช่าซื้อในระหว่าง 3 พย 58-31 ธค 59 เนื่องจากเป็นรายจ่ายลงทุนที่ชำระเงินไปเพียงบางส่วน ไม่ได้ชำระจนครบทั้งหมด จะใช้ราคาใดเป็นรายจ่ายลงทุนที่จะใช้สิทธิประโยชน์ ระหว่างราคาทรัพย์สินรวมดอกเบี้ยเช่าซื้อ หรือราคาทรัพย์สินที่เป็นเงินสดไม่รวมดอกเบี้ย หรือค่างวดตามสัญญาเช่าซื้อรวมดอกเบี้ย หรือค่างวดตามสัญญาเช่าซื้อไม่รวมดอกเบี้ย
ตัวอย่าง เครื่องจักรมูลค่า 10 ล้าน ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 แสนบาท ทำสัญญาเช่าซื้อในเดือน พย 58 จำนวน 48 งวด ดอกเบี้ยตลอดสัญญาเช่าซื้อ 2 ล้านบาท เริ่มผ่อนชำระงวดแรกในเดือน ธค 58 จำนวนเงิน 267,500 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผ่อนชำระเจ้าหนี้สัญญาเช่าซื้อ (ต้นเงิน) 208,333.33 บาท
ผ่อนชำระดอกเบี้ยสัญญาเช่าซื้อ 41,666.67 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 17,500.00 บาท
7) ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2557 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ข้อ2 มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปีเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง ต้องยื่นขอรับการส่งเสริมฯ ภายในวันที่ 31 ธค 60 และต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปีนับจากวันที่ได้ออกบัตรส่งเสริม
กิจการเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภค มีโรงงานผลิตเพียง 1 แห่ง กิจการได้แบ่งแยก line การผลิตและระบบการบันทึกบัญชีแยกประเภทต้นทุนทางตรงระหว่างกิจการสินค้าอุปโภคเฉพาะอย่าง กับสินค้าอุปโภคทั่วไปออกจากกันอย่างชัดเจน ไม่มีการนำไปใช้ปะปนกัน แต่ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานร่วมอื่นๆ กิจการใช้วิธีปันส่วนค่าใช้จ่ายโดยใช้ฐานอย่างสมเหตุสมผล กิจการได้นำ line การผลิตสินค้าอุปโภคเฉพาะอย่างไปขอรับการส่งเสริมการลงทุน
7.1) กิจการแบ่งแยกรายจ่ายลงทุน โดยนำรายจ่ายลงทุน ต่อเติม ดัดแปลง หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินสำหรับกิจการผลิตสินค้าอุปโภคทั่วไป ไปขอใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 และนำรายจ่ายปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของ line การผลิตสินค้าอุปโภคเฉพาะอย่างไปขอเข้าโครงการรับการส่งเสริมการลงทุน โดยไม่ใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 ได้หรือไม่
7.2) การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีกิจการเข้าโครงการส่งเสริมฯ หมายความว่า ยกเว้นเฉพาะกรณีกิจการส่งเสริมฯ มีกำไรสุทธิ แต่หากว่าในระหว่างระยะเวลา 3 ปีกิจการส่งเสริมฯ มีทั้งกำไรบางปีและขาดทุนบางปี จะยกเว้นอย่างไร
7.3) กรณีกิจการส่งเสริมฯ มีกำไรสุทธิ แต่กิจการไม่ขอรับการส่งเสริมฯ มีขาดทุนสุทธิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กับการใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 จะเป็นอย่างไร
7.4) กิจการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ได้ลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท
ในปีที่ 1 กิจการส่งเสริมฯ มีกำไรสุทธิ 15 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งจำนวน ใช่หรือไม่
ในปีที่ 2 กิจการส่งเสริมฯ มีกำไรสุทธิ 25 ล้านบาท จะยังได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งจำนวน ใช่หรือไม่
ในปีสุดท้าย กิจการส่งเสริมฯ มีกำไรสุทธิ 30 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 10 ล้านบาท ต้องนำกำไรสุทธิ 20 ล้านบาทไปเสียภาษี (คำนวณมาจาก 100x50%=50 ปีที่1 ใช้ไป 15 ปีที่2 ใช้ไป 25 ปีสุดท้ายคงเหลือให้ใช้ได้ 10)
การคำนวณตามความเข้าใจข้างต้น ถูกต้องหรือไม่
7.5) หากกิจการส่งเสริมฯ ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ครบร้อยละ 50 ของรายจ่ายปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตภายในระยะเวลา 3 ปี เนื่องจากมีกำไรสุทธิน้อยกว่า หรือมีขาดทุนสุทธิบางปี สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ที่ยังไม่ได้ใช้ดังกล่าว จะสามารถนำไปทำอะไรได้หรือไม่
8) เนื่องด้วยขณะนี้มาตราการและข้อกำหนดของทั้ง 2 สิทธิประโยชน์ได้ประกาศออกมาอย่างชัดแจ้งแล้ว ในความคิดเห็นของอาจารย์ เห็นว่าสมควรแบ่งแยกขอใช้สิทธิประโยชน์ตามคำถามข้างต้น หรือควรเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 เพียงมาตรการเดียว เนื่องจากครอบคลุมการลงทุนทั้งหมด
ขอกราบเรียนอาจารย์มาด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
ตัวอย่าง เครื่องจักรมูลค่า 10 ล้าน ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 แสนบาท ทำสัญญาเช่าซื้อในเดือน พย 58 จำนวน 48 งวด ดอกเบี้ยตลอดสัญญาเช่าซื้อ 2 ล้านบาท เริ่มผ่อนชำระงวดแรกในเดือน ธค 58 จำนวนเงิน 267,500 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผ่อนชำระเจ้าหนี้สัญญาเช่าซื้อ (ต้นเงิน) 208,333.33 บาท
ผ่อนชำระดอกเบี้ยสัญญาเช่าซื้อ 41,666.67 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 17,500.00 บาท
7) ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2557 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ข้อ2 มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปีเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง ต้องยื่นขอรับการส่งเสริมฯ ภายในวันที่ 31 ธค 60 และต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปีนับจากวันที่ได้ออกบัตรส่งเสริม
กิจการเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภค มีโรงงานผลิตเพียง 1 แห่ง กิจการได้แบ่งแยก line การผลิตและระบบการบันทึกบัญชีแยกประเภทต้นทุนทางตรงระหว่างกิจการสินค้าอุปโภคเฉพาะอย่าง กับสินค้าอุปโภคทั่วไปออกจากกันอย่างชัดเจน ไม่มีการนำไปใช้ปะปนกัน แต่ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานร่วมอื่นๆ กิจการใช้วิธีปันส่วนค่าใช้จ่ายโดยใช้ฐานอย่างสมเหตุสมผล กิจการได้นำ line การผลิตสินค้าอุปโภคเฉพาะอย่างไปขอรับการส่งเสริมการลงทุน
7.1) กิจการแบ่งแยกรายจ่ายลงทุน โดยนำรายจ่ายลงทุน ต่อเติม ดัดแปลง หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินสำหรับกิจการผลิตสินค้าอุปโภคทั่วไป ไปขอใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 และนำรายจ่ายปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของ line การผลิตสินค้าอุปโภคเฉพาะอย่างไปขอเข้าโครงการรับการส่งเสริมการลงทุน โดยไม่ใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 ได้หรือไม่
7.2) การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีกิจการเข้าโครงการส่งเสริมฯ หมายความว่า ยกเว้นเฉพาะกรณีกิจการส่งเสริมฯ มีกำไรสุทธิ แต่หากว่าในระหว่างระยะเวลา 3 ปีกิจการส่งเสริมฯ มีทั้งกำไรบางปีและขาดทุนบางปี จะยกเว้นอย่างไร
7.3) กรณีกิจการส่งเสริมฯ มีกำไรสุทธิ แต่กิจการไม่ขอรับการส่งเสริมฯ มีขาดทุนสุทธิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กับการใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 จะเป็นอย่างไร
7.4) กิจการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ได้ลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท
ในปีที่ 1 กิจการส่งเสริมฯ มีกำไรสุทธิ 15 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งจำนวน ใช่หรือไม่
ในปีที่ 2 กิจการส่งเสริมฯ มีกำไรสุทธิ 25 ล้านบาท จะยังได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งจำนวน ใช่หรือไม่
ในปีสุดท้าย กิจการส่งเสริมฯ มีกำไรสุทธิ 30 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 10 ล้านบาท ต้องนำกำไรสุทธิ 20 ล้านบาทไปเสียภาษี (คำนวณมาจาก 100x50%=50 ปีที่1 ใช้ไป 15 ปีที่2 ใช้ไป 25 ปีสุดท้ายคงเหลือให้ใช้ได้ 10)
การคำนวณตามความเข้าใจข้างต้น ถูกต้องหรือไม่
7.5) หากกิจการส่งเสริมฯ ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ครบร้อยละ 50 ของรายจ่ายปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตภายในระยะเวลา 3 ปี เนื่องจากมีกำไรสุทธิน้อยกว่า หรือมีขาดทุนสุทธิบางปี สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ที่ยังไม่ได้ใช้ดังกล่าว จะสามารถนำไปทำอะไรได้หรือไม่
8) เนื่องด้วยขณะนี้มาตราการและข้อกำหนดของทั้ง 2 สิทธิประโยชน์ได้ประกาศออกมาอย่างชัดแจ้งแล้ว ในความคิดเห็นของอาจารย์ เห็นว่าสมควรแบ่งแยกขอใช้สิทธิประโยชน์ตามคำถามข้างต้น หรือควรเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 เพียงมาตรการเดียว เนื่องจากครอบคลุมการลงทุนทั้งหมด
ขอกราบเรียนอาจารย์มาด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
1 คำตอบ
เรียน อาจารย์ boonruk888
6) ทรัพย์สินลงทุนที่ทำสัญญาเช่าซื้อในระหว่าง 3 พ.ย. 2558 - 31 ธ.ค. 2559 นั้น เนื่องจากการเช่าซื้อเข้าลักษณะเป็นการซื้อขายอย่างหนึ่งในทางภาษีอากร ดังนั้น รายจ่ายลงทุนที่ชำระเงินไปเพียงบางส่วน ให้ใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 เฉพาะส่วนที่ได้จ่ายไปในระหว่าง 3 พ.ย. 2558 - 31 ธ.ค. 2559 เท่านั้น ได้แก่ เงินดาวน์ และค่างวดที่ได้จ่ายไปในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามตัวอย่าง บริษัทฯ เริ่มผ่อนชำระงวดแรกในเดือน ธ.ค. 2558 จำนวนเงิน 267,500 บาท ก็ย่อมได้สิทธิตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 โดยทันที มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่ปี 2558
สำหรับรอบระยะเาลาบัญชีปี 2559 ให้นำจำนวนค่าเช่าซื้อทีได้ผ่อนชำระไปเป็นจำนวน 267,500 x 12 ไปใช้สิทธิตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 โดยทันที มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่ปี 2559 อีกคำรบหนึ่ง
7) ตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 กำหนดว่า
"(5) ไม่เป็นทรัพย์สินที่นําไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่เป็นการนําไปใช้ในโครงการตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น"
ดังนั้น กิจการจึงไม่อาจแบ่งแยกรายจ่ายลงทุน โดยนำรายจ่ายลงทุน ต่อเติม ดัดแปลง หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินสำหรับกิจการผลิตสินค้าอุปโภคทั่วไป ไปขอใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 และนำรายจ่ายปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของ line การผลิตสินค้าอุปโภคเฉพาะอย่างไปขอเข้าโครงการรับการส่งเสริมการลงทุน โดยไม่ใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 เพราะไม่เป็นไปตามลักษณะของทรัพย์สินตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559
8) กรณีเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ไม่สามารถเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ได้เลยครับ กฎหมายให้สิทธิเฉพาะกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น
6) ทรัพย์สินลงทุนที่ทำสัญญาเช่าซื้อในระหว่าง 3 พ.ย. 2558 - 31 ธ.ค. 2559 นั้น เนื่องจากการเช่าซื้อเข้าลักษณะเป็นการซื้อขายอย่างหนึ่งในทางภาษีอากร ดังนั้น รายจ่ายลงทุนที่ชำระเงินไปเพียงบางส่วน ให้ใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 เฉพาะส่วนที่ได้จ่ายไปในระหว่าง 3 พ.ย. 2558 - 31 ธ.ค. 2559 เท่านั้น ได้แก่ เงินดาวน์ และค่างวดที่ได้จ่ายไปในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามตัวอย่าง บริษัทฯ เริ่มผ่อนชำระงวดแรกในเดือน ธ.ค. 2558 จำนวนเงิน 267,500 บาท ก็ย่อมได้สิทธิตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 โดยทันที มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่ปี 2558
สำหรับรอบระยะเาลาบัญชีปี 2559 ให้นำจำนวนค่าเช่าซื้อทีได้ผ่อนชำระไปเป็นจำนวน 267,500 x 12 ไปใช้สิทธิตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 โดยทันที มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่ปี 2559 อีกคำรบหนึ่ง
7) ตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 กำหนดว่า
"(5) ไม่เป็นทรัพย์สินที่นําไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่เป็นการนําไปใช้ในโครงการตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น"
ดังนั้น กิจการจึงไม่อาจแบ่งแยกรายจ่ายลงทุน โดยนำรายจ่ายลงทุน ต่อเติม ดัดแปลง หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินสำหรับกิจการผลิตสินค้าอุปโภคทั่วไป ไปขอใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 และนำรายจ่ายปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของ line การผลิตสินค้าอุปโภคเฉพาะอย่างไปขอเข้าโครงการรับการส่งเสริมการลงทุน โดยไม่ใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 เพราะไม่เป็นไปตามลักษณะของทรัพย์สินตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559
8) กรณีเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ไม่สามารถเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ได้เลยครับ กฎหมายให้สิทธิเฉพาะกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น
ตอบเมื่อ 10 ก.ย. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ