ศึกษาประมวลรัษฎากร ด้วยตนเอง ตอนที่ 7: ประมวลรัษฎากร: โมเดล “ขนมชั้นห่อใบตอง”
บทความวันที่ 27 ก.ค. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 1955 ครั้ง
บทความวันที่ 27 ก.ค. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 1955 ครั้ง
ศึกษาประมวลรัษฎากร ด้วยตนเอง ตอนที่ 7
ประมวลรัษฎากร: โมเดล
“ขนมชั้นห่อใบตอง”
ขนมชั้น
ห่อใบตอง
เป็นขนมไทยที่ไม่มีใครเหมือนและถือเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่ควรได้รับการยกย่องเชิดชู
อาจเปรียบ “ประมวลรัษฎากร”
ในฉบับที่เป็นรูปเล่มได้ว่าเป็นประดุจ “ขนมชั้นห่อใบตอง” ได้ดังนี้
ในส่วนที่เป็น
หน้าปก คำนำของผู้เรียบเรียง สารบัญ
ซึ่งไม่ใช้ตัวเนื้อแท้ของกฎหมายตามประมวลรัษฎากร ก็จะเทียบได้กับ “ใบตอง” ที่ห่อหุ้มขนมชั้นไว้ที่ด้านใน และ
ในส่วนของ เนื้อหาที่เป็นตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
“ประมวลรัษฎากร” ที่จำแนกเป็นชั้นๆ ทั้งในส่วนของกฎหมายแม่บท หรือบทบัญญัติ
และกฎหมายลูก หรืออนุบัญญัติ ที่มีลำคับศักดิ์ของกฎหมายต่างกันในแนวดิ่ง
ก็สามารถเทียบได้กับเนื้อ “ขนมชั้น” ที่แยกได้เป็นชั้นๆ ฉันใดก็ฉันนั้น
กล่าวคือ
ประมวลรัษฎากรเป็นส่วนต่อท้ายของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
พ.ศ. 2481 ก็จะได้ขนมชั้นมา 2 ชั้นคือ
ชั้นแรก ได้แก่ พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
พ.ศ. 2481 เนื้อขนมชั้นชั้นนี้อาจจะบางเพราะ (ใส่แป้งเข้าไปน้อย) มีเพียง 6 มาตรา เท่านั้น แต่ก็บรรจุความหอมหวานของรสชาดขนมชั้นไว้ครบครัน สิ่งนั้นก็คือ
-
รูปแบบของ “ประมวลกฎหมาย” ที่ได้รับการบัญญัติขึ้นภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
-
“เจตนารมณ์ในการตราบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร”
ซึ่งบัญญัติไว้ในวรรคแรกหรือย่อหน้าแรกแห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
พ.ศ. 2481
-
การบัญญัติให้ใช้ประมวลรัษฎากรที่ตราไว้ต่อท้ายเป็น
“กฎหมาย” อันเป็นผลให้ประมวลรัษฎากรมีลำดับศักดิ์เป็นพระราชบัญญัติเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
พ.ศ. 2481
-
ประวัติศาสตร์การจัดเก็บภาษีก่อนใช้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
รูปแบบของประมวลทุกฉบับ ทำให้เห็นรอยต่อของกฎหมายภาษีอากรดั้งเดิม (Classical Tax Laws) และกฎหมายภาษีอากรสมัยใหม่ (Modernize Tax Laws)
-
อาจเปรียบได้ว่าวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482
นั้น เป็นวันเริ่มต้น “การรัษฎากรสมัยใหม่” อย่างแท้จริง หรือ หลักกิโลเมตร
(Mile
Stone) ของระบบภาษีสรรพากรยุคใหม่ (สิ้นสุดยุคภาษีอากรแบบดั้งเดิม)
-
บทเฉพาะกาล
ที่สะท้อนว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดก็ตามที่ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ให้ระลึกไว้เสมอว่าต้องมีบทเฉพาะกาล
เพื่อมิให้เกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอันเป็นผลกระทบจาการยกเลิกกฎหมายเก่าและใช้กฎหมายใหม่
ชั้นที่สอง “ประมวลรัษฎากร”
แยกเป็นชั้นใหญ่ๆ ได้เป็น 2 ลักษณะ ซึ่งในปัจจุบันประมวลรัษฎากรประกอบด้วยมาตราต่างๆ 311 มาตรา คือ
-
ลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น ตั้งแต่มาตรา
1 ถึงมาตรา
4 ทศ รวม 26 มาตรา
-
ลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ตั้งแต่มาตรา
5 ถึงมาตรา
129 และบัญขีอัตราอากรแสตมป์
รวม 285 มาตรา
ลักษณะ 1
ข้อความเบี้องต้น ตั้งแต่ประเดิมเริ่มแรกมีเพียง 4 มาตรา คือ มาตรา 1
ถึงมาตรา 4 เท่านั้น ต่อมาได้มีการแทรกมาตรา 3 ทวิ ถึงมาตรา 3
จตุทศ อีก 13 มาตรา และมาตรา 4 ทวิ ถึงมาตรา 4 ทศ อีก 9 มาตรา
จึงรวมเป็น 26 มาตรา ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร นั้นเอง ก็ยังแยกออกเป็นหมวดต่างๆ
ตั้งแต่หมวด 1 ถึงหมวด 6 รวม 7 หมวด
(เพราะมีการเพิ่มหมวด 1 ทวิ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ตั้งแต่มาตรา 13 ทวิ ถึงมาตรา
13 อัฏฐ รวม 7 มาตรา) อีกด้วย และภายในแต่ละหมวดต่างๆ ของลักษณะ 2
ตั้งแต่หมวด 2 ถึงหมวด 6 เว้นแต่หมวด 5 ก็ยังแยกย่อมออกเป็นส่วนๆ คือ
หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 13 รวม 14 มาตรา
หมวด 1 ทวิ
คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ตั้งแต่มาตรา 13 ทวิ ถึงมาตรา 13 อัฏฐ รวม 7
มาตรา
หมวด 2
วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ตั้งแต่มาตรา 14
ถึงมาตรา 37 ตรี รวม 32 มาตรา แบ่งย่อยออกเป็น “ส่วน” อีก 3
ส่วนดังนี้
-
มาตรา 14 ถึงมาตรา 16
ไม่มีส่วนรองรับ
- ส่วน 1 การยื่นรายการและการเสียภาษีอากร ตั้งแต่มาตรา 17 ถึงมาตรา 27 จัตวา รวม 16 มาตรา
-
ส่วน 2 การอุทธรณ์
ตั้งแต่มาตรา 28 ถึงมาตรา 34 รวม 7 มาตรา
- ส่วน 3 บทกำหนดโทษ (ทางอาญา) ตั้งแต่มาตรา 35 ถึงมาตรา 37 ตรี รวม 6 มาตรา
หมวด 3
ภาษีเงินได้่ ตั้งแต่มาตรา 38 ถึงมาตรา 76 ทวิ
และบัญชีอัตราภาษีเงินได้ รวม 62 มาตรา แบ่งย่อยออกเป็น “ส่วน” อีก 3 ส่วนดังนี้
-
ส่วน 1 ข้อความทั่วไป ตั้งแต่มาตรา 38 ถึงมาตรา 39 รวม 2 มาตรา
- ส่วน 2 การเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา ตั้งแต่มาตรา 40 ถึงมาตรา 64 และบัญชีอัตราภาษีเงินได้ (1) รวม 39 มาตรา
- ส่วน 3 การเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งแต่มาตรา 65 ถึงมาตรา 76 ทวิ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้ (2) รวม 21 มาตรา
- บัญชีอัตราภาษีเงินได้
หมวด 4
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่มาตรา 77 ถึงมาตรา 90/5 รวม 115
มาตรา แบ่งย่อยออกเป็น “ส่วน” อีก 14 ส่วน
แต่ละส่วนขึ้นเลขมาตราใหม่ ดังนี้
-
ส่วน 1 ข้อความทั่วไป
ตั้งแต่มาตรา 77 ถึงมาตรา 777/5 รวม 6 มาตรา
- ส่วน 2 ความรับผิดในการเสียภาษี ตั้งแต่มาตรา 78 ถึงมาตรา 78/3 รวม 4 มาตรา
-
ส่วน 3 ฐานภาษี
ตั้งแต่มาตรา 79 ถึงมาตรา 79/7 รวม 8 มาตรา
-
ส่วน 4 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตั้งแต่มาตรา 80 ถึงมาตรา 80/2 รวม 3 มาตรา
- ส่วน 5 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่มาตรา 81 ถึงมาตรา 81/3 รวม 4 มาตรา
- ส่วน 6 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีและการคำนวณภาษี ตั้งแต่มาตรา 82 ถึงมาตรา 82/18 ราม 19 มาตรา
- ส่วน 7 การยื่นแบบและการชำระภาษี ตั้งแต่มาตรา 83 ถึงมาตรา 83/10 รวม 11 มาตรา
- ส่วน 8 เครดิตภาษีและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่มาตรา 84 ถึงมาตรา 84/4 รวม 5 มาตรา
- ส่วน 9 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่มาตรา 85 ถึงมาตรา 85/19 รวม 20 มาตรา
- ส่วน 10 ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ตั้งแต่มาตรา 86 ถึงมาตรา 86/14 รวม 15 มาตรา
- ส่วน 11 การจัดทำรายงานและเก็บรักษาหลักฐานและเอกสาร ตั้งแต่มาตรา 87 ถึงมาตรา 87/3 รวม 4 มาตรา
- ส่วน 12 อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน ตั้งแต่มาตรา 88 ถึงมาตรา 88/6 รวม 7 มาตรา
-
ส่วน 13 เบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม
ตั้งแต่มาตรา 89 ถึงมาตรา 89/3 รวม 4 มาตรา
-
ส่วน 14 บทกำหนดโทษ
ตั้งแต่มาตรา 90 ถึงมาตรา 90/5 รวม 6 มาตรา
หมวด
5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตั้งแต่มาตรา 91 ถึงมาตรา 91/21 รวม 22
มาตรา
หมวด 6
อากรแสตมป์ ตั้งแต่มาตรา 103 ถึงมาตรา 129
และบัญชีอัตราอากรแสดมป์ รวม 33 มาตรา แบ่งย่อยออกไปอีก 3 ส่วน
ดังนี้
-
มาตรา 103 ไม่มีส่วนรองรับ
-
ส่วน 1 การเสียอากร
ตั้งแต่มาตรา 104 ถึงมาตรา 112 รวม 12 มาตรา
-
ส่วน 2 บทเบ็ดเตล็ด
ตั้งแต่มาตรา 113 ถึงมาตรา 123 ตรี รวม 13 มาตรา
-
ส่วน 3 บทลงโทษ
ตั้งแต่มาตรา 124 ถึงมาตรา 129 รวม 7 มาตรา
- บัญชีอัตราอากรแสตมป์
ขนมชั้น
ชั้นต่อๆ ไป ได้แก่ อนุบัญญัติ หรือกฎหมายลูก ก็ยังมีหลายระดับประกอบด้วยดังนี้
-
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
-
กฎกระทรวง ฉบับที่ ... (พ.ศ. ....)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
-
ประกาศกระทรวงการคลัง
และระเบียบกระทรวงการคลัง
-
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
(ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน)
-
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. .../เลข พ.ศ….
-
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
ว่าด้วยกรณีและประเภทภาษีอากรต่างๆ ตามประมวลรัษฎากร
ก็จะได้ขนมชั้นห่อใบตองที่มีเนื้อหาน่าลองลิ้มชิมรสชาดว่าจะหวานหอม
นุ่มนวล และได้กลิ่นอายของภูมิปัญญาไทยไปบ้าง
อนึ่ง
ในเนื้อขนมชั้นดังกล่าว
อาจมีผงฝุ่นที่แม้ไม่ใช่เนื้อขนมชั้นแต่หากรับประทานเข้าไปก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยได้
อาทิ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. .../เลข พ.ศ. ย่อคำพิพากษาฎีกา
หรือคำตอบข้อหารือของกรมสรรพากร ความเห็นของผู้รวบรวม ไว้ด้วย