ศึกษาประมวลรัษฎากรด้วยตนเอง ตอนที่ 9 คำอธิบายประมวลรัษฎากร รายมาตรา บทเบ็ดเตล็ดในลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น (1)
บทความวันที่ 26 ส.ค. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 3430 ครั้ง
บทความวันที่ 26 ส.ค. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 3430 ครั้ง
ศึกษาประมวลรัษฎากรด้วยตนเอง ตอนที่ 9
คำอธิบายประมวลรัษฎากร รายมาตรา
บทเบ็ดเตล็ดในลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น
มาตรา 3 ทวิ – มาตรา 3 จตุทศ แห่งประมวลรัษฎากร
ขอนำบทเบ็ดเตล็ดในลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น ตามมาตรา 3 ทวิ ถึงมาตรา 3
จตุทศ แห่งประมวลรัษฎากร
มาเล่าสู่กันฟัง ตามหัวข้อต่อไปนี้
1. มาตรา 3
ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การเปรียบเทียบโดยกำหนดค่าปรับแต่สถานเดียว
2. มาตรา 3
ตรี แห่งประมวลรัษฎากร การลดเงินเพิ่มอากรแสตมป์
3. มาตรา 3
จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร การชำระภาษีอากร และมาตรา 11
แห่งประมวลรัษฎากร
4. มาตรา 3
เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร อำนาจการตรวจค้น ยึด อายัดบัญชี
เอกสาร หรือหลักฐาน
5. มาตรา 3 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร การแปลเป็นภาษาไทย
6. มาตรา 3
สัตต แห่งประมวลรัษฎากร การตรวจสอบและรับรองบัญชี
7. มาตรา 3
อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร การขยายกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากร
8. มาตรา 3
เอกาทศ แห่งประมวลรัษฎากร การมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
9. มาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
1. มาตรา 3 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 3 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบโดยกำหนดค่าปรับแต่สถานเดียว
ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้
“มาตรา 3 ทวิ ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้
เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรต้องได้รับโทษ จำคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง
ให้มีอำนาจเปรียบเทียบโดยกำหนดค่าปรับแต่สถานเดียวในความผิดต่อไปนี้
เว้นแต่ความผิดตามมาตรา 13 คือ
(1)
ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
ซึ่งโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ให้เป็นอำนาจของอธิบดี
ถ้าเกิดในจังหวัดอื่นให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด
(2)
ความผิดที่มีโทษปรับหรือโทษจำคุกเกินหกเดือน แต่ไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
ซึ่งโทษจำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ
ซึ่งประกอบด้วยอธิบดี อธิบดีกรมการปกครองและอธิบดีกรมตำรวจ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ถ้าผู้ต้องหาใช้ค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดแล้ว
ให้ถือว่าเป็นอันคุ้มผู้ต้องหามิให้ถูกฟ้องร้องต่อไปในกรณีแห่งความผิดนั้น
ถ้าผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งเห็นว่าไม่ควรใช้อำนาจเปรียบเทียบ
หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว ผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือยอมแล้วแต่ไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนด
ให้ดำเนินการฟ้องร้องต่อไป และในกรณีนี้
ห้ามมิให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามกฎหมายอื่นอีก”
(มาตรา
3 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25)
พ.ศ. 2525 ใช้บังคับวันที่ 3 กรกฎาคม 2525 เป็นต้นไป)
จากบทบัญญัติดังกล่าว อาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
1.1 มาตรา
3 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ที่จะให้มีการเปรียบเทียบ
โดยกำหนดค่าปรับแต่เพียงสถานเดียว
ในอันที่จะไม่ต้องฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิด
โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร เกี่ยวกับหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในทางภาษีอากร
ทั้งนี้ เพื่อมิให้คดีความเป็นที่รกโรงรกศาล และสร้างหลักการประนีประนอมยอมความ
อันเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งทางฝ่ายผู้เสียภาษีอากร และกรมสรรพากร
ที่อาจเพิ่มขึ้นการการดำเนินคดีทางศาลโดยไม่จำเป็น ตามลักษณะภาษีอากรที่ดี “หลักประหยัด”
มาตรา
3 ทวิ เพิ่มเติมครั้งแรกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่
8) พ.ศ. 2494 ใช้บังคับ 25 เมษายน 2494 เป็นต้นมา
1.2 ขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการเปรียบเทียบ
โดยกำหนดค่าปรับแต่เพียงสถานเดียว
(1)
สำหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือทั้งปรับทั้งจำซึ่งโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
(ก) กรณีกระทำความผิดในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรม สรรพากร
(ข) กรณีกระทำความผิดในเขตจังหวัดอื่น
ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตจังหวัดนั้น
(2)
สำหรับความผิดที่มีโทษปรับหรือโทษจำคุกเกินหกเดือน แต่ไม่เกินหนึ่งปี
หรือทั้งปรับทั้งจำ ซึ่งโทษจำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี
ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากร
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย อธิบดีกรมการปกครอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
และอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
1.3 การคุ้มครองผู้ต้องหาที่ใช้ค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ
ถ้าผู้ต้องหาใช้ค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ
ภายในระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดตาม 1.1 แล้ว ให้ถือว่า
เป็นอันคุ้มผู้ต้องหามิให้ถูกฟ้องร้องต่อไปในกรณีแห่งความผิดนั้น
1.4 การเสียสิทธิความคุ้มครอง
ในกรณีดังต่อไปนี้
ให้ดำเนินการฟ้องร้องต่อไป
(1)
ถ้าผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามข้อ 1.2 (1) เห็นว่าไม่ควรใช้อำนาจเปรียบเทียบ หรือ
(2)
เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือ
(3)
ยอมแล้วแต่ไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนด
ทั้งนี้
ห้ามมิให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามกฎหมายอื่นอีก
2. มาตรา 3 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 3 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลดเงินเพิ่มอากรแสตมป์
“มาตรา 3 ตรี
บุคคลใดจะต้องเสียเงินเพิ่มภาษีอากรตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรนี้และบุคคลนั้นยินยอมและชำระเงินเพิ่มภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว
ให้ถือว่าเป็นอันคุ้มบุคคลนั้นมิให้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีอากร”
จากบทบัญญัติมาตรา 3 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเพิ่มเติมโดยมาตรา 6
แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494
ใช้บังคับวันที่ 25 เมษายน 2494
เป็นต้นไป ดังกล่าวอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
2.1 บทบัญญัติมาตรา 3 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เป็นบทบัญญัติทั่วไป
ว่าด้วยการลดเงินเพิ่มอากรแสตมป์ตามมาตรา 113
และมาตรา 114 แห่งประมวลรัษฎากร
2.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 ตรี และมาตรา 4
ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 129 (พ.ศ. 2512) ว่าด้วยอากรแสตมป์และอากรมหรสพ
ซึ่งในที่นี้ขอนำเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับอากรแสตมป์มากล่าวเท่านั้น เนื่องจากอากรมหรสพตามหมวด
7 ในลักษณะ 2 ได้ยกเลิกไปแล้วตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2528 โดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ดังนี้
2.2.1 การชำระเงินเพิ่มอากรที่ให้ถือว่า
เป็นอันคุ้มบุคคลมิให้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 3
ตรี สำหรับอากรแสตมป์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
2.2.2
บุคคลที่ต้องเสียเงินเพิ่มอากรจะต้องทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ชี้แจงแสดงเหตุผลที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติหมวด 6 ลักษณะ 2 โดยสุจริต มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงอากร และยินยอมชำระเงินเพิ่มอากรภายในสิบวัน
นับแต่วันได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1)
กรณีตราสารได้ปิดแสตมป์แล้ว แต่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ เสียร้อยละ 20 ของเงินเพิ่มอากรที่กำหนดไว้ในมาตรา 113 หรือมาตรา 114
แห่งประมวลรัษฎากร
(2)
กรณีตราสารมิได้ปิดแสตมป์ เสียร้อยละ 25
ของเงินเพิ่มอากรที่กำหนดไว้ในมาตรา 113 หรือมาตรา 114
แห่งประมวลรัษฎากร
(3)
กรณีมิได้ออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร
เสียร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มอากรที่กำหนดไว้ในมาตรา 114
ทั้งนี้ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะพิจารณาอนุมัติให้เสียเงินเพิ่มอากรน้อยกว่า
(1) ถึง (3) แต่ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินอากร
โดยเริ่มนับแต่วันที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์
3. มาตรา 3 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 3 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร
การชำระภาษีอากร และมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร
“มาตรา 3
จัตวา ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้บุคคลไปเสียภาษีอากร ณ
ที่ว่าการอำเภอ รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ไปเสีย ณ
สำนักงานแห่งอื่นก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้
การเสียภาษีอากรนั้นให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่งหัวหน้าสำนักงานแห่งนั้นได้ลงลายมีชื่อรับเงินแล้ว”
จากบทบัญญัติมาตรา 3 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 มาตรา 7 ใช้บังคับวันที่ 25 เมษายน 2494 เป็นต้นไปดังกล่าวอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
3.1 มาตรา 3 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร เป็นบทบัญญัติในลักษณะ
1 ข้อความเบื้องต้น จัดเป็นบทบัญญัติกฎหมายทั่วไป
ว่าด้วยการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ในส่วนของการชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ทั้งภาษีอากรฝ่ายสรรพากรตามลักษณะ 2 และภาษีบำรุงท้องที่
ตามลักษณะ 3
3.2 เกี่ยวกับการรับชำระภาษีอากรมีบทบัญญัติมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งบัญญัติไว้ในลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร
จัดเป็นบทบัญญัติกฎหมายพิเศษ ว่าด้วยการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร
ในส่วนของการชำระภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ตามลักษณะ 2
โดยบัญญัติไว้ดังนี้
“มาตรา 11 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติหรืออธิบดีจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ให้นำเงินภาษีอากรไปเสีย ณ ที่ว่าการอำเภอ
และการเสียภาษีอากรนั้นให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์
เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่งนายอำเภอได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว”
3.3 บทบัญญัติมาตรา 3 จัตวา และมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร เปรียบเทียบกันได้ดังนี้
3.3.1
มาตรา 3 จัตวา เป็นบทบัญญัติในลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น จัดเป็นบทบัญญัติกฎหมายทั่วไป แห่งประมวลรัษฎากร ส่วน
มาตรา 11 เป็นบัญญัติในลักษณะ 2
ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร จัดเป็นบทบัญญัติกฎหมายพิเศษ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันประมวลรัษฎากรมีเพียง 2
ลักษณะ โดยได้ยกเลิกลักษณะ 3 ภาษีบำรุงท้องที่แล้ว
โดยพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 นับแต่ปี 2508 เป็นต้นมา แล้ว
3.3.2
การใช้บังคับบทบัญญัติมาตรา 3 จัตวา และมาตรา 11
แห่งประมวลรัษฎากร
แม้ทั้งมาตรา 3 จัตวา และมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร จะเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
แต่เนื่องจากมาตรา 11 เป็นบัญญัติในลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร เป็นบทบัญญัติกฎหมายพิเศษ
จึงต้องใช้บังคับก่อนหรือเป็นบทบัญญัติยกเว้น มาตรา 3 ทวิ
เป็นบทบัญญัติในลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น
ซึ่งเป็นบทบัญญัติกฎหมายทั่วไป
3.3.3
อำนาจในการกำหนดให้บุคคลไปเสียภาษีอากร ณ
สำนักงานแห่งอื่นที่มิใช้ที่ว่าการอำเภอ ตามมาตรา 3 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร
เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่จะประกาศกำหนดเช่นนั้น
โดยต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่อำนาจในการกำหนดให้บุคคลไปเสียภาษีอากร ณ
สำนักงานแห่งอื่นที่มิใช้ที่ว่าการอำเภอ ตามมาตรา 11
เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรที่จะประกาศกำหนดเช่นนั้น
โดยไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือเว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ซึ่งในปัจจุบันกรมสรรพากรได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเป็นระบบบริหารราชการส่วนกลางทั้งหมดตั้งแต่วันที่
11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา
และอธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร
ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 112/2545
กำหนดให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเป็นสถานที่รับชำระภาษีอากรแทนที่ว่าการอำเภอ
ดังนั้น
เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจที่จะกำหนดสถานที่รับชำระภาษีเป็นอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรได้แล้ว
ความจำเป็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะใช้อำนาจในลักษณะเช่นนี้ก็ทอนลงไปอย่างมาก
ซึ่งในปัจจุบันการดำเนินการดังกล่าวมักกระทำโดยอาศัยอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา
11 แห่งประมวลรัษฎากร ตลอดมา
4. มาตรา 3 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 3 เบญจ และมาตรา 3 นว แห่งประมวลรัษฎากร เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจค้นและยึด
หรืออายัดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสีย
และบทกำหนดโทศ ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้
“มาตรา 3 เบญจ
เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ให้อธิบดีมีอำนาจเข้าไป
หรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปในสถานที่
หรือยานพาหนะใดเพื่อทำการตรวจค้น ยึด
หรืออายัดบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสียได้ทั่วราชอาณาจักร
ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือสรรพากรเขตมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคหนึ่ง
สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดหรือเขตนั้น
การทำการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ต้องทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบกิจการนั้น”
มาตรา 3 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25)
พ.ศ. 2525 ใช้บังคับวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 เป็นต้นไป ดังกล่าวอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
4.1 มาตรา 3 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติเกี่ยวกับ
การตรวจค้น ยึด หรืออายัด บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับ
หรือสันนิษฐานว่า เกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสียของผู้ต้องเสียภาษีอากร โดยใช้ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า
ผู้ต้องเสียภาษีอากรมีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร
4.2 การตรวจค้น ยึดหรืออายัด บัญชี
เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามมาตรา 3 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นอำนาจของบุคคลดังต่อไปนี้
ซึ่งแต่ละบุคคลมีขอบอำนาจในการตรวจค้น ยึด หรืออายัด
และต้องกระทำในสถานที่ดังต่อไปนี้
4.2.1 อำนาจในการตรวจค้น ยึด หรืออายัด
(1) สำหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร
คำว่า “อธิบดี” ตามความในวรรคแรก
ไม่รวมถึงผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายตามนิยามศัพท์ในมาตรา 2
แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากอธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจที่จะเข้าไปทำการตรวจค้น
ยึด อายัดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นได้ตามกฎหมายโดยไม่ต้องมีหมายค้นใดๆ
แต่หากอธิบดีกรมสรรพากรประสงค์จะมอบหมายให้ผู้อื่นออกไปปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้น
ยึด อายัดตามมาตรา 3 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ต้องกระทำเป็นหนังสือหรือหมายตรวจค้น
ยึด อายัดเท่านั้น จะเข้ากระทำและใช้อำนาจในการตรวจค้น ยึด
อายัดดุจเดียวกับอธิบดีกรมสรรพากรไม่ได้ คำว่า
“อธิบดี” ตามมาตรา 3 เบญจ
จึงเป็นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในบทนิยามศัพท์ตามมาตรา 2
แห่งประมวลรัษฎากร
(2) สำหรับในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสรรพากรเขต (ซึ่งในปัจจุบันได้แก่
สรรพากรภาค)
4.2.2 ขอบเขตอำนาจในการตรวจค้น ยึด อายัด ทั้งอธิบดีกรมสรรพากร
และผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสรรพากรเขต มีอำนาจในการตรวจค้น ยึด หรืออายัด บัญชี
เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับ
หรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสียได้ด้วยตนเอง
หรือจะออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด
เพื่อทำการตรวจค้น ยึดหรืออายัด บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับ
หรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสียก็ได้
4.2.3 การตรวจค้น ยึด
หรืออายัด บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่น ต้องกระทำที่ในสถานที่หรือยานพาหนะ
อันเป็นที่เก็บบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับ
หรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสีย
4.3 การตรวจค้น ยึด หรืออายัด บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่น
ต้องทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบกิจการนั้น
4.4 การตรวจค้น ยึดหรืออายัด บัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นฯ นอกจากบทบัญญัติตามมาตรา
3 เบญจแล้ว ยังต้องพิจารณาระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษี
4.5 การตรวจค้น ยึด หรืออายัด บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นฯ แบ่งออกเป็น 3
ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนการตรวจค้น ยึด หรืออายัด บัญชี เอกสาร หรือหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการตรวจค้น ยึด หรืออายัด บัญชี เอกสาร หรือหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการภายหลังการตรวจค้น ยึด หรืออายัด บัญชี เอกสาร หรือหลักฐาน
4.6 การตรวจค้น
ยึด หรืออายัด บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่น ในทุกขั้นตอนมีข้อพึงระวังดังนี้
4.6.1
การตรวจค้น ยึด อายัดบัญชีและเอกสารหรือหลักฐาน ต้องกระทำเป็นความระมัดระวัง เพราะอาจกระทบกระเทือนสิทธิของผู้ที่ถูกตรวจค้น
ยึด อายัดบัญชี และเอกสารหรือหลักฐาน ซึ่งถือเป็นการละเมิด
4.6.2 การตรวจค้น ยึด
อายัดบัญชีและเอกสารหรือหลักฐาน ต้องกระทำเป็นความลับ มิให้มีการแพ่งพราย
อันอาจทำให้เกียหายแก่ทางราชการ หรืออาจทำให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร
4.6.3 การตรวจค้น
ยึด อายัดบัญชีและเอกสารหรือหลักฐาน ต้องกระทำด้วยความสุภาพ เรียบร้อย ไม่กระทบกระเทือนต่อการประกอบธุรกิจของผู้ถูกตรวจค้น
ยึด อายัดบัญชี และเอกสารหรือหลักฐาน
4.7 บทกำหนดโทษเกี่ยวกับการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา
3 เบญจ เป็นไปตามมาตรา 3 นว แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนี้
“มาตรา 3 นว ผู้ใดรู้อยู่แล้ว ไม่อำนวยความสะดวก
หรือขัดขวางเจ้าพนักงานผู้กระทำตามหน้าที่ตามความในมาตรา 3 เบญจ
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือทั้งปรับทั้งจำ”
มาตรา 3 นว แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10)
พ.ศ. 2496 มาตรา 10 ใช้บังคับ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 เป็นต้นไป
5. มาตรา 3 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา
3 ฉ และมาตรา 3 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับ
การแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้
“มาตรา
3 ฉ บรรดาบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสีย
ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ เจ้าพนักงานประเมินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้บุคคลใดที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จภายในเวลาที่สมควรก็ได้”
จากบทบัญญัติมาตรา
3 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 10) พ.ศ.
2496 ใช้บังคับวันที่ 10 กุมภาพันธ์
2496 เป็นต้นไปดังกล่าวอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
5.1 บัญชี เอกสาร และหลักฐานต่างๆ
ที่ต้องจัดทำตามประมวลรัษฎากร เป็นไปตามบทบัญญัติดังต่อไปนี้
5.1.1 บัญชีที่ต้องจัดทำตามประมวลรัษฎากร
(1) บัญชีแสดงรายได้หรือรายรับเป็นประจำวัน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 1) เรื่อง
กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่ต้องเสียภาษีการค้า หรือแม้ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
แต่ต้องเสียภาษีเงินได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีรายรับเป็นประจำวัน
และกำหนดแบบบัญชีคุมสินค้า ลงวันที่ 31 มกราคม 2505 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
17 มาตรา 83 และมาตรา 83 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(2) บัญชีแสดงการหักภาษี ณ
ที่จ่ายและการนำส่งภาษี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า
ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
17 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) บัญชีรับข้าวเปลือกจางผู้ว่าจ้างสีข้าว บัญชีรับจ่ายข้าวเปลือก
และบัญชีจ่ายผลิตภัณฑ์และวัตถุพลอยได้จากการสีข้าว ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 1) เรื่อง
กำหนดให้ผู้มีเงินได้จากการทำกิจการโรงสีข้าว มีบัญชีพิเศษแสดงรายการและปริมาณข้าวเปลือก
ต้นข้าว และปลายข้าวและรำ ลงวันที่ 19 เมษายน 2517 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
17 แห่งประมวลรัษฎากร
(4) บัญชีพิเศษแสดงรายการจ่ายเงินได้ให้แก่
ผู้ประกอบโรคศิลปะของสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 10) เรื่อง
กำหนดให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีบัญชีพิเศษตามมาตรา
17 ลงวันที่ 6 กันยายน 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17
(5) รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ
รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 89) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
เกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา
87 และมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 เมษายน 2542
(5) บัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ตามมาตรา
68 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ
(6) บัญชีรายรับก่อนหักรายจ่าย
เกี่ยวกับค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่ต้องเสียภาษี ตามมาตรา
68 ทวิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
และประกอบกิจการในประเทศไทยประเภทการขนส่งระหว่างประเทศ
โดยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตามมาตรา
67 แห่งประมวลรัษฎากร
5.1.2 เอกสาร
และหลักฐานที่ต้องจัดทำตามประมวลรัษฎากร
(1) แบบแสดงรายการภาษี ได้แก่
-
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) เรื่อง
กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2531
- แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก
ณ ที่จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58)
เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
- แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล
และแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง
กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
- แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) เรื่อง
กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
- แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 2) เรื่อง
กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
(2) แบบแจ้งข้อความตามมาตรา 17
(2) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่
- แบบแจ้งข้อความของกรรมการ
หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ (แนบพร้อมแบบ ภ.ง.ด.50) ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 35) เรื่อง
กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล แจ้งข้อความตามมาตรา 17
(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2533
- แบบแจ้งข้อความเกี่ยวกับเงินได้ของคนต่างด้าว
(แนบพร้อมแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 หรือ ภ.ง.ด.3 ) ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 39) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา
17 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2534
- แบบแจ้งข้อความเกี่ยวกับเงินได้ของบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผล
(แนบพร้อมแบบ ภ.ง.ด.53) ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 61) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา 17 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
(3) หนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62)
เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม 2539
(4) ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้
ใบลดหนี้ และใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ ใบแทนใบลดหนี้ ตามมาตรา
86/4 มาตรา 86/6 มาตรา 86/7 มาตรา 86/9 มาตรา 86/10 และมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร
แล้วแต่กรณี
(5) ใบรับ และใบส่งของ ตามมาตรา
105 มาตรา 105 ทวิ และมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
5.2 บรรดาบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสีย
ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ เจ้าพนักงานประเมินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้บุคคลใดที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จภายในเวลาที่สมควรก็ได้
(มาตรา 3 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร)
มาตรา 3 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 มาตรา 7 ใช้บังคับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496
เป็นต้นไป
5.3
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน หรือพนักงานเจ้าที่
เกี่ยวกับการจัดทำบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่างๆ ตามประมวลรัษฎากร
เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 3 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาทตามมาตรา
3 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 3 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.
2496 มาตรา 7 ใช้บังคับ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 เป็นต้นไป
6.
มาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร การตรวจสอบและรับรองบัญชี
เพื่อประโยชน์แห่งการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
“มาตรา
3 สัตต เพื่อประโยชน์แห่งการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
การตรวจสอบและรับรองบัญชี จะกระทำได้ก็แต่โดยบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
บุคคลที่จะขอใบอนุญาตจากอธิบดีตามความในวรรคก่อน
ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
บุคคลใดได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว
ถ้าฝ่าฝืนระเบียบที่อธิบดีกำหนด อธิบดีอาจพิจารณาสั่งถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้จะใช้บังคับในเขตจังหวัดใด
ให้อธิบดีประกาศโดยอนุมัติรัฐมนตรี
การประกาศ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
มาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 10) พ.ศ.
2496 ใช้บังคับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496
เป็นต้นไปดังกล่าวอาจแยกพิจารณาเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีได้ดังนี้
6.1 การตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อประโยชน์แห่งการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร แม้จะได้บัญญัติขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496
แต่ก็มิได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรแต่อย่างใด
จวบจนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2521 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามศัพท์คำว่า “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา
39” ให้หมายความรวมถึง “กิจการร่วมค้า” ซึ่งตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285
(พ.ศ. 2515) อันเป็นกฎหมายว่าด้วยการบัญชีในขณะนั้นไม่ได้กำหนดให้ “กิจการร่วมค้า”
ตามมาตรา 39 ดังกล่าวเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี “กิจการร่วมค้า”
จึงไม่ต้องจัดทำงบการเงิน
รวมทั้งไม่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองงบการเงินอันเป็นฐานที่ใช้ในการปรับปรุงกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ซึ่งตามมาตรา 68 มาตรา 68 ทวิ และมาตรา 69
แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิต้องจัดทำบัญชีงบดุล
บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน โดยมีบุคคลตามมาตรา 3 ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว
พร้อมทั้งแนบบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนไปพร้อมกับแบบแสดงรายการ
ภ.ง.ด.50 ที่ต้องยื่นต่อทางราชการภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ดังนั้น
เพื่อประโยชน์ในการบริหารการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิของ
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร
(นายพนัส
สิมะเสถียร) โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3
สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่
19 มิถุนายน พ.ศ. 2523 กำหนดให้การตรวจสอบและรับรองบัญชีงบดุล บัญชีทำการ
และบัญชีกำไรขาดทุน
ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดทำและยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือ
ภ.ง.ด.50 ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ให้กระทำได้โดย “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี
(Certified Public Accountant: CPA)
6.2 ต่อมาได้มีการแก้ไขยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการบัญชี (ประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 285 หรือ ปว. 285) โดยตราเป็นพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ได้บัญญัติให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
เป็นผู้ตรวจสอบและแสดงความเห็นเกี่ยวกับงบการเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
รวมทั้งกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร แต่ตามมาตรา 11 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการบัญี
พ.ศ. 2543 และได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในอันที่จะออกกฎกระทรวง
เพื่อกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุน สินทรัพย์
หรือรายได้ รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการ
ไม่เกินที่กำหนดไม่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและแสดงความเห็น
ซึ่งในที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกกฎกระทรวง
กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนเรียกชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท
และหรือมีรายได้ไม่เกิน 30,000,000 บาท และหรือมีทรัพย์สินรวมไม่เกิน 30,000,000
บาท ไม่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินที่ต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
6.3 อย่างไรก็ตาม
ในทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 โดยให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2523
พร้อมทั้งออกคำสั่งกรมสรรพากรเพื่อให้การปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวเป็นไปด้วยดี
ประกอบด้วย
6.3.1 คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 98/2544 เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ การทดสอบ
การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออก
ใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
6.3.2 คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 122/2545 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน
และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามมาตรา 3 สัตต
แห่งประมวลรัษฎากร และ
6.3.3 คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 123/2545 เรื่อง
กำหนดจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ทั้งนี้
ได้กำหนดให้การตรวจสอบและรับรองบัญชีเพื่อประโยชน์แห่งการจัดเก็บภาษีอากร
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545
ต้องกระทำโดย “ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี” เป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
6.4 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาผู้สอบบัญชีภาษีอากรอธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 98/2544
ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่มเติมดังนี้
6.4.1 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
การอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรของผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
6.4.2 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรแก่ผู้สอบบัญชี
ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546
6.4.3 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
6.4.4 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
6.4.5 ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแบบคำขอ/แบบแจ้งเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี
และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นแบบคำขอ/แบบแจ้งเกี่ยวกับ
การตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
6.4.6 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียน
การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต
และการขอแก้ไขทะเบียนของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
นอกจากนี้ในปี 2550
อธิบดีกรมสรรพากรได้คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท. 293/2550 กำหนดหลักเกณฑ์การพัฒนาผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
ตามมาตรา 3 สัตต เพื่อคัดเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีให้ปฏิบัติงานเน้นการตรวจสอบและรับรองบัญชีทางด้านภาษีอากร
7. มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร การขยายกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากร
“มาตรา 3 อัฏฐ กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการหรือแจ้งรายการต่างๆ ก็ดี กำหนดเวลาการอุทธรณ์ก็ดี
หรือกำหนดเวลาการเสียภาษีอากรตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรนี้ก็ดี ถ้าผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวมิได้อยู่ในประเทศไทย
หรือมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้ เมื่ออธิบดีพิจารณาเห็นเป็นการสมควรจะให้ขยายหรือให้เลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้
กำหนดเวลาต่างๆ ที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรนี้ เมื่อรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควร
จะขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้”
จากบทบัญญัติมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งเพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 10) พ.ศ.
2496 ใช้บังคับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2496
เป็นต้นไปดังกล่าวอาจแยกพิจารณาเกี่ยวกับการขยายกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากรได้ดังนี้
7.1 การขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร
และการขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร เป็นอำนาขของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
7.2 กำหนดเวลาที่มีอำนาจขยาย
7.2.1 กรณีอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรอธิบดีกรมสรรพากรในการขยายกำหนดเวลา
ได้แก่
(1) กำหนดเวลาการยื่นรายการ และกำหนดเวลาการเสียภาษี ตามประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี
และการนำส่งภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ดังนี้
ด้วยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
การชำระภาษี หรือการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ชำระภาษี หรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับภาษีแต่ละประเภท
แต่เนื่องจากในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี
หรือการนำส่งภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอาจมีเหตุขัดข้องหรือข้อผิดพลาดของระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อันเป็นผลให้การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี
หรือการนำส่งภาษีดังกล่าวเกินกำหนดเวลาตามกฎหมาย
โดยมิใช่ความผิดของผู้เสียภาษีแต่อย่างใด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง ให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
การชำระ ภาษี หรือการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษี มูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ออกไปอีกเจ็ดวันทำการ นับแต่
วันสุดท้ายของกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี หรือการนำส่งภาษี
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วแต่กรณี
หากมีเหตุการณ์ลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) กรณีผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและสั่งโอนเงินเพื่อชำระภาษี
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ระบบการโอนเงินของหน่วยรับชำระภาษีขัดข้องโดยผู้เสียภาษีเข้าใจว่าได้โอนเงินชำระภาษีแล้ว
(ข) กรณีผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลาและสามารถสั่งโอนเงินเพื่อชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในวันถัดจากวันครบกำหนดเวลาแล้ว
แต่ธนาคารไม่ปิดระบบการโอนเงิน เป็นเหตุให้ผู้เสียภาษีเข้าใจว่าได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว
(ค) กรณีระบบการรับแบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรขัดข้องในระหว่างที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและสั่งโอนเงิน
(ง) กรณีระบบเครือข่ายของกรมสรรพากรขัดข้องในระหว่างที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและสั่งโอนเงิน
(จ) กรณีมีเหตุอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ (ก) ถึง
(ง) โดยมิใช่ความผิดของผู้เสียภาษี
ทั้งนี้
สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี หรือการนำส่งภาษี
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป
โดยผู้เสียภาษีที่ประสงค์
จะขอขยายกำหนดเวลาตามประกาศนี้ให้ยื่นคำร้องขอขยายกำหนดเวลาต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่
เว้นแต่กรณีอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้ขยายกำหนดเวลาโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
(2)
กำหนดเวลาการแจ้งรายการ
(3) กำหนดเวลาการอุทธรณ์
7.2.2 กรณีอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการขยายกำหนดเวลา ได้แก่
กำหนดเวลาใดๆ ตามประมวลรัษฎากร
ทั้งในส่วนของกำหนดเวลาที่อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจขยายและกำหนดเวลาอื่นใด อาทิ
กำหนดเวลาในการขอคืนภาษีอากร กำหนดเวลาในการจัดทำบัญชีและเอกสารหลักฐาน
กำหนดเวลาในการออกหมายเรียก กำหนดเวลาในการปฏิบัติตามหมายเรียก อาทิ
(1) กำหนดเวลาการยื่นรายการ
และกำหนดเวลาการเสียภาษี ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
การเสียภาษีเงินได้และการขยายระยะเวลาชำระภาษี สำหรับผู้ที่ต้องออกจากราชการ หรือออกจากงานโดยไม่มีความผิด
ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2525 ดังนี้
ด้วยปรากฏว่ามีข้าราชการ
พนักงานของทางราชการ และพนักงานขององค์การของรัฐบาลหลายราย
ได้ถูกสั่งลงโทษให้พักราชการหรือออกจากราชการไปแล้ว
แต่ภายหลังปรากฏว่าไม่มีความผิดได้กลับเข้ารับราชการ หรือกรณีอื่นที่ทางราชการไม่ได้จ่ายเงินเดือนหรือบำนาญให้เมื่อถูกสั่งพักราชการ
หรือให้ออก แต่มาได้รับเงินเดือนหรือบำนาญตกเบิกย้อนหลังหลายปีในปีเดียว
ทำให้เงินที่ได้รับนั้นต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ในปีเดียวกัน
ซึ่งมิใช่เป็นความผิดของผู้มีเงินได้แต่ประการใด จึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บุคคลเหล่านั้น
ซึ่งนอกจากจะได้รับความเดือนร้อนในขณะที่ออกจากราชการโดยไม่มีความผิดและไม่มีรายได้แล้ว
พอได้รับเงินตกเบิกย้อนหลังกลับต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณเสียภาษีในอัตราสูงอีกด้วย
ดังนั้น
เพื่อบรรเทาภาระภาษีและเพื่อความเป็นธรรมของบุคคลผู้มีเงินได้ในกรณีเช่นนี้
ให้ถือว่าเงินที่บุคคลดังกล่าวมีสิทธิจะได้รับสำหรับปีภาษีใดให้คงถือเป็นเงินได้ของปีภาษีนั้น
และให้ขยายเวลายื่นรายการและชำระภาษีสำหรับเงินได้แต่ละปีนี้ออกไปเป็นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินหรือภายใน
30 วัน นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2525 เป็นต้นไป
(2) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การนำส่งภาษีเงินได้การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม
2544 ดังนี้
ด้วยมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ต้องนำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่จ่ายเงินไม่ว่าจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่ มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ นำส่งภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรนำส่งภาษี ณ
ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่จำหน่ายเงินกำไร มาตรา 83/5 และมาตรา
83/6 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้กับผู้ประกอบการบางประเภท
ต้องนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนมีหน้าที่ต้องนำส่งไปส่ง ณ
ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวัน และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้รับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ
0 ต้องนำส่งเงินภาษี มูลค่าเพิ่มที่ตนมีหน้าที่ต้องเสียภายในสามสิบวัน
นับแต่ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้น โดยที่การจ่ายเงินได้พึงประเมินบางประเภท
การจำหน่ายเงินกำไร การขายทอดตลาด การจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
และการรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการดังกล่าว ในเดือนหนึ่งๆ อาจมีหลายคราว
ย่อมเป็นภาระและไม่สะดวกแก่ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และผู้มี
หน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
จึงสมควรขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษี เงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การนำส่งภาษีเงินได้หรือการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
และการยื่นรายการสำหรับกรณีดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ออกประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2544 โดยให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินหรือจำหน่ายเงินกำไรตั้งแต่วันที่
1 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป ดังต่อไปนี้
(ก) ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่าย และการยื่น รายการตามมาตรา 52 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร
โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายใน เจ็ดวัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่ายที่ต้องหักตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 (1)(2)(3) และ (4) และมาตรา
69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้และการยื่นรายการตามมาตรา
70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จำหน่ายเงินกำไร
(ค) ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการตามมาตรา
83/5 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้ประกอบการ
แล้วแต่กรณี
(ง) ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการตามมาตรา
83/7 โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนดสามสิบวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
(3)
กำหนดเวลาการแจ้งรายการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2
พฤศจิกายน 2526 ดังนี้
เนื่องจากมาตรา
58 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลยื่นรายการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 และให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 (1)(2) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในเดือนมกราคมทุกๆ
ปี
โดยที่เป็นการสมควรขยายกำหนดการยื่นรายการสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินหรือเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินบางประเภท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ออกประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไปดังต่อไปนี้
ให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา
58 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ยื่นรายการภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี
เฉพาะกรณี
(ก)
การยื่นรายการตามาตรา 58 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะรายการการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
(ข)
การยื่นรายการตามมาตรา 58 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
7.3 มูลเหตุในการขยายกำหนดเวลา
7.3.1
กรณีอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรอธิบดีกรมสรรพากรในการขยายกำหนดเวลา
ได้แก่
(1) ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวมิได้อยู่ในประเทศไทย
ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ
ได้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียหรือนำส่งภาษีอากร
รวมทั้งตัวแทนของผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากรดังกล่าว อาทิ
(ก) กรณีคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่
ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการคณะ (มาตรา 6 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ข) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องจัดทำรายการ
รายงาน หรือเอกสารอื่น ให้กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อ
(มาตรา 7 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ค) ผู้มีเงินได้พึงประเมินที่มิใช่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (มาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ง) ผู้มีเงินได้พึงประเมินที่เป็นผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเสมือนไร้ความสามารถ
หรือผู้อยู่ในต่างประเทศ ผู้ที่ตั้งตัวแทน
ได้แก่ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ หรือผู้จัดการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน
ตัวแทนหรือทรัตตี (มาตรา 57 มาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)
(จ)
ผู้ถึงแก่ความตายหรือกองมรดก ได้แก่ ผู้จัดการมรดก ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์ (มาตรา
57
ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
(ฉ) ลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทยของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(มาตรา 76
ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
(ช)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (มาตรา 82 ถึงมาตรา 82/2 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ซ)
ผู้มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีแทนหรือร่วมกับผู้ประกอบการจดทะเบียน
(มาตรา 83/3 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ฌ)
ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(มาตรา 91/7 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ญ)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
(มาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ฎ)
ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ (มาตรา 104 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ฏ)
ผู้มีหน้าที่ออกใบรับหรือใบส่งของ (มาตรา 105 มาตรา
105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร)
(2) มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้
อาทิ กรณีมีภัยพิบัติที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น อัคคีภัย วาตภัย เป็นต้น
กรณีไม่ถือว่ามีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติตามกำหนดได้ อาทิ
พนักงานลาออก พนักงานลาป่วย ลาคลอด ลาบวช
ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรที่ประสงค์จะขอขยายกำหนดเวลาต้องยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากร
พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการขอขยายกำหนดเวลาออกไป
7.3.2 กรณีอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการขยายกำหนดเวลานั้น
ตามีกฎหมายบัญญัติเปิดกว้างไว้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงสามารถขยายกำหนดเวลาใดๆ
ตามประมวลรัษฎากร โดยไม่ต้องอาศัยเหตุใด
เพียงแต่ต้องคำนึงถึงหลักความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไว้เป็นสำคัญ
ในบางกรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาจขยายกำหนดเวลาที่ต้องปฏิบัติการตามประมวลรัษฎการ
โดยผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรที่ประสงค์จะขอขยายกำหนดเวลาไม่ต้องยื่นคำร้องเป็นหนังสือพร้อมทั้งอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการขอขยายกำหนดเวลาออกไป
ดังเช่นกรณีขอขยายกำหนดเวลาต่ออธิบดีกรมสรรพากร
7.4 ผลของการได้รับการขยายกำหนดเวลา
7.4.1 เกี่ยวกับบทกำหนดโทษทางอาญา ทั้งกรณีขยายกำหนดเวลาโดยอธิบดีกรม
สรรพากรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ต้องรับผิดไม่ต้องระโทศทางอาญา ได้แก่
ค่าปรับ หรือจำคุก แต่อย่างใด
7.4.2
เกี่ยวกับเบี้ยปรับทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ทั้งกรณีขยายกำหนดเวลาโดยอธิบดีกรมสรรพากรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ผู้ต้องรับผิดไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับแต่อย่างใด
7.4.3 เกี่ยวกับเงินเพิ่มภาษีอากร
(1) กรณีขยายกำหนดเวลาโดยอธิบดีกรมสรรพากร
(ก) กรณีภาษีเงินได้เป็นไปตามมาตรา
27
แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
มาตรา 27 บุคคลใดไม่เสีย
หรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่างๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมิน
ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
ในกรณีอธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษีและได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น
เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
(ข) กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นไปตามมาตรา
89/1 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
“มาตรา 89/1 บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำ ส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้
ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับในกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา
3 อัฏฐ และได้มีการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น
เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน”
สำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21 (6) ให้ในบทบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ไปใช้บังคับโดยอนุโลม
(ค)
กรณีอื่นนอกจาก (ก) และ (ข) ไม่ได้รับการลดเงินเพิ่มแต่อย่างใด
(2) กรณีขยายกำหนดเวลาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มแต่อย่างใด
7.4.4 การขยายเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผลให้เจ้าพนักงานประเมินขยายเวลาการออกหมายเรียกฯ
ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดให้จะต้องกระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ
ไม่ว่าการยื่นรายการนั้นจะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่ ทั้งนี้
แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ดังนี้
“มาตรา 19 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า
ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์
ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน
และออกหมายเรียกพยาน กับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้
แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย ทั้งนี้
การออกหมายเรียกดังกล่าวจะต้องกระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ
ไม่ว่าการยื่นรายการนั้นจะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่
ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ...”
7.4.5 ขยายเวลาการขอคืนภาษีตามมาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
“มาตรา
27 ตรี เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น การขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้
ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย
ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปี
นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่
(1) ในกรณีผู้มีสิทธิขอคืนได้ยื่นรายการเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือได้ยื่นรายการภายในเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไป
ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ”
7.4.6 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมาดาได้รับการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ
เป็นผลให้ผู้มีเงินได้รับสิทธิขยายเวลาการผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา
64 แห่งประมวลรัษฎากร ออกไปดังนี้
“มาตรา 64 เว้นแต่กรณีตามมาตรา 18 ทวิ ถ้าภาษีที่ต้องเสียตามบทบัญญัติแห่งส่วนนี้มีจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ผู้ต้องเสียภาษีจะชำระเป็นสามงวดๆ ละเท่าๆ กันก็ได้ คือ
(1)
ในกรณีที่ต้องเสียตามมาตรา 56 ตรี หรือมาตรา 57 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร งวดที่หนึ่งต้องชำระตามกำหนดในมาตราดังกล่าว
งวดที่สองต้องชำระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่หนึ่ง
และงวดที่สามต้องชำระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง...”
7.4.7 ผลการขยายกำหนดเวลาตามตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่งหรือแบบนำส่งภาษี
วันสุดท้ายที่ขยายออกไปนี้นตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ
ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
ตามมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด (ข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่
ป. 117/2545)
การขยายกำหนดเวลาต่างๆ ประมวลรัษฎากรตามมาตรา
3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร อาจจำแนกความแตกต่างของการขยายกำหนดเวลาอันเป็นอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา
3 อัฏฐ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร และอำนาจขยายกำหนดเวลของรัฐมตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา
3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
รายการ |
มาตรา 3 อัฏฐ วรรคแรก |
มาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง |
อำนาจขยายกำหนดเวลา |
อธิบดีกรมสรรพากร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง |
กำหนดเวลาที่มีอำนาจขยาย |
กำหนดเวลาการยื่นรายการ การแจ้งรายการ การอุทธรณ์ การเสียภาษี |
ทุกกรณีตามประมวลรัษฎากร |
มูลเหตุในการขยายกำหนด เวลา |
ผู้ต้องปฏิบัติมิได้อยู่ในประเทศไทย หรือมีเหตุจำเป็นฯ |
มูลเหตุใดๆ |
ผลของการขยายกำหนด เวลา |
ไม่มีค่าปรับอาญา |
เช่นเดียวกัน |
ไม่มีเบี้ยปรับ |
เช่นเดียวกัน |
|
เงินเพิ่มมาตรา 27, 89/1
ลดลงกึ่งหนึ่ง (ลดเหลือ 0.75%) |
ไม่มีเงินเพิ่ม (“นิรโทษกรรมทางภาษีอากร” Tax Amnesty) |
|
ขยายเวลาการออกหมายเรียกฯ ตามมาตรา 19 มาตรา
23 |
เช่นเดียวกัน |
|
ขยายเวลาการขอคืนภาษีตามมาตรา 27
ตรี |
เช่นเดียวกัน |
|
ขยายเวลาการผ่อนชำระ PIT ตามมาตรา 64 |
เช่นเดียวกัน |
....ขอนำบทเบ็ดเตล็ดในลักษณะ
1 ข้อความเบื้องต้น ตามมาตรา 3 ทวิ ถึงมาตรา 3
จตุทศ และมาตรา 4 ทวิ ถึงมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร
มาเล่าสู่กันฟัง ต่อจากตอนก่อนตามหัวข้อต่อไปนี้
....7. มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร การขยายกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากร
7. มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร การขยายกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากร
….“มาตรา
3 อัฏฐ กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการหรือแจ้งรายการต่างๆ
ก็ดี กำหนดเวลาการอุทธรณ์ก็ดี หรือกำหนดเวลาการเสียภาษีอากรตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรนี้ก็ดี
ถ้าผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวมิได้อยู่ในประเทศไทย หรือมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้
เมื่ออธิบดีพิจารณาเห็นเป็นการสมควรจะให้ขยายหรือให้เลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้
........กำหนดเวลาต่างๆ
ที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรนี้ เมื่อรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควร จะขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้”
....จากบทบัญญัติมาตรา
3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 10) พ.ศ.
2496 ใช้บังคับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2496
เป็นต้นไปดังกล่าวอาจแยกพิจารณาเกี่ยวกับการขยายกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากรได้ดังนี้
….7.1 การขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 3
อัฏฐ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร และการขยายกำหนดเวลาตามมาตรา
3 อัฏฐ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร เป็นอำนาขของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
….7.2 กำหนดเวลาที่มีอำนาจขยาย
……….7.2.1 กรณีอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรอธิบดีกรมสรรพากรในการขยายกำหนดเวลา ได้แก่
……………….(1) กำหนดเวลาการยื่นรายการ และกำหนดเวลาการเสียภาษี ตามประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี
และการนำส่งภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ดังนี้
……………………ด้วยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
การชำระภาษี หรือการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ชำระภาษี
หรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับภาษีแต่ละประเภท แต่เนื่องจากในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
การชำระภาษี
หรือการนำส่งภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอาจมีเหตุขัดข้องหรือข้อผิดพลาดของระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อันเป็นผลให้การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี
หรือการนำส่งภาษีดังกล่าวเกินกำหนดเวลาตามกฎหมาย
โดยมิใช่ความผิดของผู้เสียภาษีแต่อย่างใด
……………………รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง
ให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระ ภาษี
หรือการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษี มูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ออกไปอีกเจ็ดวันทำการ นับแต่ วันสุดท้ายของกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
การชำระภาษี หรือการนำส่งภาษี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วแต่กรณี
หากมีเหตุการณ์ลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
……………………(ก)
กรณีผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและสั่งโอนเงินเพื่อชำระภาษี
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
แต่ระบบการโอนเงินของหน่วยรับชำระภาษีขัดข้องโดยผู้เสียภาษีเข้าใจว่าได้โอนเงินชำระภาษีแล้ว
……………………(ข)
กรณีผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลาและสามารถสั่งโอนเงินเพื่อชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในวันถัดจากวันครบกำหนดเวลาแล้ว
แต่ธนาคารไม่ปิดระบบการโอนเงิน
เป็นเหตุให้ผู้เสียภาษีเข้าใจว่าได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว
……………………(ค) กรณีระบบการรับแบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรขัดข้องในระหว่างที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและสั่งโอนเงิน
……………………(ง) กรณีระบบเครือข่ายของกรมสรรพากรขัดข้องในระหว่างที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและสั่งโอนเงิน
……………………(จ) กรณีมีเหตุอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ (ก)
ถึง (ง) โดยมิใช่ความผิดของผู้เสียภาษี
……………………ทั้งนี้
สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี หรือการนำส่งภาษี
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป
โดยผู้เสียภาษีที่ประสงค์
จะขอขยายกำหนดเวลาตามประกาศนี้ให้ยื่นคำร้องขอขยายกำหนดเวลาต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่
เว้นแต่กรณีอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้ขยายกำหนดเวลาโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
……………….(2)
กำหนดเวลาการแจ้งรายการ
……………….(3)
กำหนดเวลาการอุทธรณ์
……….7.2.2 กรณีอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการขยายกำหนดเวลา ได้แก่
กำหนดเวลาใดๆ ตามประมวลรัษฎากร
ทั้งในส่วนของกำหนดเวลาที่อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจขยายและกำหนดเวลาอื่นใด อาทิ
กำหนดเวลาในการขอคืนภาษีอากร กำหนดเวลาในการจัดทำบัญชีและเอกสารหลักฐาน
กำหนดเวลาในการออกหมายเรียก กำหนดเวลาในการปฏิบัติตามหมายเรียก อาทิ
……………….(1) กำหนดเวลาการยื่นรายการ
และกำหนดเวลาการเสียภาษี ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
การเสียภาษีเงินได้และการขยายระยะเวลาชำระภาษี สำหรับผู้ที่ต้องออกจากราชการ
หรือออกจากงานโดยไม่มีความผิด ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2525
ดังนี้
ด้วยปรากฏว่ามีข้าราชการ
พนักงานของทางราชการ และพนักงานขององค์การของรัฐบาลหลายราย
ได้ถูกสั่งลงโทษให้พักราชการหรือออกจากราชการไปแล้ว
แต่ภายหลังปรากฏว่าไม่มีความผิดได้กลับเข้ารับราชการ
หรือกรณีอื่นที่ทางราชการไม่ได้จ่ายเงินเดือนหรือบำนาญให้เมื่อถูกสั่งพักราชการ
หรือให้ออก แต่มาได้รับเงินเดือนหรือบำนาญตกเบิกย้อนหลังหลายปีในปีเดียว
ทำให้เงินที่ได้รับนั้นต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ในปีเดียวกัน
ซึ่งมิใช่เป็นความผิดของผู้มีเงินได้แต่ประการใด
จึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บุคคลเหล่านั้น ซึ่งนอกจากจะได้รับความเดือนร้อนในขณะที่ออกจากราชการโดยไม่มีความผิดและไม่มีรายได้แล้ว
พอได้รับเงินตกเบิกย้อนหลังกลับต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณเสียภาษีในอัตราสูงอีกด้วย
ดังนั้น
เพื่อบรรเทาภาระภาษีและเพื่อความเป็นธรรมของบุคคลผู้มีเงินได้ในกรณีเช่นนี้
ให้ถือว่าเงินที่บุคคลดังกล่าวมีสิทธิจะได้รับสำหรับปีภาษีใดให้คงถือเป็นเงินได้ของปีภาษีนั้น
และให้ขยายเวลายื่นรายการและชำระภาษีสำหรับเงินได้แต่ละปีนี้ออกไปเป็นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินหรือภายใน
30 วัน นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2525 เป็นต้นไป
……………….(2) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การนำส่งภาษีเงินได้การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม
2544 ดังนี้
ด้วยมาตรา
52 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ต้องนำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่จ่ายเงินไม่ว่าจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่ มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ นำส่งภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรนำส่งภาษี ณ
ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่จำหน่ายเงินกำไร มาตรา 83/5 และมาตรา
83/6 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้กับผู้ประกอบการบางประเภท
ต้องนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนมีหน้าที่ต้องนำส่งไปส่ง ณ
ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวัน และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้รับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ
0 ต้องนำส่งเงินภาษี มูลค่าเพิ่มที่ตนมีหน้าที่ต้องเสียภายในสามสิบวัน นับแต่ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้น
โดยที่การจ่ายเงินได้พึงประเมินบางประเภท การจำหน่ายเงินกำไร การขายทอดตลาด
การจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
และการรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการดังกล่าว ในเดือนหนึ่งๆ อาจมีหลายคราว
ย่อมเป็นภาระและไม่สะดวกแก่ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และผู้มี
หน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
จึงสมควรขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษี เงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การนำส่งภาษีเงินได้หรือการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
และการยื่นรายการสำหรับกรณีดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ออกประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2544 โดยให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินหรือจำหน่ายเงินกำไรตั้งแต่วันที่
1 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป ดังต่อไปนี้
(ก) ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่าย และการยื่น รายการตามมาตรา 52 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร
โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายใน เจ็ดวัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่ายที่ต้องหักตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 (1)(2)(3) และ (4) และมาตรา
69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้และการยื่นรายการตามมาตรา
70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จำหน่ายเงินกำไร
(ค) ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการตามมาตรา
83/5 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้ประกอบการ
แล้วแต่กรณี
(ง) ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการตามมาตรา
83/7 โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนดสามสิบวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
……………….(3)
กำหนดเวลาการแจ้งรายการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2
พฤศจิกายน 2526 ดังนี้
เนื่องจากมาตรา
58 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลยื่นรายการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 และให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 (1)(2) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในเดือนมกราคมทุกๆ
ปี
โดยที่เป็นการสมควรขยายกำหนดการยื่นรายการสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินหรือเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินบางประเภท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ออกประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไปดังต่อไปนี้
ให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา
58 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ยื่นรายการภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี
เฉพาะกรณี
(ก)
การยื่นรายการตามาตรา 58 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะรายการการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
(ข)
การยื่นรายการตามมาตรา 58 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
….7.3 มูลเหตุในการขยายกำหนดเวลา
……….7.3.1 กรณีอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรอธิบดีกรมสรรพากรในการขยายกำหนดเวลา ได้แก่
……………….(1) ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวมิได้อยู่ในประเทศไทย
ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ
ได้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียหรือนำส่งภาษีอากร รวมทั้งตัวแทนของผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากรดังกล่าว
อาทิ
(ก) กรณีคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่
ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการคณะ (มาตรา 6 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ข)
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องจัดทำรายการ รายงาน หรือเอกสารอื่น
ให้กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อ
(มาตรา 7 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ค) ผู้มีเงินได้พึงประเมินที่มิใช่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (มาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ง) ผู้มีเงินได้พึงประเมินที่เป็นผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเสมือนไร้ความสามารถ
หรือผู้อยู่ในต่างประเทศ ผู้ที่ตั้งตัวแทน
ได้แก่ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ หรือผู้จัดการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน
ตัวแทนหรือทรัตตี (มาตรา 57 มาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)
(จ)
ผู้ถึงแก่ความตายหรือกองมรดก ได้แก่ ผู้จัดการมรดก ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์ (มาตรา
57
ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
(ฉ) ลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทยของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(มาตรา 76
ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
(ช)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (มาตรา 82 ถึงมาตรา 82/2 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ซ)
ผู้มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีแทนหรือร่วมกับผู้ประกอบการจดทะเบียน
(มาตรา 83/3 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ฌ)
ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(มาตรา 91/7 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ญ)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
(มาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ฎ)
ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ (มาตรา 104 แห่งประมวลรัษฎากร)
(ฏ)
ผู้มีหน้าที่ออกใบรับหรือใบส่งของ (มาตรา 105 มาตรา
105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร)
……………….(2) มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้
อาทิ กรณีมีภัยพิบัติที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น อัคคีภัย วาตภัย เป็นต้น
กรณีไม่ถือว่ามีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติตามกำหนดได้ อาทิ
พนักงานลาออก พนักงานลาป่วย ลาคลอด ลาบวช
ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรที่ประสงค์จะขอขยายกำหนดเวลาต้องยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากร
พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการขอขยายกำหนดเวลาออกไป
……….7.3.2
กรณีอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการขยายกำหนดเวลานั้น
ตามีกฎหมายบัญญัติเปิดกว้างไว้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงสามารถขยายกำหนดเวลาใดๆ
ตามประมวลรัษฎากร โดยไม่ต้องอาศัยเหตุใด
เพียงแต่ต้องคำนึงถึงหลักความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไว้เป็นสำคัญ
……………….ในบางกรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาจขยายกำหนดเวลาที่ต้องปฏิบัติการตามประมวลรัษฎการ
โดยผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรที่ประสงค์จะขอขยายกำหนดเวลาไม่ต้องยื่นคำร้องเป็นหนังสือพร้อมทั้งอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการขอขยายกำหนดเวลาออกไป
ดังเช่นกรณีขอขยายกำหนดเวลาต่ออธิบดีกรมสรรพากร
….7.4 ผลของการได้รับการขยายกำหนดเวลา
……….7.4.1 เกี่ยวกับบทกำหนดโทษทางอาญา ทั้งกรณีขยายกำหนดเวลาโดยอธิบดีกรม
สรรพากรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ต้องรับผิดไม่ต้องระโทศทางอาญา ได้แก่
ค่าปรับ หรือจำคุก แต่อย่างใด
……….7.4.2
เกี่ยวกับเบี้ยปรับทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ทั้งกรณีขยายกำหนดเวลาโดยอธิบดีกรมสรรพากรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ผู้ต้องรับผิดไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับแต่อย่างใด
……….7.4.3
เกี่ยวกับเงินเพิ่มภาษีอากร
……………….(1) กรณีขยายกำหนดเวลาโดยอธิบดีกรมสรรพากร
(ก) กรณีภาษีเงินได้เป็นไปตามมาตรา
27
แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
มาตรา 27 บุคคลใดไม่เสีย
หรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่างๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมิน
ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
ในกรณีอธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษีและได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น
เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
(ข) กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นไปตามมาตรา
89/1 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
“มาตรา 89/1 บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำ ส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้
ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับในกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา
3 อัฏฐ และได้มีการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น
เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน”
สำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21 (6) ให้ในบทบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ไปใช้บังคับโดยอนุโลม
(ค)
กรณีอื่นนอกจาก (ก) และ (ข) ไม่ได้รับการลดเงินเพิ่มแต่อย่างใด
……………….(2) กรณีขยายกำหนดเวลาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มแต่อย่างใด
7.4.4 การขยายเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผลให้เจ้าพนักงานประเมินขยายเวลาการออกหมายเรียกฯ
ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดให้จะต้องกระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ
ไม่ว่าการยื่นรายการนั้นจะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่ ทั้งนี้
แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ดังนี้
“มาตรา 19 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า
ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์
ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน
และออกหมายเรียกพยาน กับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้
แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย ทั้งนี้
การออกหมายเรียกดังกล่าวจะต้องกระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ
ไม่ว่าการยื่นรายการนั้นจะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่
ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ...”
……….7.4.5 ขยายเวลาการขอคืนภาษีตามมาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
“มาตรา
27 ตรี เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น การขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้
ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย
ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปี
นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่
(1) ในกรณีผู้มีสิทธิขอคืนได้ยื่นรายการเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือได้ยื่นรายการภายในเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไป
ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ”
……….7.4.6 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมาดาได้รับการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ
เป็นผลให้ผู้มีเงินได้รับสิทธิขยายเวลาการผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา
64 แห่งประมวลรัษฎากร ออกไปดังนี้
“มาตรา 64 เว้นแต่กรณีตามมาตรา 18 ทวิ ถ้าภาษีที่ต้องเสียตามบทบัญญัติแห่งส่วนนี้มีจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ผู้ต้องเสียภาษีจะชำระเป็นสามงวดๆ ละเท่าๆ กันก็ได้ คือ
(1)
ในกรณีที่ต้องเสียตามมาตรา 56 ตรี หรือมาตรา 57 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร งวดที่หนึ่งต้องชำระตามกำหนดในมาตราดังกล่าว
งวดที่สองต้องชำระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่หนึ่ง และงวดที่สามต้องชำระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง...”
……….7.4.7 ผลการขยายกำหนดเวลาตามตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่งหรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายที่ขยายออกไปนี้นตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ
ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
ตามมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด (ข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่
ป. 117/2545)
….การขยายกำหนดเวลาต่างๆ
ประมวลรัษฎากรตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร อาจจำแนกความแตกต่างของการขยายกำหนดเวลาอันเป็นอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา
3 อัฏฐ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร และอำนาจขยายกำหนดเวลของรัฐมตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา
3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
8. มาตรา 3
เอกาทศ การมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
“มาตรา 3 เอกาทศ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร
และผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการ ตามประมวลรัษฎากรได้ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ โดยอนุมัติรัฐมนตรี
การกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
จากบทบัญญัติมาตรา 3 เอกาทศ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 3 กรกฎาคม 2525
เป็นต้นไปดังกล่าวอาจแยกพิจารณาเกี่ยวกับการมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ได้ดังนี้
8.1 การมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา
3 เอกาทศ บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร
เนื่องจากมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการประมวลผล
ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ในชั้นแรกนั้นสามารถจดจำตัวเลขได้ดีกว่าตัวอักษร
จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ในขณะนั้นแม้จะมีเลขประจำตัวประชาชน
13
หลักใช้เพื่อการจัดเก็บข้อมูลสมโนประชากรของกรมการปกครงอยู่ก่อนแล้ว
แต่การเชื่อมโยงข้อมูลของสองหน่วยงานยังไม่สามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรมสรรพากรจึงต้องกำหนดให้มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก โดยจำแนกตามประเภทของผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากรดังนี้
ให้ขึ้นต้นเลขประจำดัวผู้เสียภาษีอากรด้วย
1
กรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรที่เป็นบุคคลธรรมดา
ให้ขึ้นต้นเลขประจำดัวผู้เสียภาษีอากรด้วย
2
กรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ให้ขึ้นต้นเลขประจำดัวผู้เสียภาษีอากรด้วย
3
กรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรที่เป็นบริษัทหรือหห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ให้ขึ้นต้นเลขประจำดัวผู้เสียภาษีอากรด้วย
4
กรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรไม่มีหน้าที่เสียเงินได้
8.2 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
3 เอกาทศ
อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการคลังได้ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง
กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545 ใช้บังคับวันที่ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ดังนี้
8.2.1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง
กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.
2539
(2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง
กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2539
(3) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง
กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2539
8.2.2 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรและผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี
ณ ที่จ่าย ดังต่อไปนี้ มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คือ ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา
ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ที่ถึงแก่ความตาย
กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ให้ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนด
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเงินได้พึงประเมิน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่ง
มิให้รวมถึงคน ต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาและอยู่ในประเทศไทยครั้งละไม่เกิน 14 วัน และรวมกันแล้วไม่เกินเก้าสิบวันในปีภาษีหนึ่งๆ
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นผู้เยาว์
ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
หรือเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นผู้อยู่ในต่างประเทศ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ หรือผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน
แล้วแต่กรณี
มีหน้าที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวตามวรรคหนึ่งแทนผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ที่ถึงแก่ความตาย กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
หรือผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีมีหน้าที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวตามวรรคหนึ่งแทนผู้มีหน้าที่เสียภาษี
เงินได้บุคคลธรรมดา
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทยแล้วแต่กรณี
(3) ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี
ณ ที่จ่าย ให้ปฏิบัติดังนี้
(ก) บุคคลธรรมดา คณะบุคคล
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีและใช้เลขประจำตัวตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่กำหนดไว้แล้ว
ให้ใช้เลขประจำตัวนั้นในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร กรณีเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย
(ข) ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี
ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร
แต่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรหรือมีหน้าที่เสียภาษีอากรแต่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากรบางกรณี
ให้ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนดก่อนวันที่จ่ายเงินได้
(ค) กรณีที่ผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล
องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
ให้ยกเว้นไม่ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
แต่กรมสรรพากรจะเป็นผู้กำหนดเลขประจำตัวและแจ้งให้ส่วนราชการดังกล่าวทราบและถือปฏิบัติต่อไป
8.2.3 การยื่นคำร้องตาม 8.2.2 ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ยื่นคำร้องต่อสรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรพื้นที่สาขา
ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่
ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่
ในกรณีที่อยู่และสำนักงานประจำของผู้ยื่นคำร้องมิได้อยู่ในท้องที่จังหวัดเดียวกัน
ผู้ยื่นคำร้องจะยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ ณ
สถานที่ดังกล่าวในวรรคหนึ่งในเขตท้องที่ที่สำนักงานประจำตั้งอยู่ก็ได้
(2)
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้ยื่นคำร้องต่อสรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรพื้นที่สาขา
ณ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
เว้นแต่กรณีผู้เสียภาษีอากรที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
(3)
ผู้จ่ายเงินได้ ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
ให้ยื่นคำร้องต่อสรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรพื้นที่สาขา ณ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ผู้จ่ายเงินได้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือมีสำนักงานตั้งอยู่
8.2.4 ให้หน่วยงานที่รับคำร้องดังกล่าวข้างต้น
เป็นหน่วยออกเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร
หรือผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
8.2.5 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ
ที่จ่ายรายหนึ่งมีเลขประจำตัวหนึ่งหมายเลข
หากปรากฏว่ารายใดมีเลขประจำตัวเกินหนึ่งหมายเลขให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ณ
สถานที่ดังกล่าวใน 8.2.3 แล้วแต่กรณี
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเลขดังกล่าวเกินกว่าหนึ่งหมายเลข
เพื่อกำหนดให้มีเพียงหมายเลขเดียวเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
อธิบดีกรมสรรพากรอาจกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีเลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรเกินกว่าหนึ่งหมายเลขก็ได้
8.2.6 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแจ้งเลขประจำตัวและแสดงบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตนในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
ให้ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแจ้งเลขประจำตัวของผู้ถูกหักภาษี
ณ ที่จ่ายไว้ในแบบแสดงรายการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกกรณี
8.2.7 กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี
ณ ที่จ่ายชำรุดเสียหายจนใช้การไม่ได้ หรือสูญหาย หรือมีการแก้ไขชื่อ นามสกุล
ชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือเปลี่ยนที่อยู่
หรือย้ายที่ตั้งสำนักงานหรือสำนักงานใหญ่
ให้ผู้นั้นแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ณ สถานที่ดังกล่าวใน 8.2.3 แล้วแต่กรณี ภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่กรณีดังกล่าวเกิดขึ้น
พร้อมทั้งแนบบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดิม (ถ้ามี) คืนไปด้วย
เพื่อขอให้ออกบัตรนั้นใหม่
กรณีการเปลี่ยนที่อยู่ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี
ณ ที่จ่าย ให้ผู้นั้นแจ้งการเปลี่ยนที่อยู่ต่อเจ้าหน้าที่ ณ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ผู้ยื่นคำร้องได้ย้ายไปอยู่ใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมทั้งแนบบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดิม
(ถ้ามี) คืนไปด้วยเพื่อขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรใหม่
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี
ณ ที่จ่าย ขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ณ สถานที่ ดังกล่าวในข้อ 3 เพื่อส่งคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
8.2.8 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ
ที่จ่าย ตามข้อ 2 แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ณ
สถานที่ดังกล่าวในข้อ 3 แล้วแต่กรณี
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีกรณีดังต่อไปนี้เกิดขึ้น
พร้อมทั้งแนบบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรคืนไปด้วย
(1) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
หรือกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง เลิกหรือโอนกิจการทั้งหมด
หรือพ้นสภาพการเป็นกองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งแล้ว
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
หรือผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ
ที่จ่ายที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
เลิกกันหรือควบเข้ากันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น
กรณีควบเข้ากันตามวรรคหนึ่ง
ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใหม่
หรือผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใหม่อันได้ควบเข้ากันนั้น
ยื่นคำร้องขอมีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรตามข้อ 2 ภายในหกสิบวันนับแต่วันควบเข้ากัน พร้อมกับการแจ้งการควบเข้ากันนั้น
8.2.9 หลักเกณฑ์
วิธีการ ตามประกาศนี้ อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้
8.3 อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ใช้บังคับ วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป ดังนี้
ด้วยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพื่อชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล
อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร
โดยให้ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและ
บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อสรรพากรพื้นที่
สรรพากรพื้นที่สาขาหรือ ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ณ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ แล้วแต่กรณี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง
กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
และผู้จ่ายเงินได้ ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545
เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรและเป็นการอำนวยความสะดวกแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีอากร
อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามมาตรา 3
เอกาทศ และข้อ 9
ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าว กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีสิทธิยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามแบบคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร
http://www.rd.go.th โดยจะต้องเป็นการขอมีและใช้เลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
8.4 กรณีฝ่าฝืนบทบัญญัติเกี่ยวกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา
3 เอกาทศ ต้องระวางโทษมาตรา 3 ทวาทศ ซึ่งเพิ่มโดยประกาศคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2520 ดังนี้
“มาตรา 3 ทวาทศ
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 3 เอกาทศ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท”
9. มาตรา 3 เตรส
“มาตรา 3 เตรส ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีให้อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามลักษณะ 2 หักภาษี ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ในการนี้ให้นำมาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54
มาตรา 55 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 และมาตรา 63 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
จากบทบัญญัติมาตรา 3 เตรส ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 ดังกล่าวอาจแยกพิจารณาเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ได้ดังนี้
9.1 หลักการเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส
9.1.1
กำหนดบัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารการจัดเก็บภาษีเงินได้
เกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้โดยหักไว้ ณ ที่จ่าย
เนื่องจากบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 50 และภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 69
ทวิ และมาตรา 69 ตรี ไม่สนองตอบต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่ายอย่างเพียงพอ
9.1.2 กรอบของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3
เตรส แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
(1) มาตรา 3 เตรส ซึ่งบัญญัติหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้
โดยให้ผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีไว้ ณ
ที่จ่ายนอกจากที่กำหนดไว้ในแต่ละประเภทภาษี
(2) กฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 3 เตรส
เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ซึ่งได้แก่ กฎกระทรวงฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522)
(3) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528
นอกจากนี้อธิบดีกรมสรรพากรยังได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 8/2528
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 20/2531
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 91/2542
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 114/2545
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 120/2545
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.
125/2546
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.
126/2546
9.1.3 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส เป็นกฎหมายทั่วไป
ซึ่งให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากร
ในอันที่จะออกคำสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้ที่ไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้เงินได้บุคคลธรรมดา
หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ให้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตรา ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งได้แก่
กฎกระทรวงฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522)
9.2 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติมาตราดังต่อไปนี้ ซึ่งกำหนดให้นำมาใช้บังคับกับการหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส โดยอนุโลม
9.2.1 มาตรา 52 เกี่ยวกับการนำส่งภาษีหัก ณ
ที่จ่าย ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่จ่ายเงินได้
ไม่ว่าตนจะได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายหรือไม่
9.2.2 มาตรา 53 กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล
หรือองค์การของรัฐบาล ให้เจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินทำการตรวจสอบให้แน่ว่า
มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในฎีกาเบิกเงิน (เบิกหักผลักส่ง) หรือไม่ ถ้าไม่
ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามปกติ
(ซึ่งไม่มีข้อกำหนดให้รัฐบาลหรือองค์การของรัฐบาลเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส)
9.2.3 มาตรา 54
เกี่ยวกับความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ สำหรับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่ายที่มิได้หักและนำส่ง ให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
9.2.4 มาตรา 55 เกี่ยวกับการให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้
โดยวิธีอื่นนอกจากภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
9.2.5 มาตรา 58 เกี่ยวกับการยื่นรายการสรุปการจ่ายเงินได้พึงประเมิน
(สำหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
ภายในเดือนมกราคมของทุกๆ ปี (ซึ่งไม่ต้องปฏิบัติสำหรับการหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส)
9.2.6 มาตรา 59 เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
พร้อมกับการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 52
9.2.7 มาตรา 60
เกี่ยวกับกรณีให้ถือว่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเป็นเงินได้พึงประเมินที่ผู้ต้องเสียภาษีได้รับ
และจำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ได้หักและนำส่งไว้นั้น
เป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี
9.2.8 มาตรา 63
เกี่ยวกับกำหนดเวลาในการขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส
ซึ่งจะต้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย
9.3 มาตรา 3 จตุทศ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.
2526 ใช้บังคับวันที่ 29 พฤศจิกายน 2526 เป็นต้นไป
“มาตรา 3 จตุทศ
ในกรณีที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งก่อน
ไม่ว่าการจ่ายเงินนั้นจะเกิดขึ้นจากคำสั่งหรือคำบังคับของศาลหรือตามกฎหมาย
หรือเหตุอื่นใดก็ตาม”
จะเห็นได้ว่า มาตรา 3 จตุทศ เป็นบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ที่จะให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ณ ที่จ่าย ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรทุกกรณีทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากรเสมอไป
ในทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดข้อโต้แย้งกับผู้มีเงินได้
ในกรณีที่การจ่ายเงินได้นั้นเกิดขึ้นเนื่องจากคำสั่งหรือคำบังคับของศาล หรือเหตุอื่นใดก็ตาม