ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

แนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560

บทความวันที่ 26 ส.ค. 2560  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 1547 ครั้ง

แนวทางปฏิบัติในการโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล


        ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ได้กำหนดยกเว้นภาษีอากรจากการโอนทรัพย์สินบางกรณี ดังนี้
        "มาตรา 4 ให้ยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บุคคลธรรมดา สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน และการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 4) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ดังนี้
              (1) ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการของบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ตามราคาตลาด เว้นแต่ทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต้องโอนด้วยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น หรือราคาต้นทุนการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่บุคคลผู้โอนได้ซื้อมา ตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ได้ทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่กรณี 
             (2) บุคคลผู้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ต้องถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับโอนทรัพย์สินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอน
             (3) ต้องไม่โอนหุ้นอันเกิดจากการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งได้รับยกเว้นรัษฎากรในราคาต่ำกว่ามุลค่าหุ้นทางบัญชี
             (4) บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทำหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยบุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ต้องแจ้งหนังสือรับรองดังนี้
                  (ก) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ประสงค์จะชำระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
                  (ข) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดีงกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์มีภูมสำเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
                  ทั้งนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อมความอย่างน้อยตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ท้ายประกาศฉบับดังกล่าว

ขั้นตอนในการดำเนินการทางทะเบียนเพื่อให้ได้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าว มีดังนี้ 
        1. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อรับโอนทรัพย์สินจากบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ในการระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น 
            (1) กรณีลงทุนหรือชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สิน
                 เมื่อได้ประชุมจัดตั้งบริษัทแล้ว คณะกรรมการจะเรียกเก็บค่าหุ้นจากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น อย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น
                 (ก) หากผู้ถือหุ้นใช้ทรัพย์สินหรือสินค้า รวมทั้งทองคำเป็นค่าหุ้น ต้องตีราคาตามราคาตลาดในวันที่ชำระค่าหุ้น เว้นแต่ทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต้องโอนด้วยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น หรือราคาต้นทุนการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่บุคคลผู้โอนได้ซื้อมา ตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ได้ทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่กรณี 
                      ทั้งนี้ บุคคลผู้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือสินค้า รวมทั้งทองคำ ต้องถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับโอนทรัพย์สินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอน
                 (ข) ควรมีเอกสารภายในของกิจการเพื่อใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์การรับชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สิน สินค้า หรือทองคำ หรืออาจใช้เอกสารที่มีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามรับรอง ตามตัวอย่างเอกสารของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ 
http://www.dbd.go.th/down…/downloads/02_hs/order_66_2558.pdf
โดยอนุโลม
               เมื่อเรียกเก็บค่าหุ้นแล้ว ให้กรรมการผู้มีอำนาจจัดท าค าขอจดทะเบียนตั้งบริษัทแล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
               หมายเหตุ: การยื่นจดทะเบียนจะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ถ้าไม่จดทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะทำให้การประชุมตั้งบริษัทเสียไป หากต่อไปต้องการจด
ทะเบียนตั้งบริษัทก็ต้องดำเนินการจัดประชุมผู้จองซื้อหุ้นใหม 
(ที่มา: http://www.rd.go.th/…/fileadmin/u…/ebook/morbor_appendix.pdf)
          (2) กรณีลงทุนหรือชำระค่าหุ้นด้วยเงินสดทั้งจำนวน
               ให้เพิ่มทุน โดยใช้ทรัพย์สินหรือสินค้า รวมทั้งทองคำ ตาม (1)(ก) ข้างต้น มาชำระเป็นค่าหุ้น 
       2. ดำเนินกิจการไปตามปกติ โดยใช้ทรัพย์สินที่รับโอนมาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการ และขายสินค้าที่รับโอนมาเพื่อหารายได้ต่อไป 
       3. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 โดยเคร่งครัด