เงินกู้ยืมจากกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วน
บทความวันที่ 3 ก.ย. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 51829 ครั้ง
บทความวันที่ 3 ก.ย. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 51829 ครั้ง
เงินกู้ยืมจากกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วน
บริษัทฯ ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน ได้กู้เงินจากกรรมการ
กรณีบริษัทฯ ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน ได้กู้เงินจากกรรมการ จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้ และถ้าคิด ดอกเบี้ยที่กรรมการได้รับ ผู้ให้กู้ยืมต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ของรายรับหรือไม่มีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขดังนี้
1. การที่บุคคลธรรมดาผู้ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทฯ ได้นำเงินของตนเองมาให้บริษัทฯ กู้ยืมหากบุคคลเนื่องจากบริษัทฯ จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับการขอกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์เป็นอย่างมาก เพราะธนาคารพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทฯ น้อยมาก ทำให้เป็นปัญหากับบริษัทฯ อย่างยิ่ง บริษัทฯ จึงหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยแจ้งให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทฯกรรมการของบริษัทฯ และพนักงานของบริษัทฯ ว่าถ้าบุคคลต่าง ๆ เหล่านี้มีเงินของตนเอง หากประสงค์จะให้บริษัทฯ กู้ยืม บริษัทฯ ก็พร้อมที่จะกู้ยืมโดยให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9.0 ต่อปี และบริษัทฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นรายเดือน แต่มีเงื่อนไขว่าเงินที่บุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นนำมาให้บริษัทฯ กู้ จะต้องเป็นเงินของตนเองเท่านั้น จะนำเงินของคนอื่นมารวมให้กู้ด้วยไม่ได้เป็นอันขาด และในการกู้ยืมดังกล่าว บริษัทฯ จะทำสัญญากู้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทุกคน เช่นนี้ การกระทำดังกล่าวมิได้มีการประกอบอาชีพให้กู้ยืมเงินมาก่อน และการให้กู้ยืมเงินดังกล่าว มิได้มีการหาเงินจากที่อื่นมาโดยการกู้ยืมอยู่ด้วย การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/2 (5) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่อย่างใด
บริษัทฯ จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่บุคคลผู้ให้กู้ยืมบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15.0 ตามมาตรา 50 (2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากรและบุคคลผู้ให้กู้ยืมดังกล่าว มีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 48 (3) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
(อนุโลมตาม หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0811/05502 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2542)
2. กรณีบุคคลธรรมดานำเงินของตนให้บุคคลอื่นกู้ยืม หากเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยประกอบการเป็นอาชีพเพื่อให้ได้รับดอกเบี้ย การให้กู้ยืมดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น นาย ส. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(อนุโลมตาม หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/3184 ลงวันที่ 18 เมษายน 2549)
เรื่องห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
กู้ยืมเงินจากผู้เป็นหุ้นส่วน เพื่อใช้ในกิจการ
แนวทางที่
1
1.
จัดทำสัญญากู้เงินระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน (ผู้ให้กู้ยืมเงิน) กับห้างฯ
(ผู้กู้ยืมเงิน)
2.
หลักฐานการรับเงินกู้ยืมและการบันทึกเจ้าหนี้ผู้เป็นหุ้นส่วน
3.
หลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
โดยคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% ของดอกเบี้ย
และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 ภายในวันที่ 7
ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายดอกเบี้ย
แนวทางที่
2
ประยุกต์หลักเกณฑ์
วิธีการ เกี่ยวกับการการกู้เงินจากธนาคารในนามกรรมการ
เนื่องจากติดเงื่อนไขที่ธนาคารไม่สามารถให้ สินเชื่อต่อกิจการได้โดยตรง
และกรรมการมีภาระดอกเบี้ยจ่าย ตามคู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้
ที่อออโดยกรมสรรพากร เป็น การกู้เงินจากผู้ให้กู้ยืมในนามผู้เป็นหุ้นส่วน
เนื่องจากติดเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้ไม่สามารถให้สินเชื่อต่อห้างฯ ได้โดยตรง
และผู้เป็นหุ้นส่วนมีภาระดอกเบี้ยจ่าย หลักเกณฑ์รายจ่ายทางภาษี และเอกสารหลักฐานที่ควรมี
ดังนี้
1.
มติที่ประชุมแจ้งความจำเป็นให้ผู้เป็นหุ้นส่วนไปกู้จากผู้ให้กู้แทนห้างฯ
2.
สัญญากู้เงิน
2.1
คู่สัญญาระหว่างผู้ให้กู้ยืมกับผู้เป็นหุ้นส่วน
2.2
คู่สัญญาระหว่างผู้เป้นหุ้นส่วนกับห้างฯ
3.
หลักฐานการรับเงินกู้ยืมและการบันทึกบัญชีเจ้าหนี้
3.1
ใบรับเงินกู้ยืมจากผู้เป็นหุ้นส่วนที่ห้างฯ ออกให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
3.2
การบันทึกบัญชีเจ้าหนี้ ผู้ให้กู้ยืม
4.
หลักฐานที่ห้างฯ จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืม
ซึ่งมีข้อดี
คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ต้องรับรู้รายได้ค่าดอกเบี้ยเพราะเป็นการกู้ยืมเงินทางห้างฯ
และไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 15% ของเงินได้ค่าดอกเบี้ย
ปล.
1.
รูปแบบสัญญากู้ยืม ช่วยหาเอาเอง ตามเวบไซต์ต่างๆ มีให้เลือกมากมาย
2.
วิธการลงบัญชี กรณีจ่ายดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการในอัตราร้อยละ 2
ต่อปี (สมมติว่ายืมว่าครบ 1 ปี)
เดบิท
ดอกเบี้ยจ่าย 10,000 บาท
เครดิต
เงินสดหรือธนาคาร 10,000 บาท
(เงินต้นคงค้าง
500,000 X อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2/ปี
ถ้าไม่ครบปีก็คำนวณตามจำนวนวันที่ยืมมา)