ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมสำเร็จรูป จากต่างประเทศ มาใช้ในไทย

วันที่ 7 ม.ค. 2562  .  เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster  .  เข้าชม 6 ครั้ง

Inbox: เสาร์ 5 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 21:41 น.
คุณ PinyaPinn Wong
เรียนสอบถาม อจ.สุเทพ คะ.
กรณีบริษัท A ในไทย เป็นตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมสำเร็จรูป ได้ซื้อโปรแกรมสำเร็จจาก อินเดียมา ถามดังนี้
1. ทางอินเดียเปิดบิลต้องมี VAT หรือไม่คะ ถ้าเค้าเปิดแบบไม่มี VAT มา เรานำมาถือเป็นต้นทุนเลยใช่หรือคะ
2. ถ้า ทางอินเดียเปิดมี VAT มาเราขอคืน VAT ได้หรือไม่คะ
3. เวลาโอนจ่ายค่าโปรแกรม เราต้องมีภาระภาษี อะไรหรือไม่คะ
4. บริษัท A ต้องมีหน้าที่นำส่งภาษี. หรือ จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า หรือไม่อย่างไร
หมายเหตุ โปรแกรม ที่อินเดียส่งให้จะเป็นการรีโมท มาลงโปรแกรมให้ลูกค้าในไทยของเราโดยตรงเลยคะ เราจะได้ส่วนต่างราคา ที่เราเสนอขายให้ลูกค้า
ขอบพระคุณค่า

1 คำตอบ
วิสัชนา:
กรณีบริษัท A ในไทย เป็นตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมสำเร็จรูป ได้ซื้อโปรแกรมสำเร็จจากบริษัทในประเทศอินเดียมา โดยโปรแกรมสำเร็จรูปที่ส่งให้จะเป็นการรีโมท มาลงโปรแกรมให้ลูกค้าในไทยของเราโดยตรง บริษัทฯ จะได้ส่วนต่างราคาที่เสนอขายให้ลูกค้า นั้น กรณีดังกล่าวถือเป็นค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) เข้าลักษณะเป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ที่จัดเป็น
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถือเป็นงาน
วรรณกรรมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังนั้น ค่าตอบแทนในการใช้โปรแกรม
สำเร็จรูป (Software) จึงเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนการใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ซึ่งถือเป็นค่าสิทธิ (Royalties) ตามข้อ 12 แห่งอนุสัญญาฯ เมื่อ บริษัท A จ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวให้แก่ บริษัทแห่งประเทศอินเดีย ซึ่งไม่มีสำนักงานสาขาหรือตัวแทนในประเทศไทย อันจะถือได้ว่าเป็นสถานประกอบการถาวรของตนแล้ว บริษัท A จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่จ่าย และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้ ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 12 วรรค 2 แห่งอนุสัญญาฯ
1. บริษัทแห่งประเทศอินเดียออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) มายังบริษัท A โดยไม่ต้องมี VAT ซึ่งบริษัท A สามารถนำมาถือเป็นต้นทุน ถูกต้องแล้ว
2. เป็นไปไม่ได้ที่บริษัท Software แห่งประเทศอินเดียจะเปิดบิลมี VAT มายังบริษัท A
3. เมื่อบริษัท A โอนจ่ายค่าโปรแกรม มีภาระภาษีดังนี้
....(1) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) เข้าลักษณะเป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ที่จัดเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถือเป็นงานวรรณกรรมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังนั้น ค่าตอบแทนในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Software) จึงเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนการใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ซึ่งถือเป็นค่าสิทธิ (Royalties) ตามข้อ 12 แห่งอนุสัญญาฯ เมื่อ บริษัท A จ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวให้แก่ บริษัทแห่งประเทศอินเดีย ซึ่งไม่มีสำนักงานสาขาหรือตัวแทนในประเทศไทย อันจะถือได้ว่าเป็นสถานประกอบการถาวรของตนแล้ว บริษัท A จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่จ่าย และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้ ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 12 วรรค 2 แห่งอนุสัญญาฯ
....(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (Software) ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรจึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัท A ผู้จ่ายค่าตอบแทนมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
4. บริษัท A นอกจากมีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามข้อ 3. ดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีหน้าทีจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า แต่อย่างใด เพราะมิใช่ผู้นำเข้าสินค้า หากแต่เป็นผู้ใช้บริการที่ให้ในประเทศอินเดียเท่านั้น
เมื่อ 7 ม.ค. 2562  .  เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster