ใบกำกับอย่างย่อ
วันที่ 7 ม.ค. 2562 . เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster . เข้าชม 9 ครั้ง
ใบกำกับอย่างย่อ
วันที่ 7 ม.ค. 2562 . เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster . เข้าชม 9 ครั้ง
Inbox: เสาร์ 5 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 23:20 น.
คุณ Furn Kittiwaraporn
สอบถามค่ะ ปัจจุบันถ้าเราออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในสินค้าราคา 100 บาท คือในราคานี้ต้องรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วใช่ป่าวคะ แต่ถ้าเราออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเราออกเป็น 100+7% เป็นยอดรวม 107 บาท อย่างนี้ได้มั้ยคะ หรือต้องออกเป็น 93.46+7% เป็นยอดรวม 100 ค่ะ ตอนนี้หนูออกใบกำกับเต็มเป็น 100+7% อยู่อย่างนี้ถือว่าผิดมั๊ยคะ
คุณ Furn Kittiwaraporn
สอบถามค่ะ ปัจจุบันถ้าเราออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในสินค้าราคา 100 บาท คือในราคานี้ต้องรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วใช่ป่าวคะ แต่ถ้าเราออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเราออกเป็น 100+7% เป็นยอดรวม 107 บาท อย่างนี้ได้มั้ยคะ หรือต้องออกเป็น 93.46+7% เป็นยอดรวม 100 ค่ะ ตอนนี้หนูออกใบกำกับเต็มเป็น 100+7% อยู่อย่างนี้ถือว่าผิดมั๊ยคะ
1 คำตอบ
วิสัชนา:
งงกับคำถาม คิดเข้าใจคนเดียว สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจด้วยได้ไหม!!!
กรณีสินค้าราคา 100 บาท ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = 7 บาท รวมเป็นราคาที่ผู้ซื้อต้องจ่ายชำระราคาสินค้า คือ 107 บาท ไม่ว่าผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปหรืออย่างย่อก็ตาม
....1. กรณีออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องแสดงราคาสินค้า 100 บาทแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท รวมเป็นราคาสินค้าทั้งสิ้น 107 บาท
....2. กรณีออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
........“มาตรา 86/6 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก อธิบดีมีอำนาจกำหนดลักษณะและหรือเงื่อนไขของการประกอบกิจการดังกล่าว ให้เป็นกิจการค้าปลีกและในกิจการค้าปลีกการแสดงราคาสินค้า หรือราคาค่าบริการจะต้องเป็นการแสดงราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32))
.............ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้แต่ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้
.............ใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
.............(1) คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
.............(2) ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
.............(3) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม ถ้ามี
.............(4) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
.............(5) ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
.............(6) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
.............(7) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด”
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 45))
ดังนั้น กรณีออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ราคาสินค้าที่ต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่า ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว คือ 107 บาท ซึ่งต้องเท่ากับราคาในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปนั่นเอง
งงกับคำถาม คิดเข้าใจคนเดียว สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจด้วยได้ไหม!!!
กรณีสินค้าราคา 100 บาท ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = 7 บาท รวมเป็นราคาที่ผู้ซื้อต้องจ่ายชำระราคาสินค้า คือ 107 บาท ไม่ว่าผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปหรืออย่างย่อก็ตาม
....1. กรณีออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องแสดงราคาสินค้า 100 บาทแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท รวมเป็นราคาสินค้าทั้งสิ้น 107 บาท
....2. กรณีออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
........“มาตรา 86/6 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก อธิบดีมีอำนาจกำหนดลักษณะและหรือเงื่อนไขของการประกอบกิจการดังกล่าว ให้เป็นกิจการค้าปลีกและในกิจการค้าปลีกการแสดงราคาสินค้า หรือราคาค่าบริการจะต้องเป็นการแสดงราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32))
.............ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้แต่ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้
.............ใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
.............(1) คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
.............(2) ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
.............(3) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม ถ้ามี
.............(4) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
.............(5) ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
.............(6) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
.............(7) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด”
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 45))
ดังนั้น กรณีออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ราคาสินค้าที่ต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่า ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว คือ 107 บาท ซึ่งต้องเท่ากับราคาในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปนั่นเอง
เมื่อ 7 ม.ค. 2562 . เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster