ภาษีการรับมรดก (2)
บทความวันที่ 2 ส.ค. 2559 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 2450 ครั้ง
บทความวันที่ 2 ส.ค. 2559 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 2450 ครั้ง
จำนวนปี
อัตราส่วนลด (ร้อยละ)
น้อยกว่า
1 ปี 1.00
1
1.97
2
2.91
3 3.83
4
4.72
5
5.58
6 6.42
7 7.23
8 8.02
9
8.79
10 9.53
11
10.25
12
10.95
13
11.64
14
12.30
15
12.94
16
13.56
17 14.17
18
14.75
19
15.32
20
15.88
21
16.42
22
16.94
23
17.44
24
17.94
25
18.41
26
18.88
27
19.33
28
19.76
29
20.19
30
20.60
31 21.00
32
21.39
33
21.77
34 22.13
35
22.49
36
22.83
37
23.17
38
23.49
39
23.80
40
24.12
41
24.41
42
24.70
43
24.98
44
25.25
45
25.52
46
25.78
47
26.03
48
26.27
49
26.50
50
ปีขึ้นไป 26.73
(2)
การคำนวณหามูลค่าภาระที่ถูกรอนสิทธิกรณีมรดกที่ต้องเสียภาษีเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระที่ถูกรอนสิทธิ
โดยเจ้ามรดกได้รับค่าตอบแทนจากภาระที่ถูกรอนสิทธินั้น ให้นําค่าตอบแทนที่พึงคำนวณได้คูณด้วยอัตราส่วนลดตาม
(1)
ค่าตอบแทนที่พึงคำนวณได้ตามวรรคหนึ่ง
หมายถึง ค่าตอบแทนเฉลี่ยเป็นรายปีตามระยะเวลาที่ถูกรอนสิทธิ
คูณด้วยระยะเวลาที่ผู้ได้รับมรดกจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นนับตั้งแต่วันที่ได้รับมรดก
(ข้อ 4 ของกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์การหักภาระที่ถูกรอนสิทธิในการคำนวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดก
พ.ศ. 2559)
3.2.2
กรณีเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ให้ถือเอาราคาของหลักทรัพย์นั้นในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ได้รับมรดก
3.2.3 การคำนวณมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่ในต่างประเทศ
ให้คำนวณตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1)
กรณีอสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในประเทศซึ่งมีราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ให้ถือเอาตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายของประเทศนั้น
(2)
กรณีอสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในประเทศซึ่งไม่มีราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม
(1)
ให้ใช้ราคาที่รับรองโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการรับรองหรือความเห็นชอบให้เป็นผู้มีสิทธิประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่
(3)
กรณีอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้ใช้ราคาตลาดในวันที่ได้รับมรดกนั้น
(ข้อ
2 ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก
พ.ศ. 2559)
3.2.4
การคำนวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1)
หุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับมูลค่าทางบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น
เว้นแต่ในกรณีทรัพย์มรดกที่เป็นหุ้นนั้นเป็นหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งไปถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น
ให้ถือมูลค่าหุ้นดังนี้
(ก)
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นนั้นไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ให้ถือเอามูลค่าที่สูงกว่าระหว่างมูลค่าดังต่อไปนี้ มาใช้ในการคำนวณมูลค่าของทรัพย์มรดก
1)
มูลค่าทางบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
2)
มูลค่าทางบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
(ข)
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นนั้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หรือจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของต่างประเทศ
ให้ถือเอาราคาหรือมูลค่าที่สูงกว่าระหว่างราคาหรือมูลค่าดังต่อไปนี้ มาใช้ในการคำนวณมูลค่าของทรัพย์มรดก
1)
มูลค่าทางบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
2)
ราคาหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นนั้นในเวลาสิ้นสุดเวลาทําการของตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ได้รับมรดก
(ค) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นตาม
(ก) หรือ (ข) เกินกว่า 1 แห่ง
ให้นับรวมราคาหรือมูลค่าหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น ๆ นั้น ตาม
(ก) หรือ (ข) เทียบกับมูลค่าทางบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
และให้ถือเอาราคาหรือมูลค่าที่สูงกว่ามาใช้ในการคำนวณมูลค่าของทรัพย์มรดก
(2)
ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้ ให้ใช้มูลค่าดังต่อไปนี้
เป็นมูลค่าของทรัพย์มรดก
(ก) กรณีที่มีการจำหน่ายครั้งแรกต่ำกว่าราคาไถ่ถอน ให้ใช้ราคาที่จำหน่ายครั้งแรก
(ข) กรณีที่มีการจำหน่ายครั้งแรกไม่ต่ำกว่าราคาไถ่ถอน ให้ใช้ราคาไถ่ถอน
(3)
หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของต่างประเทศ ให้ถือเอาราคาของหลักทรัพย์นั้น
ในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ได้รับมรดก
(4)
กรณีอื่นนอกจาก (1)(2) และ (3) ให้ถือตามราคาหรือมูลค่าในวันที่ได้รับมรดก
3.2.5
การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินที่เป็นยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1)
มูลค่าของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ให้ใช้ราคาประเมินราคารถ
สำหรับปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรในการโอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายรถดังกล่าวที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
โดยให้คำนวณมูลค่าตามราคาเฉลี่ยระหว่างราคาประเมินสูงสุดและราคาประเมินต่ำสุดของราคาประเมินรถนั้น
ในกรณีไม่มีมูลค่าตามราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินที่ประเมินโดยบุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินนั้น
(2)
มูลค่าของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
ให้ใช้ราคาประเมินที่ประเมินโดยบุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพของประเทศนั้น
ๆ เกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินนั้น
(3)
มูลค่าของเรือหรือเครื่องบิน
ให้ใช้ราคาประเมินที่ประเมินโดยบุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพของประเทศนั้น
ๆ เกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินนั้น
(4)
กรณีอื่นนอกจาก (1)(2) และ (3) ให้ถือตามราคาตลาดในวันที่ได้รับมรดก
3.2.6 การคำนวณมูลค่าของเงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะทำ นองเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือมีสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงิน