ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

กิจการ consortium

ถามวันที่ 18 ส.ค. 2559  .  ถามโดย preeyanuchsriyai  .  เข้าชม 10 ครั้ง

องค์การเภสัชกรรม​ได้ว่าจ้าง บริษัทไทย และ บริษัทอินเดีย ให้วางระบบภายใน โดย บ.ไทยและ บ.อินเดีย ทำงานร่วมกัน ในลักษณะ consortium สัญญาจ้างงานดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างรวม โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าแต่ละบริษัททำหน้าที่อะไร เมื่อถึงเวลาเรียกเก็บเงิน บ.ไทย ทำ invoice มาเรียกเก็บโดยมี vat แต่ invoice ของ บ.อินเดีย ไม่มี vat จึงขอเรียนถาม อ.สุเทพ ค่ะ
1. consortium ดังกล่าว ต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในลักษณะเดียวกับ join venture หรือไม่
2. องค์การเภสัชฯ ต้องออกใบเสร็จรับเงินและหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย อย่างไร
3. consortium ต้องออกใบกำกับภาษีอย่างไร

ขอบคุณมากค่ะ

1 คำตอบ
เรียน คุณ preeyanuchsriyai

ตามที่องค์การเภสัชกรรม​ได้ว่าจ้าง บริษัทไทย และ บริษัทอินเดีย ให้วางระบบภายใน โดย บ.ไทยและ บ.อินเดีย ทำงานร่วมกัน ในลักษณะ consortium สัญญาจ้างงานดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างรวม โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าแต่ละบริษัททำหน้าที่อะไร นั้น
1. ตามข้อเท็จจริงที่แจ้งไป การใช้ชื่อ consortium ดังกล่าว อาจไม่ถูกต้อง เพราะลักษณะของการรับจ้างทำงานที่ไม่แบ่งแยกให้ชัดเจนว่า งานส่วนใดเป็นของบริษัทใด ย่อมเข้าลักษณะเป็นกิจการร่วมค้า (Join Venture) ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกิจการร่วมค้าต้องมีและใช้เลขประจำตัว และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในนามของกิจการร่วมค้า
แต่ถ้าข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ ก็ต้องทำความเข้าใจกันใหม่
หากเป็น Consortium ที่มีการแบ่งแยกงานกันชัดแจ้ง การปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีมุลค่าเพิ่มของทั้งบริษัทไทย และบริษัทอินเดีย นั้นถูกต้องแล้ว เนื่องจากบริษัทอินเดียเข้ามาประกอบกิจการในประเ่ทศไทยเป็นการชั่วคราว โดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่อาจเรียกเก็บภาษีมูลค่เพิ่มจากองค์การเภสัชกรรมได้ หากแต่องค์การเภสัชกรรมมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ด้วยแบบ ภ.พ.36 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายค้าสินจ้างดังกล่าว และสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นำส่งมาถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีที่ได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นได้ ตามมาตรา 77/1 (18) แห่งประมวลรัษฎากร

2. เกี่ยวกันหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(1) สำหรับผู้รับจ้างที่เป็นบริษัทไทย หรือกิจการร่วมค้า องค์การเภสัชฯ มีหน้าที่ตอ้งคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 1.0 ของเงินได้ที่จ่ายแต่ละคราว และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้
(2) สำหรับผู้รับจ้างที่เป็นบริษัทอินเดีย (กรณีเข้าลักษณะเป็น Consortium) ให้พิจารณาว่า บริษัทอินเดียมีสถานประกอบการถาวร (Permanent Establishment) ในประเทศไทย ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย หรือไม่
- หากไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย บริษัทอินเดียไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย สำหรับรายที่เป็น "กำไรจากธุรกิจ" (Business Profit) แต่อย่างใด
- หากมีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย องค์การเภสัชฯ มีหน้าที่ตอ้งคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 1.0 ของเงินได้ที่จ่ายแต่ละคราว และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้ เช่นเดียวกับการจ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทไทย
3. consortium คือ การเข้าร่วมประมูลงาน แต่แบ่งแยกงานกันทำโดยชัดแจ้งของ Consortium แต่ละฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ต้องออกใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บค่าบริการจากองค์การเภสัช แขกต่างหากจากกัน สำหรับบริษัทไทย มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี เพราะเป็นบริษัทจดทะเบียน ส่วนบริษัทอินเดียไม่มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี เพราะเข้ามาประกอบกิจการในประเทศทไทย โดยมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบเมื่อ 22 ส.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ