พรฎ 604 และประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2557 (ตอนที่ 1)
ถามวันที่ 31 ส.ค. 2559 . ถามโดย boonruk888 . เข้าชม 14 ครั้ง
พรฎ 604 และประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2557 (ตอนที่ 1)
ถามวันที่ 31 ส.ค. 2559 . ถามโดย boonruk888 . เข้าชม 14 ครั้ง
กราบเรียนอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ผมใคร่ขอสอบถามสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ 2 มาตรการที่ออกมาซ้อนทับสิทธิประโยชน์ของกันและกัน ดังนี้
1) กรณีรายจ่ายลงทุนใน เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องตกแต่งหรือเฟอร์นิเจอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และยานพาหนะ หากเป็นรายการสั่งซื้อจากต่างประเทศ จะสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 ได้หรือไม่
2) รายจ่ายลงทุนตาม ข้อ1 ซึ่งได้สั่งซื้อและจ่ายเงินไปในระหว่าง 3 พย 58-31 ธค 59 โดยมีเอกสารหลักฐานแนบรายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้สิทธิตามมาตรา 3 อาทิ ใบสำคัญจ่าย ใบเสนอราคา ใบส่งของ ใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงิน แต่ไม่มีใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน จะสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 ได้หรือไม่
3) รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์กลุ่มอาคารถาวร หากมีเอกสารแนบดังเช่น ข้อ2 จะสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 ได้หรือไม่
4) การกั้นห้องปฏิบัติงานใหม่ ต่อเติมขยายห้องประชุม ดัดแปลงปรับปรุงห้องรับรองเป็นห้องประชุม ซึ่งทำให้ใช้ประโยชน์ของห้องได้ดีกว่าเดิม ปรับปรุงทำให้ดีขึ้นซึ่งเส้นทางสัญจรภายในอาคารโรงงาน ทำให้การขนย้ายสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ดัดแปลงปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องจักรให้มีประสิทธิผลมากขึ้น เป็นต้น รายจ่ายเหล่านี้ถือเป็นการต่อเติม ดัดแปลง ทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินตาม พรฎ 604 หรือไม่
5) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม พรฎ 604 ถือตามคำนิยามของคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม พรฎ 145(แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรฎ 473) ใช่หรือไม่
1) กรณีรายจ่ายลงทุนใน เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องตกแต่งหรือเฟอร์นิเจอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และยานพาหนะ หากเป็นรายการสั่งซื้อจากต่างประเทศ จะสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 ได้หรือไม่
2) รายจ่ายลงทุนตาม ข้อ1 ซึ่งได้สั่งซื้อและจ่ายเงินไปในระหว่าง 3 พย 58-31 ธค 59 โดยมีเอกสารหลักฐานแนบรายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้สิทธิตามมาตรา 3 อาทิ ใบสำคัญจ่าย ใบเสนอราคา ใบส่งของ ใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงิน แต่ไม่มีใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน จะสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 ได้หรือไม่
3) รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์กลุ่มอาคารถาวร หากมีเอกสารแนบดังเช่น ข้อ2 จะสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 ได้หรือไม่
4) การกั้นห้องปฏิบัติงานใหม่ ต่อเติมขยายห้องประชุม ดัดแปลงปรับปรุงห้องรับรองเป็นห้องประชุม ซึ่งทำให้ใช้ประโยชน์ของห้องได้ดีกว่าเดิม ปรับปรุงทำให้ดีขึ้นซึ่งเส้นทางสัญจรภายในอาคารโรงงาน ทำให้การขนย้ายสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ดัดแปลงปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องจักรให้มีประสิทธิผลมากขึ้น เป็นต้น รายจ่ายเหล่านี้ถือเป็นการต่อเติม ดัดแปลง ทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินตาม พรฎ 604 หรือไม่
5) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม พรฎ 604 ถือตามคำนิยามของคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม พรฎ 145(แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรฎ 473) ใช่หรือไม่
1 คำตอบ
เรียน อาจารย์ boonruk888
เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ 2 มาตรการที่ออกมาซ้อนทับสิทธิประโยชน์ของกันและกัน ดังนี้
1) กรณีรายจ่ายลงทุนใน เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องตกแต่งหรือเฟอร์นิเจอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และยานพาหนะ หากเป็นรายการสั่งซื้อจากต่างประเทศ จะสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 ได้ เพราะไม่มีข้อห้ามกรณีดังกล่าว เพียงแต่ต้องเป็นทรัพย์สินที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
2) รายจ่ายลงทุนตาม ข้อ1 ซึ่งได้สั่งซื้อและจ่ายเงินไปในระหว่าง 3 พ.ย. 2558 - 31 ธ.ค. 2559 โดยมีเอกสารหลักฐานแนบรายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้สิทธิตามมาตรา 3 อาทิ ใบสำคัญจ่าย ใบเสนอราคา ใบส่งของ ใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงิน แต่ไม่มีใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน นั้น เนื่องจากตามเงื่อนไขต้องพิสูจน์ว่า มีการสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น หากกิจการสามารถพิสูจน์ได้อย่างน่าเชื่อถือได้วา มีการสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน เป้นทางวาจา หรือทางอื่น อาทิ อินเทอร์เน็ต ในช่วงเวลาดังกล่าว ก็ย่อมสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ได้ เพียงแต่อาจต้องมีความยุ่งยากกว่าการมีหลักฐานดังกล่าวโดยชัดแจ้ง
3) รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์กลุ่มอาคารถาวร และเครื่องจักร นั้น ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 622) พ.ศ. 2559
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน (2) ของมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เป็นทรัพย์สินที่นํามาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยทรัพย์สินนั้นต้องได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การตามประสงค์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เว้นแต่ทรัพย์สินเฉพาะเครื่องจักรตามมาตรา 3 (1) และอาคารถาวร ตามมาตรา 3 (4) ที่อาจได้มาหรืออยู่ในสภาพพร้อมใช้การตามประสงค์ภายหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ก็ได้”
กรณีที่มีเอกสารแนบดังเช่น ข้อ 2 จะสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ได้ก็ต่อเมื่อบริษัทฯ สามารถพิสูจน์ได้อย่างน่าเชื่อถือได้วา มีการสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน เป้นทางวาจา หรือทางอื่น อาทิ อินเทอร์เน็ต ในช่วงเวลาดังกล่าว
4) การกั้นห้องปฏิบัติงานใหม่ ต่อเติมขยายห้องประชุม ดัดแปลงปรับปรุงห้องรับรองเป็นห้องประชุม ซึ่งทำให้ใช้ประโยชน์ของห้องได้ดีกว่าเดิม ปรับปรุงทำให้ดีขึ้นซึ่งเส้นทางสัญจรภายในอาคารโรงงาน ทำให้การขนย้ายสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ดัดแปลงปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องจักรให้มีประสิทธิผลมากขึ้น เป็นต้น รายจ่ายเหล่านี้ถือเป็นการต่อเติม ดัดแปลง ทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 เนื่องจากเป็นรายจ่ายที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ณ วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม
5) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ถือตามคำนิยามของคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 (แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 ถูกต้องแล้วครับ
เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ 2 มาตรการที่ออกมาซ้อนทับสิทธิประโยชน์ของกันและกัน ดังนี้
1) กรณีรายจ่ายลงทุนใน เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องตกแต่งหรือเฟอร์นิเจอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และยานพาหนะ หากเป็นรายการสั่งซื้อจากต่างประเทศ จะสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พรฎ 604 ได้ เพราะไม่มีข้อห้ามกรณีดังกล่าว เพียงแต่ต้องเป็นทรัพย์สินที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
2) รายจ่ายลงทุนตาม ข้อ1 ซึ่งได้สั่งซื้อและจ่ายเงินไปในระหว่าง 3 พ.ย. 2558 - 31 ธ.ค. 2559 โดยมีเอกสารหลักฐานแนบรายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้สิทธิตามมาตรา 3 อาทิ ใบสำคัญจ่าย ใบเสนอราคา ใบส่งของ ใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงิน แต่ไม่มีใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน นั้น เนื่องจากตามเงื่อนไขต้องพิสูจน์ว่า มีการสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น หากกิจการสามารถพิสูจน์ได้อย่างน่าเชื่อถือได้วา มีการสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน เป้นทางวาจา หรือทางอื่น อาทิ อินเทอร์เน็ต ในช่วงเวลาดังกล่าว ก็ย่อมสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ได้ เพียงแต่อาจต้องมีความยุ่งยากกว่าการมีหลักฐานดังกล่าวโดยชัดแจ้ง
3) รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์กลุ่มอาคารถาวร และเครื่องจักร นั้น ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 622) พ.ศ. 2559
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน (2) ของมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เป็นทรัพย์สินที่นํามาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยทรัพย์สินนั้นต้องได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การตามประสงค์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เว้นแต่ทรัพย์สินเฉพาะเครื่องจักรตามมาตรา 3 (1) และอาคารถาวร ตามมาตรา 3 (4) ที่อาจได้มาหรืออยู่ในสภาพพร้อมใช้การตามประสงค์ภายหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ก็ได้”
กรณีที่มีเอกสารแนบดังเช่น ข้อ 2 จะสามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ได้ก็ต่อเมื่อบริษัทฯ สามารถพิสูจน์ได้อย่างน่าเชื่อถือได้วา มีการสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน เป้นทางวาจา หรือทางอื่น อาทิ อินเทอร์เน็ต ในช่วงเวลาดังกล่าว
4) การกั้นห้องปฏิบัติงานใหม่ ต่อเติมขยายห้องประชุม ดัดแปลงปรับปรุงห้องรับรองเป็นห้องประชุม ซึ่งทำให้ใช้ประโยชน์ของห้องได้ดีกว่าเดิม ปรับปรุงทำให้ดีขึ้นซึ่งเส้นทางสัญจรภายในอาคารโรงงาน ทำให้การขนย้ายสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ดัดแปลงปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องจักรให้มีประสิทธิผลมากขึ้น เป็นต้น รายจ่ายเหล่านี้ถือเป็นการต่อเติม ดัดแปลง ทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 เนื่องจากเป็นรายจ่ายที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ณ วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม
5) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ถือตามคำนิยามของคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 (แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 ถูกต้องแล้วครับ
ตอบเมื่อ 10 ก.ย. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ