ค่าเสื่อมราคาอาคาร ตีอายุการใช้งานเพิ่ม
ถามวันที่ 30 ส.ค. 2559 . ถามโดย jittima.ve . เข้าชม 11 ครั้ง
ค่าเสื่อมราคาอาคาร ตีอายุการใช้งานเพิ่ม
ถามวันที่ 30 ส.ค. 2559 . ถามโดย jittima.ve . เข้าชม 11 ครั้ง
บริษัท ก. มีอาคารมูลค่า 10 ล้านบาท คิดค่าเสื่อมราคาเส้นตรง 20 ปี
ปีละ 500,000 บาท จนกระทั่ง ปีที่ 16 มีการตีอายุการใช้งานอาคาร ว่าสามารถใช้งานได้อีก 10 ปี จึงนำ B.V.ที่เหลือ คือ 2,5000,000 บาท หาร 10 ปี
ลงบัญชีค่าเสื่อมราคา ปีละ 250,000 บาท
สอบถามอาจารย์ว่า
1.บริษัท ก. ลงรายจ่ายค่าเสื่อมทางบัญชี ปีที่ 16-20 ปีละ 250,000 บาท
แล้วกรอกแบบ ภงด. 50 หักรายจ่ายค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้นในทางภาษี อีก 250,000 บาท ให้เท่ากับวิธีการคำนวณตามอายุการใช้งานเดิม ถูกต้องหรือไม่
2. ปีที่ 21-25 บริษัท ก. ลงรายจ่ายค่าเสื่อมราคาอาคาร ทางบัญชีต่อไป อีกปีละ 250,000 บาท ตามการตีอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้น แล้วกรอกแบบ ภงด.50
บวกกลับเป็นรายจ่ายต้องห้าม เพราะ ทางภาษีใช้ครบ 20 ปีแล้ว
ถูกต้องหรือไม่
หรือ 3. หากการตีอายุเพิ่ม ทำให้บริษัท ก. ลงรายจ่ายค่าเสื่อม
ต่ำเอง คือ 250,0000 บาท ทางภาษีก็ยังให้ตามบัญชี คือ 250,000 บาท
โดยบริษัท ก. ไม่มีสิทธิ์หักเป็นรายจ่ายเพิ่มในทางภาษี
อีกทั้ง ยังคงลงเป็นรายจ่ายค่าเสื่อมราคาได้ทั้งทางบัญชีและภาษี
ในปีที่ 20-25 ปีละ 250,0000 โดยไม่ต้องปรับปรุงใดๆ ทั้งสิ้นคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ
ปีละ 500,000 บาท จนกระทั่ง ปีที่ 16 มีการตีอายุการใช้งานอาคาร ว่าสามารถใช้งานได้อีก 10 ปี จึงนำ B.V.ที่เหลือ คือ 2,5000,000 บาท หาร 10 ปี
ลงบัญชีค่าเสื่อมราคา ปีละ 250,000 บาท
สอบถามอาจารย์ว่า
1.บริษัท ก. ลงรายจ่ายค่าเสื่อมทางบัญชี ปีที่ 16-20 ปีละ 250,000 บาท
แล้วกรอกแบบ ภงด. 50 หักรายจ่ายค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้นในทางภาษี อีก 250,000 บาท ให้เท่ากับวิธีการคำนวณตามอายุการใช้งานเดิม ถูกต้องหรือไม่
2. ปีที่ 21-25 บริษัท ก. ลงรายจ่ายค่าเสื่อมราคาอาคาร ทางบัญชีต่อไป อีกปีละ 250,000 บาท ตามการตีอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้น แล้วกรอกแบบ ภงด.50
บวกกลับเป็นรายจ่ายต้องห้าม เพราะ ทางภาษีใช้ครบ 20 ปีแล้ว
ถูกต้องหรือไม่
หรือ 3. หากการตีอายุเพิ่ม ทำให้บริษัท ก. ลงรายจ่ายค่าเสื่อม
ต่ำเอง คือ 250,0000 บาท ทางภาษีก็ยังให้ตามบัญชี คือ 250,000 บาท
โดยบริษัท ก. ไม่มีสิทธิ์หักเป็นรายจ่ายเพิ่มในทางภาษี
อีกทั้ง ยังคงลงเป็นรายจ่ายค่าเสื่อมราคาได้ทั้งทางบัญชีและภาษี
ในปีที่ 20-25 ปีละ 250,0000 โดยไม่ต้องปรับปรุงใดๆ ทั้งสิ้นคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ
1 คำตอบ
เรียน คุณ jittima.ve
กรณีบริษัท ก. ตีราคาอาคารเพิ่ม นั้นตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดเงื่อนไขในการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นดังนี้
"(3) ราคาทรัพย์สินอื่นนอกจาก (6) (- สินค้าคงเหลือ) ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติ และในกรณีที่มีการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ห้ามมิให้นำราคาที่ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ส่วนทรัพย์สินรายการใดมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ก็ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยให้หักเพียงเท่าที่ระยะเวลา และมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น"
ดังนั้น
1. บริษัท ก. ลงรายจ่ายค่าสึกหรอและค่าเสื่อมทางบัญชี ปีที่ 16-20 ปีละ 250,000 บาท แต่ในการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50 บริษัทฯ ยังคงต้องใช้อัตราค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามอัตราเดิม ดังน้น จึงต้องคำนวณหักรายจ่ายค่าสึกหรือและค่าเสื่อมราคาในทางภาษีเพิ่มขึ้นอีก 250,000 บาท ให้เท่ากับวิธีการคำนวณตามอายุการใช้งานเดิม ถูกต้องแล้ว เพราะบริษัทฯ ไม่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
2. สำหรับปีที่ 21-25 บริษัท ก. ลงรายจ่ายค่าเสื่อมราคาอาคาร ทางบัญชีต่อไป อีกปีละ 250,000 บาท ตามการตีอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้น แต่ในการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50 บริษัทฯ ต้องบวกกลับเป็นรายจ่ายต้องห้าม เพราะ ทางภาษีใช้ครบ 20 ปีแล้ว ถูกต้องแล้ว
3. ได้ตอบให้ตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว
กรณีบริษัท ก. ตีราคาอาคารเพิ่ม นั้นตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดเงื่อนไขในการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นดังนี้
"(3) ราคาทรัพย์สินอื่นนอกจาก (6) (- สินค้าคงเหลือ) ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติ และในกรณีที่มีการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ห้ามมิให้นำราคาที่ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ส่วนทรัพย์สินรายการใดมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ก็ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยให้หักเพียงเท่าที่ระยะเวลา และมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น"
ดังนั้น
1. บริษัท ก. ลงรายจ่ายค่าสึกหรอและค่าเสื่อมทางบัญชี ปีที่ 16-20 ปีละ 250,000 บาท แต่ในการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50 บริษัทฯ ยังคงต้องใช้อัตราค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามอัตราเดิม ดังน้น จึงต้องคำนวณหักรายจ่ายค่าสึกหรือและค่าเสื่อมราคาในทางภาษีเพิ่มขึ้นอีก 250,000 บาท ให้เท่ากับวิธีการคำนวณตามอายุการใช้งานเดิม ถูกต้องแล้ว เพราะบริษัทฯ ไม่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
2. สำหรับปีที่ 21-25 บริษัท ก. ลงรายจ่ายค่าเสื่อมราคาอาคาร ทางบัญชีต่อไป อีกปีละ 250,000 บาท ตามการตีอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้น แต่ในการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50 บริษัทฯ ต้องบวกกลับเป็นรายจ่ายต้องห้าม เพราะ ทางภาษีใช้ครบ 20 ปีแล้ว ถูกต้องแล้ว
3. ได้ตอบให้ตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว
ตอบเมื่อ 11 ก.ย. 2559 . ตอบโดย อจ.สุเทพ