ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

แนวทางการพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ที่ มก. 53/2560 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทความวันที่ 31 ก.ค. 2560  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 56116 ครั้ง

แนวทางการพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

ที่ มก. 53/2560 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

 

กรมสรรพากรได้ยกเลิกแนวทางการพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ที่ มก. 28/2555 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยแนวทางปฏิบัติที่ มก. 53/2560 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เพื่อให้การพิจารณากรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยมีเหตุอันสมควร ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไมต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ โดยให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป (ข้อ 11) และแนวทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับแนวทางปฏิบัตินี้ ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัตินี้ (ข้อ 10)

1. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25

      ในการพิจารณาว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) หรือไม่ ให้ดำเนินการดังนี้ (ข้อ 2)

      1.1 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป

           (1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ให้เปรียบเทียบประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) กับกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ฉบับหลังสุด กรณีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) เพิ่มเติม สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน

           (2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) และเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรตามมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร กรณี ให้เปรียบเทียบประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) กับกำไรสุทธิตามผลการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

      1.2 กรณีบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมถึงบริษัทที่ประกอบกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค สำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ หรือบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ให้พิจารณาจากกำไรสุทธิรวมของกิจการ หากประมาณการกำไรสุทธิรวมขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิรวม ถือว่าบริษัทประมวณการกำไรสุทธิขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น      

2. กรณีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

      จากผลการเปรียบเทียบตามข้อ 1. ดังกล่าว ปรากฏว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) หากเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่า เป็นกรณีมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร (ข้อ 3)

      2.1 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว

      2.2 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี

      2.3 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อดำเนินการเปรียบเทียบตามข้อ 2 แล้ว พบว่าประมาณการกำไรสุทธิรวมขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิรวม แต่เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายกิจการ ปรากฏว่า ประมาณการกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

      2.4 กรณีเปรียบเทียบประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)  กับกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ฉบับหลังสุด ซึ่งยื่นภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) แล้ว พบว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ไว้ขาดไปไม่เกินร้อยร้อยละ 25 ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แต่ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) เพิ่มเติม ซึ่งส่งผลให้ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น  

3. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถชี้แจงและพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ว่า ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นเกิดจากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่า มีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร (ข้อ 4)

      3.1 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่สามารถคาดการณ์หรือควบคุมได้ ดังนี้

           (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ ซึ่งในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ ทั้งนี้ คำว่า “รายได้จากการประกอบกิจการ” ไม่รวมถึงรายได้เนื่องจากกิจการ

           (2) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำลง ทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยต่ำลงด้วย

           (3) การส่งออกสินค้ามีความไม่แน่นอน ทั้งปริมาณและราคาสินค้า หรือมีการยกเลิกการควบคุมราคาหรือปริมาณสินค้าส่งออก หรือปริมาณและราคมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่สามารถคาดการณ์ได้

           (4) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ เช่น มีการประกาศเปลี่ยนแปลงสกุลเงินตราต่างประเทศหรือประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน หรือมีสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีการผันผวน เป็นต้น

      3.2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ซึ่งเกิดจากกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีกำไรจากการขายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการ       

4. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 2. และข้อ 3. แต่เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาข้อเท็จจริงอื่นๆ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ 3. ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถชี้แจงและพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ว่า ส่งผลให้ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ให้ถือว่า กรณีดังกล่าวเป็นเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร (ข้อ 5)   

5. กรณีปรับปรุงเหตุอันสมควรตามข้อ 3. และข้อ 4. แล้ว เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร (ข้อ 6)

      5.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิของกิจการขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

      5.2 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมาณการกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น  

      5.3 บริษัทที่ประกอบกิจการสำนักงานปฎิบัติการภูมิภาค สำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ หรือบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ประมาณการกำไรสุทธิของกิจการแต่ละประเภทต้องขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิของกิจการแต่ละประเภท ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น  

6. ในการพิจารณาเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาและเสนอความเห็นต่อผุ้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติ ดังนี้ (ข้อ 7)

      6.1 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยมีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 และข้อ 4 ให้พิจารณาและเสนอความคิดเห็นต่อผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษีกลางหรือผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสรรพากรพื้นที่ แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุมัติ

      6.2 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยมีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 และข้อ 4 แต่มีเหตุอันสมควรตามข้อ 5 ให้สำนักตรวจสอบภาษีกลาง และสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ เสนอความเห็นผ่านสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี เพื่อขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร สำหรับสำนักงานสรรพากรพื้นที่ให้เสนอความเห็นเพื่อขออนุมัติต่อสรรพากรภาค

7. กรณีมีเหตุอย่างอื่นนอกเหนือจากแนวทางปฏิบัตินี้ ให้เสนอข้อเท็จจริงและความเห็นต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อวินิจฉัยสั่งการ (ข้อ 8)  



แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากร

ที่ มก. 53/2560

เรื่อง การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

--------------------------------------------

เพื่อให้การพิจารณากรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยมีเหตุอันสมควร ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไมต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงกำหนดแนงทางปฏิบัติในการพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกแนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรที่ มก. 28/2555 เรื่อง การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อ 2 การพิจารณาว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือไม่ ให้เปรียบเทียบประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) กับกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ฉบับหลังสุด กรณีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) เพิ่มเติม สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน เว้นแต่เป็นรอบระยะเวลาบัญชีที่มีออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรตามมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เปรียบเทียบประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) กับกำไรสุทธิตามผลการตรวจสอบของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

        กรณีบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมถึงบริษัทที่ประกอบกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค สำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ หรือบริษัทการค้าระหว่างประเทศ การเปรียบเทียบตามวรรคแรก ให้พิจารณาจากกำไรสุทธิรวมของกิจการ หากประมาณการกำไรสุทธิรวมขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิรวม ถือว่าบริษัทประมวณการกำไรสุทธิขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น      

ข้อ 3 กรณีดังต่อไปนี้ให้ถือว่า เป็นกรณีมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

        3.1 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว

        3.2 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี

        3.3 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อดำเนินการเปรียบเทียบตามข้อ 2 แล้ว พบว่าประมาณการกำไรสุทธิรวมขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิรวม แต่เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายกิจการ ปรากฏว่า ประมาณการกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

        3.4 กรณีเปรียบเทียบประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)  กับกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ฉบับหลังสุด ซึ่งยื่นภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) แล้ว พบว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ไว้ขาดไปไม่เกินร้อยร้อยละ 25 ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แต่ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) เพิ่มเติม ซึ่งส่งผลให้ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น  

ข้อ 4 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถชี้แจงและพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ว่า ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นเกิดจากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ให้พิจารณาว่า มีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

        4.1 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่สามารถคาดการณ์หรือควบคุมได้ ดังนี้

             (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ ซึ่งในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ ทั้งนี้ คำว่า “รายได้จากการประกอบกิจการ” ไม่รวมถึงรายได้เนื่องจากกิจการ

             (2) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำลง ทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยต่ำลงด้วย

             (3) การส่งออกสินค้ามีความไม่แน่นอน ทั้งปริมาณและราคาสินค้า หรือมีการยกเลิกการควบคุมราคาหรือปริมาณสินค้าส่งออก หรือปริมาณและราคมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่สามารถคาดการณ์ได้

             (4) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ เช่น มีการประกาศเปลี่ยนแปลงสกุลเงินตราต่างประเทศหรือประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน หรือมีสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีการผันผวน เป็นต้น

        4.2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ซึ่งเกิดจากกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีกำไรจากการขายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการ       

ข้อ 5 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 และข้อ 4 แต่เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาข้อเท็จจริงอื่นๆ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ 4 ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถชี้แจงและพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ว่า ส่งผลให้ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ให้ถือว่า กรณีดังกล่าวเป็นเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร    

ข้อ 6 กรณีปรับปรุงเหตุอันสมควรตามข้อ 4 และข้อ 5 แล้ว ให้พิจารณา ดังนี้

        6.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิของกิจการขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

        6.2 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมาณการกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

        6.3 บริษัทที่ประกอบกิจการสำนักงานปฎิบัติการภูมิภาค สำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ หรือบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ประมาณการกำไรสุทธิของกิจการแต่ละประเภทต้องขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิของกิจการแต่ละประเภท ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร   

ข้อ 7 ในการพิจารณาเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาและเสนอความเห็นต่อผุ้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติ ดังนี้

       7.1 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยมีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 และข้อ 4 ให้พิจารณาและเสนอความคิดเห็นต่อผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษีกลางหรือผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสรรพากรพื้นที่ แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุมัติ

       7.2 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยมีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 และข้อ 4 แต่มีเหตุอันสมควรตามข้อ 5 ให้สำนักตรวจสอบภาษีกลาง และสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ เสนอความเห็นผ่านสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี เพื่อขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร สำหรับสำนักงานสรรพากรพื้นที่ให้เสนอความเห็นเพื่อขออนุมัติต่อสรรพากรภาค

ข้อ 8 กรณีมีเหตุอย่างอื่นนอกเหนือจากแนวทางปฏิบัตินี้ ให้เสนอข้อเท็จจริงและความเห็นต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อวินิจฉัยสั่งการ

ข้อ 9 ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษีรักษาการตามแนวทางปฏิบัตินี้

ข้อ 10 แนวทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับแนวทางปฏิบัตินี้ ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัตินี้

ข้อ 11 ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ที่ลงนามในแนวทางปฏิบัตินี้เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

 

 

ประสงค์  พูนธเนศ
(นายประสงค์  พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร