เมื่อเน็ตไอดอลต้องเสียภาษี
บทความวันที่ 2 ก.ย. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 12359 ครั้ง
บทความวันที่ 2 ก.ย. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 12359 ครั้ง
"เมื่อเน็ตไอดอลต้องเสียภาษี"
บทนำ
เน็ตไอดอล Net Idol ในความหมายที่หลายคนเข้าใจ คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นดารา
มีหน้าตาดี ความน่ารัก ความหล่อ ความสวย หรือมีบุคลิกภาพที่ต้องตา ต้องใจ แม้หน้าตาจะไม่สวยหล่อก็ตาม
ของผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ต จนมีคนติดตามเป็นแฟนคลับ ในท้ายที่สุดเน็ตไอดอลบางคนมีชื่อเสียงได้
มีโอกาสเข้าวงการบันเทิง เป็นดารานักแสดงต่อไป (คำว่าไอดอล Idol
หมายถึง คนหรือสิ่งที่ได้รับความชื่นชมหรือคลั่งไคล้จากหมู่คนอย่างมาก)
Net Idol เป็นปรากฎการณ์ภายหลังจากที่การเจริญเติบโตของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์น็ตในประเทศไทย
เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เป็นเป็นไปอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีย้อนหลังไปนี้ อิทธิพลของสื่อสมัยใหม่ดังเช่น
อินเทอร์เน็ตจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประชาชนชาวเน็ตบางคนที่ก้าวขึ้นมาเป็น
Net Idol อาทิ กระแสน้องพี เตะบอลชนคาน 5 ครั้ง ในรายการซุปเปอร์เท็น จนมีคนเข้าไปดูกว่าล้านวิว
หลังจากที่อัตราการเติบโตของจำนวนผู้ใช้เน็ตในประเทศไทยก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา
4 – 5 ปี ปัจจุบันมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 20
– 25 % ของประชากรทั้งประเทศ
ดังนั้นเมื่อเกิดการเผยแพร่อะไรไปย่อมหมายความว่าจะมีผู้ที่ได้ชมจำนวนนับล้าน ดังนั้นปรากฏการณ์การแจ้งเกิดของ
Net Idol หรือคนดังจากเน็ต
โดยเฉพาะสาวๆนั้นกลายเป็นคนดังกันอย่างข้ามคืน หลายๆคนไต่เต้าจนกลายเป็นดารา
นักร้อง ศิลปิน แต่หลายคนก็ดังเพียงชั่วครั้งคราวตาม
ย้อนเวลาไปเมื่อ 6
– 7 ปีที่ผ่านมาเว็บไซต์ www.dek-d.com เป็นแหล่งศูนย์รวมวัยรุ่นในโลกออนไลน์ที่ค่อนข้างผูกขาดและเบ็ดเสร็จ
platform ยอดนิยมในยุคที่ social network ยังไม่แพร่หลายก็คือ “กระดานข่าว” หรือ เว็บบอร์ด กระทู้เกี่ยวกับสาวๆคนดังในแต่ละโรงเรียน
ที่แจ้งเกิดกันมาระดับหนึ่งจากนิตยสารวัยรุ่นแนวบับเบิ้ลกัมนั้นถูกขยายวงจรความดังผ่านเว็บบอร์ดแห่งนี้
สวย หล่อ เซ็กซี่
ฮากระจาย ไลฟ์สไตล์แบบจัดเต็ม ที่สร้างให้ใครหลายคนกลายเป็น “เน็ตไอดอล” ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์
หนึ่งในพลังการตลาดยุคออนไลน์ เมื่อคนไทยชอบตามอย่างคนดัง
“เน็ตไอดอล” จัดเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสูงในโลกออนไลน์
โดยอาศัยพลังของ “โซเชียลมีเดีย” เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
สร้างให้คนธรรมดาๆ กลายเป็นคนดังในโลกออนไลน์ได้ในชั่วข้ามคืน
เน็ตไอดอลในยุคปัจจุบันค่อนข้างหลากหลาย ไม่ได้จำกัดแค่คนหน้าตาสวย หล่อ
และโพรไฟล์ดีเท่านั้น หลายคนแจ้งเกิดจากศัลกรรมทำสวย
กลายเป็นกูรูความงามให้คนติดตามได้ในเวลาอันรวดเร็ว บางคนมาแนวให้ความรู้
สอนร้องเพลง สอนแต่งหน้า มีไม่น้อยที่อาศัยความฮา ตลกขบขัน มาเป็นจุดขาย
และมีจำนวนมากที่แจ้งเกิดด้วยแนวเซ็กซี่ พริตตี้เงินล้าน
สร้างยอดไลค์ให้แฟนคลับหนุ่มๆ ได้ติดตาม เป็นหมื่นเป็นแสนไลค์ได้ในเวลาไม่นาน
ในแง่มุมของการตลาดแล้ว เน็ตไอดอล
ถือเป็นเครื่องมือการตลาดที่อยู่ในกลุ่ม Influencer Marketing เช่นเดียวกับเซเลบริตี้ หรือดารานักร้อง นักแสดง ที่ไม่ว่าจะใช้สินค้าอะไร
หรือเดินทางไปที่ไหน หลายคนก็เริ่มที่จะใช้ตาม
เมื่ออำนาจของการบอกต่อของเหล่าบรรดาเน็ตไอดอลเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น
แบรนด์สินค้าเริ่มจับจองใช้พื้นที่สื่อของเน็ตไอดอลเป็นกระบอกเสียงพูดกับกลุ่มเป้าหมายในโลกออนไลน์
ผ่านรูปแบบของการโพสต์สินค้า หรือแคมเปญบนโซเชียลมีเดียทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม
ยูทิวบ์ และโซเชียลแคม โดยที่อัตราการโพสต์ในแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับแต่ละคน
ตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสนบาท
สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าผู้หญิง เช่น ครีมบำรุงผิว
เสื้อผ้า วิธีการส่วนใหญ่จะเป็นการส่งสินค้าให้ทดลองใช้
และทำการรีวิวลงในโซเชียลมีเดียฟรีๆ แต่บางคนก็อาจจะคิดค่าใช้จ่ายในการโพสต์
ขึ้นอยู่กับการตกลงของแต่ละคน
ทำให้การตลาดแบบ Influencer Marketing เป็นที่นิยมมากขึ้น
เพราะด้วยฐานจำนวนแฟนคลับของเน็ตไอดอลแต่ละคนจะเป็นตัวการันตีว่าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน
ด้วยความที่ เน็ตไอดอล
ยังคงได้รับความนิยมอย่างอย่างสูงจากเจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ ที่ยังคงเลือกใช้บริการของเน็ตไอดอลเป็นหนึ่งในเครื่องมือการตลาดออนไลน์
เพื่อโปรโมตสินค้า
ทำให้มีผู้เล่นหันมาจับธุรกิจนี้อย่างจริงจัง หนึ่งในนั้น
คือ บริษัท Nuffnang (นัฟแนง) ที่ได้เข้าสู่ธุรกิจนี้มาเป็นเวลา 3 ปี
เป็นตัวกลางระหว่างแบรนด์ และบล็อกเกอร์ โดยเป็นเครือข่ายรวบรวมเหล่าบล็อกเกอร์ชื่อดัง
ให้สินค้าและบริการที่สนใจใช้บริการรีวิวสินค้าจากบล็อกเกอร์เหล่านี้
ล่าสุด ยังได้เปิดแตกบริการใหม่ในชื่อว่า “เชิร์ฟ เชิร์ฟ” เพื่อเป็นแหล่งรวม “เน็ตไอดอล” รองรับกับความนิยมคนในปัจจุบันที่หันมาติดตามคนดังผ่าน
อินสตาแกรม และเฟซบุ๊ก โดยมีเน็ตไอดอลที่เป็นทั้งนักแสดง นางแบบ พริตตี้
ดาวและเดือนมหาวิทยาลัย ในสังกัดประมาณ 100 คน
พัชร ศิริเกียรติสูง
กรรมการผู้จัดการ บริษัท นัฟแนง (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า ปัจจุบันมีแบรนด์สินค้าต่างๆ
มาใช้บริการมากกว่า 100 แบรนด์ ซึ่งค่อนข้างหลากหลาย ผู้หญิง ที่อยู่อาศัย
สินค้าแม่และเด็ก ไลฟ์สไตล์ ท่องเที่ยว ทำอาหาร
โดยแบรนด์ที่ต้องการลงทุนใช้ Influencer
Marketing จะใช้เงินตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสน
มีให้เลือกทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ยูทิวบ์ หรือโซเชียลแคม ส่วนจะครอบคลุมมากแค่ไหน
ต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณ โดยส่วนใหญ่จะใช้เน็ตไอดอลรีวิวสินค้าที่ 10-20 คน
และลงในช่วงเวลาใกล้เคียงกันเพื่อให้เกิดอิมแพ็กต์
การเลือกเน็ตไอดอล จะดูจากโจทย์ของสินค้าหรือแคมเปญ
และไลฟ์สไตล์ของเน็ตไอดอลเป็นหลัก ซึ่งเน็ตไอดอลเหล่านี้จะต้องมีความรับผิดชอบ
เพราะบางทีลูกค้าอยากให้ลงสินค้าทันที
ดังนั้นบริษัทจึงมีหน่วย “อคาเดมี่”
เพื่อให้เน็ตไอดอลในสังกัดถ่ายทอดงานได้ตรงกับความต้องการของแบรนด์
โดยจะมีการอบรมการใช้สื่อ สอนหลักการโพสต์ หลักในการเขียนข้อความ รวมไปถึงการวางตัวในชีวิตประจำวันด้วย
ต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ ไม่มีข่าวเสียหายออกมา
เป็นการรักษามาตรฐานของตนเองด้วย
เน็ตไอดอลในสังกัดจะมีรายได้จากส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์
ซึ่งแต่ละคนจะไม่เท่ากัน
โดยรายได้เฉลี่ยของเน็ตไอดอลแต่ละคนอยู่ที่หลักหมื่นถึงหลักแสนขึ้นไป
พัชรนั้น มองว่า ปัจจุบันมีคนแจ้งเกิดเป็นเน็ตไอดอลจำนวนมาก
เพราะบางคนแค่มีหน้าตาดี มีคนติดตามเยอะก็ขึ้นชื่อว่าเป็นเน็ตไอดอลแล้ว
หรือบางคนหน้าตาไม่ดี แต่มีไลฟ์สไตล์ที่โดดเด่น เช่น ถ่ายภาพสวย เต้นเก่ง
แต่มีคอนเทนต์เป็นของตัวเอง ก็แจ้งเกิดเป็นเน็ตไอดอลได้ด้วยเช่นกัน
แต่การคงความเป็นเน็ตไอดอลไว้นานๆ นั้น
คือต้องพัฒนาคอนเทนต์ของตนเองให้มีความต่อเนื่อง และน่าสนใจตลอด
และมีประโยชน์แก่ผู้ติดตามด้วย ซึ่งมองว่ามันเป็นเหมือนแฟชั่นเหมือนกัน
ต้องอัปเดตตลอดเวลา ถ้าคอนเทนต์เริ่มน่าเบื่อผู้ติดตามก็ไม่รู้สึกสนุกด้วยแล้ว
และที่สำคัญเน็ตไอดอลต้องมีสไตล์และมีจรรยาบรรณ
ต้องบริหารคอนเทนต์ให้ดี ต้องวางตัวและเป็นตัวอย่างที่ดี
การโพสต์ข้อความต้องเป็นเรื่องจริง ไม่บิดเบือน
สิ่งเหล่านี้จะทำให้คงความเป็นเน็ตไอดอลของตนเองไว้ได้
ทางด้าน ศิวัตร เชาวรียวงษ์ CEO
บริษัท เอ็ม อินเตอร์แอคชั่น จำกัด
และนายกสมาคมโฆษณาดิจิตอลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การตลาดผ่าน Influencer
Marketing มีแนวโน้มเติบโตไปได้อีกมากเพราะค่อนข้างเหมาะกับพฤติกรรมของคนไทยที่ชอบซื้อสินค้าตามกระแส
และมักหาข้อมูลการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก่อน
ส่วนแบรนด์ ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม ดูว่า บล็อกเกอร์ ดารา
คนดังเหล่านี้มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน เหมาะกับสินค้าหรือเปล่า
รวมถึงต้องดูยอดคนติดตามในโซเชียล มีเดียมากแค่ไหน เพราะหากมีการแชร์ต่อมาก
จะทำให้แบรนด์ได้ “ฟรีมีเดีย” กลับมาด้วย
แต่การตลาดรูปแบบนี้ยังต้องอาศัยความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ไม่เช่นนั้นก็จะเสียทั้งแบรนด์และผู้ที่รีวิวเองด้วย
ซึ่งในที่นี้
จะได้นำประเด็นการตรวจสอบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังต่อไปนี้
มากล่าวเพื่อผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจได้ศึกษาเพิ่มเติม
ในอันที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นจากการยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่อไป
1.
มารู้จักเจ้าพนักงานประเมินและอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินกัน
2.
ประเด็นทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.
แนวทางการป้องกันปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4.
บทสรุป
อนึ่งบทบัญญัติที่อ้างถึงในบทความนี้
ถ้ามิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้หมายความถึงบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
1.
วิธีหาเงินออนไลน์
1.1 JELLYJUMP ได้กล่าวถึง 7 วิธีหาเงินออนไลน์ สำหรับคนติดโซเชียล!! ได้อย่างน่าสนใจในเวบไซต์ของเธอ
http://www.ladyissue.com/39046 ดังนี้
ต้องยอมรับว่าสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์คในตอนนี้
คือสังคมเสมือนกับโลกจริงๆ ไปซะแล้ว
แถมยังเป็นสังคมกว้างที่หลายคนติดหนึบหนับจนแทบแยกจากสังคมจริงไม่ออกเลยทีเดียว
ซึ่งถ้าเราติดโซเชียลหนักขั้นเทพถึงขนาดวางสมาร์ทโฟนไว้ห่างตัวไม่ได้กันเลยขนาดนี้
ลองมาหาเงินจากโลกโซเชียลกันดูบ้างดีม๊าาาา หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนว่า
เอ๊ะ! แล้วโลกออนไลน์เนี่ยเราจะหาเงินได้จากไหนบ้าง?
1.1.1 เน็ตไอดอล หลายคนอาจจะสงสัยว่าเอ๊ะ
ทำไมเดี๋ยวนี้ใครๆ มียอดฟอลโลว์เยอะหน่อยก็กลายเป็นเน็ตไอดอลกันไปหมด
แล้วทำไมทุกคนต้องอยากเป็นเน็ตไอดอล ก็เพราะเม็ดเงินมันเยอะยังไงล่ะจ๊ะ
การเป็นเน็ตไอดอลที่มีผู้ติดตามเยอะๆ ก็เหมือนมีฐานลูกค้าชั้นดี
วันดีคืนดีก็มีแบรนด์ต่างๆ ว่าจ้างให้เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้ ทั้งถ่ายรูปสินค้า
ทำคลิปสั้นๆ หรือโปรโมทวิธีต่างๆ ตามตกลงรับเงินกันเพลินๆ เลยนะจะบอกให้
1.1.2 บล็อกเกอร์ ก็เป็นอีกอาชีพที่สร้างรายได้เยอะไม่แพ้กัน
ซึ่งสาวๆ บล็อกเกอร์เค้าจะต้องลองรีวิวเครื่องสำอางกันก่อนจะมาเขียนแนะนำลงในบล็อก
ซึ่งอาจจะเสี่ยงกับอาการแพ้ต่างๆ ค่าแรงในการรีวิวก็เลยจะสูงหน่อย
แต่ส่วนใหญ่ก็จะแลกมาด้วยข้อมูลแน่นปึ้ก ที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านจริงๆ
ดังนั้นถ้าใครอยากจะลองเป็นบล็อกเกอร์ดู ก็อย่าลืมมีจุดยืนของตัวเอง
เลือกรับงานที่ไม่หลอกลวงผู้บริโภคด้วย
1.1.3 ทำคลิปลง Youtube นอกจากเน็ตไอดอลและบล็อกเกอร์จะสามารถทำคลิปลง
Youtube เพื่อพรีเซนต์สินค้าต่างๆ ตามที่ลูกค้าต้องการแล้ว
ใครที่อยากสร้างรายได้จากยูทูบโดยที่ไม่อยากออกหน้าออกตาเอง
ก็สามารถทำได้เหมือนกันนะคะ แค่หาไอเดียคลิปที่น่าสนใจให้เจอ
แล้วก็หมั่นอัพโหลดเข้าไปในยูทูบ พอมียอดวิวเยอะๆ ก็มีโฆษณามาเพิ่มรายได้ให้เอง
ส่วนวิธีติดโฆษณาใน Youtube ต้องลองหาในกูเกิลดูกันได้เลย
1.1.4 ขายของ / เป็นตัวแทนจำหน่าย อาชีพยอดฮิตที่ตอนนี้แม้แต่เด็กประถม-มัธยมก็ยังทำ
นั่นคือการขายของออนไลน์ สินค้าก็มีร้อยแปดพันเก้า บางอย่างก็คาดไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ
ส่วนใครที่ไม่ค่อยมีทุนก็อาจจะเริ่มจากสินค้ามือสองของตัวเอง
หรือไม่ก็การสมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายของร้านต่างๆ ซึ่งจะได้ส่วนแบ่งจากยอดขาย
โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แค่หาลูกค้ามาซื้อให้เยอะๆ เท่านั้น
1.1.5
เทรนเนอร์ฟิตหุ่น เดี๋ยวนี้ที่เห็นบ่อยๆ
ในโลกออนไลน์ คือหนุ่ม-สาว หุ่นเป๊ะเว่อร์น่าอิจฉา
ที่มักจะมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายมาแนะนำกันอยู่เรื่อยๆ
บางเพจก็ให้ความรู้จริงๆ ไม่เน้นงานขาย
แต่บางเพจก็เน้นพ่วงอาหารเสริมเป็นหลักกันไป
แต่สำหรับใครที่ใจรักทางด้านนี้และอยากมีรายได้ ก็ง่ายๆ เลยค่ะ
ลองเป็นเทรนเนอร์สอนออกกำลังกายแบบออนไลน์กันไปเลย
เริ่มตั้งแต่ให้คำแนะนำเรื่องอาหารการกิน ท่าออกกำลังกายที่ถูกต้อง ใครถนัดพิมพ์
1.1.6 เป็นครูออนไลน์ อีกอาชีพที่ให้ประโยชน์กับผู้อื่น
และสร้างรายได้ให้กับเราได้เหมือนกัน ก็คือการเป็นติวเตอร์ออนไลน์ จะสอนภาษาอังกฤษ
คณิตศาสตร์ หรือจะสอนวิชาเฉพาะทางอื่นๆ ก็ว่ากันไป
ไม่ต่างอะไรกับการเข้าคลาสเรียนผ่านวิดีโอ แถมเรายังสามารถคุยสดๆ กับนักเรียนผ่านกล้องหรืออินเตอร์เน็ตได้เลยทันที
ทั้งครูและลูกศิษย์ก็ไม่ต้องออกจากบ้านให้รถติดเลยค่ะ
2.1.7 นักวาดภาพประกอบ ส่วนงานนี้เหมะสำหรับคนรักศิลปะ
เพราะแค่แบ่งเวลาว่างมารับงานวาดภาพประกอบ ซึ่งสมัยนี้มีช่องทางารพัด
ทั้งรับวาดสติ๊กเกอร์ไลน์ หรือจะวาดขายเองก็ได้ วาดภาพประกอบหนังสือ-นิตยสาร,
ทำ Infographic, ออกแบบลายผ้า, วาดรูปเป็นของขวัญ, เคสมือถือ, หรืองานวาดอื่นๆ ตามความต้องการของลูกค้า
แค่ขยันโพสต์ผลงานลงในโซเชียลของเราบ่อยๆ
เดี๋ยวลูกค้าที่ถูกใจผลงานก็ติดต่อมาหาเองแหละจ้า
เห็นไหมว่าการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค
ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์แล้ว ก็สามารถทำเงินให้กับเราได้เหมือนกัน
ไม่ใช่แค่แชทเล่นไปวันๆ เท่านั้นน้า ^^ ใครอยากมีรายได้เสริม
หรือบางคนอยากยึดเป็นอาชีพซะเลย ก็ลองเริ่มดูนะ เริ่มก่อนรวยก่อนนะ
1.2 เปิดเรตราคา
การโพสต์โปรโมทสินค้าของเน็ตไอดอล เพียงแค่โพสต์ก็สร้างเงินอื้อซ่า
MThai News ซึ่งได้ข้อมูลจาก
รายการ “เที่ยงวันทันเหตุการณ์” ทางช่อง 3
ได้กล่าวถึงอัตราการโพสต์โปรโมทสินค้าไว้ใน http://news.mthai.com/social-news/498644.html ดังนี้
ยุคแห่งเทคโนโลยีปัจจุบันจะเห็นได้ว่า
ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดก็สามารถเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย
การติดต่อสื่อสารผ่านทางโซเชียลถือเป็นเรื่องที่ง่าย
ซึ่งนอกจากคนจะใช้โซเชียลพูดคุย ติดต่อสื่อสารกันแล้ว
โซเชียลยังเป็นอีกช่องทางในการหาเงิน บ้างก็มีการขายสินค้าผ่านทาง เฟซบุ๊ก
อินสตาแกรม ฯลฯ
และหากอยากให้สินค้าของตนขายดี
เป็นที่รู้จัก ก็ต้องมีการโฆษณา พ่อค้าแม่ค้าต้องมีการโปรโมทสินค้า
แน่นอนว่าถ้าเป็นการค้าขายผ่านโซเชียล การเลือกบุคคลที่มีชื่อเสียงบนโลกออนไลน์
มีผู้ติดตามจำนวนมาก หรือที่เรียกกันว่าเน็ตไอดอล ช่วยโปรโมทสินค้าย่อมเป็นผลดี
ซึ่งวิธีการนั้นทางเน็ตไอดอลก็อาจจะมีการโพสต์รูป คลิป สินค้าลงใน เฟซบุ๊ก
อินสตาแกรม ของตัวเอง เพื่อให้ผู้ติดตามได้เห็น
เรียกได้ว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้คนได้รู้จักสินค้านั้น ๆ
และอาจช่วยกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้นได้อีกด้วย
สำหรับเรตราคาการโพสต์โปรโมทสินค้าโดยประมาณ
อยู่ที่
- โพสต์สินค้าอย่างเดียว 10,000 บาท
-
ถือสินค้าโพสต์ภาพ 20,000 บาท
-
คลิปวิดีโอ 25,000 บาทขึ้นไป
ซึ่งอัตราค่าจ้างจะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตาม
โดย
-
ยอดคนติดตาม 100,000 ขึ้นไป โพสต์ 1 ครั้ง ราคา 35,000 บาทขึ้นไป
-
ยอดคนติดตาม 200,000 ขึ้นไป โพสต์ 1 ครั้ง ราคา 45,000 บาทขึ้นไป
- ยอดคนติดตาม 500,000 ขึ้นไป โพสต์ 1 ครั้ง ราคา 50,000 บาทขึ้นไป
- ยอดคนตาม 1,000,000 ขึ้นไป โพสต์ 1 ครั้ง ราคา 80,000 บาทขึ้นไป
2.
เน็ตไอดอลเสียภาษีอย่างไร
2.1
สรุปที่มาของรายได้ของ Net Idol
จาก 7 วิธีหาเงินออนไลน์ สำหรับคนติดโซเชียล ของ JELLYJUMP
อาจสรุปประเภทเงินได้พึงประเมินของ Net
Idol ได้ดังนี้
วิธีการได้มาซึ่งเงินได้ |
เงินได้เนื่องการรับทำงานให้ตาม มาตรา 40 (2) |
เงินได้เนื่องจากการเป็นนักแสดงสาธารณะตามมาตรา 40 (8) |
เงินได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการตาม มาตรา 40 (8) |
1. เน็ตไอดอล - เป็นพรีเซ็นเตอร์ |
|
P ค่าโปรโมทสินค้า |
P รับค่าโฆษณา |
2. บล็อกเกอร์- รีวิวสินค้า |
|
|
P รับจ้างโฆษณา |
3. ทำคลิปลง Youtube |
|
|
P รับค่าโฆษณา |
4. ขายของ/เป็นตัวแทนจำหน่าย |
P ค่านายหน้า |
|
P ค่าขายสินค้าเอง |
5. เทรนเนอร์ฟิตหุ่น |
P รับทำงานให้ |
|
|
6. เป็นครูออนไลน์ |
P รับทำงานให้ |
|
|
7. วาดภาพประกอบ |
P รับทำงานให้ |
|
|
2.2 การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของ
Net Idol ในฐานะนักแสดงสาธารณะ
เพราะเหตุที่มีเงินได้จากค่าเป็นนางแบบโปรโมทสินค้า ที่เข้าข่ายเป็นนักแสดงสาธารณะ
2.2.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก
ณ ที่จ่าย
กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคล
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้คำนวณหักภาษี ณ
ที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 9( 2)
ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง
สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
ให้คำนวณหักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 ของเงินได้
2.2.2 ในฐานะนักแสดงสาธารณะ
ให้ Net Idol นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (1)
และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร Net Idol มีหน้าที่ยื่นรายการและชำระภาษี
เงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง ดังนี้
(1)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ
ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนไป
ยื่นรายการและชำระภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94
(2)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ
ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายใน
เดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.90 ทั้งนี้
ให้นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีที่ชำระไว้ตาม (1)
มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษี
ในการเสียภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาในฐานะนักแสดงสาธารณะ ให้คำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46
แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอม ให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11)
พ.ศ.2502 ดังนี้
(1)
หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือ
(2)
หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ดังนี้
(ก) สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน
300,000 บาท ร้อยละ 60
(ข) สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท
ร้อยละ 40 การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท
ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในฐานะ
นักแสดงสาธารณะของ Net Idol ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47
แห่งประมวลรัษฎากร
2.2.3 กรณีรับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า
หรือเทรนเนอร์ฟิตหุ่น หรือเป็นครูออนไลน์ หรือวาดภาพประกอบ
ซึ่งเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)
แห่งประมวลรัษฎากร
(1) โดยในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้อย่างเดียวดังนี้
(ก) สำหรับปีภาษี 2559
ให้คำนวณหักค่าใช้จ่ายในอัตราร้อยละ 40 ของค่าตอบแทนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 60,000
บาท
(ข) สำหรับปีภาษี 2560 เป็นต้นไป
ให้คำนวณหักค่าใช้จ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าตอบแทนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 100,000
บาท
ผู้มีเงินได้จากการรับทำงานให้ ซึ่งมีเงินได้รับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า
หรือเทรนเนอร์ฟิตหุ่น หรือเป็นครูออนไลน์ หรือวาดภาพประกอบ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจาก ปีภาษีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56
แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีผู้มีเงินได้จากการรับทำงานให้ดังกล่าว
มีหลักฐานในการประกอบกิจการให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ได้ประกอบกิจการในรูปแบบของการทำธุรกิจและสามารถพิสูจน์รายจ่ายในการประกอบกิจการได้
ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการดังนี้
(ก)
ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและ
(ข)
ได้จัดตั้งเป็นสำนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีอาคารสำนักงานเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
หรือเช่าจากบุคคลอื่น โดยมีหลักฐาน เช่น หลักฐานการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
สัญญาเช่าสำนักงาน และ
(ค)
มีการลงทุนด้วยการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน และ
(ง)
มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีหลักฐานตามสัญญาจ้างแรงงาน
หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
และหลักฐานการแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่ง ในกรณีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ไม่มีภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายและนำส่ง
จะต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับการยื่นรายการเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานตามแบบ ภ.ง.ด.1 ก.
(จ)
มีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ เช่น ค่ารับรอง
หรือค่าบริการเพื่อประโยชน์ในการติดต่องานกับลูกค้า
ในการประกอบกิจการดังกล่าว
เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร และในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร
โดยให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ หากผู้มีเงินได้ไม่สามารถพิสูจน์รายจ่ายและไม่มีหลักฐานในการประกอบกิจการ
เงินค่าตอบแทนที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ผู้มีเงินได้ดังกล่าว ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษี
ดังนี้
(ก)
ค่าตอบแทนที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน
ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพร้อมกับชำระภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี
ทั้งนี้ ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) ค่าตอบแทนที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพร้อมกับชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปี
ถัดไป โดยให้นำภาษีที่ชำระไว้แล้วตาม (ก) มาเป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้
2.2.4
ในฐานะผู้มีเงินได้ค่าโฆษณา ให้ Net Idol นำเงินได้ค่าโฆษณษ
ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคำนวณ
เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร Net
Idol มีหน้าที่ยื่นรายการและชำระภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2
ครั้ง ดังนี้
(1)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้นำเงินได้ค่าโฆษณา
ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน โดยคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร
ตามมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอม ให้หักจากเงินได้พึงประเมิน
(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 และหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร กึ่งหนึ่ง ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี
โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94
(2)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้นำเงินได้ค่าโฆษณา ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม
ถึงเดือนธันวาคม ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายใน เดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยใช้แบบ
ภ.ง.ด.90 ทั้งนี้ ให้นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีที่ชำระไว้ตาม (1)
มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษี
2.2.5
ในฐานะผู้มีเงินได้จากการขายสินค้า ให้ Net Idol นำเงินได้จากการขายสินค้า
ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคำนวณ
เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร Net
Idol มีหน้าที่ยื่นรายการและชำระภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2
ครั้ง ดังนี้
(1)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้นำเงินได้จากการขายสินค้า
ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน โดยคำนวณหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา
หรือค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ตามมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 8
แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอม
ให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี
โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94
(2)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้นำเงินได้จากการขายสินค้า
ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายใน
เดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.90 ทั้งนี้
ให้นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีที่ชำระไว้ตาม (1)
มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษี
2.2.6 Net
Idol ที่มีรายได้จากการประกอบกิจการดังกล่าว
แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการเป็นนักแสดงสาธารณะเข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา
77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2
(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องนำรายได้ที่ได้รับดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้
(1) กรณี Net Idol มีรายได้ดังกล่าวไม่เกิน 1,800,000
บาทต่อปี ย่อมได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร
จึงไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่ Net
Idol ประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็ให้กระทำได้โดยให้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
และยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30
วันนับแต่วันที่ได้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามมาตรา 81/3 (2) และมาตรา 85/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณี Net
Idol มีรายได้ดังกล่าวเกิน 1,800,000 บาทต่อปี Net Idol มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน
30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ตามมาตรา 85/1 (1)
แห่งประมวลรัษฎากร โดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราภาษีตามมาตรา 80
แห่งประมวลรัษฎากร
3. บทสรุป
โดยส่วนใหญ่ Net Idol
มักจะมีรายได้จากการเป็นนักแสดงสาธารณะ และได้รับค่าโฆษณาสินค้า
จึงควรศึกษาประเด็นทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน หากยังเป็นผู้เยาว์ คุณพ่อหรือคุณแม่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีหน้าที่ต้องดำเนินการทางภาษีอากรแทน
Net Idol นั้น ตามมาตรา 57 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
การปฏิบัติการทางภาษีอากรให้ถูกต้องถือเป็นบทบาทหน้าที่ของพลเมืองดี
ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาและสะท้อนความเป็นผู้มีความรับผิดชอบ เห็นแก่ส่วนรวมไม่เห็นแก่ตัวในส่วนที่ไม่ใช่ของตน