หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักรายจ่าย 1.5 เท่าสำหรับรายจ่ายในการลงทุนในทรัพย์สิน ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบัยที่ 304)
บทความวันที่ 24 ก.ค. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 5771 ครั้ง
บทความวันที่ 24 ก.ค. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 5771 ครั้ง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักรายจ่าย 1.5 เท่าสำหรับรายจ่ายในการลงทุนในทรัพย์สิน
ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) พ.ศ.
2560
และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบัยที่ 304)
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในประเทศของผู้ประกอบการซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มมากยิ่งขึ้น
อันจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวตามเป้าหมาย รวมทั้งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
โดยให้นำรายจ่ายลงทุนในทรัพย์สินบางประเภทที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายไปในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่
31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 มาถือเป็นรายจ่ายได้ 150% ของมูลค่าทรัพย์สินที่
ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 642)
พ.ศ. 2559 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบัยที่ 304) ณ วันที่ 19
กรกฎาคม พ.ศ. 2560 จึงขอนำมากล่าวเพื่อประโยชน์ต่อที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้
1. ประเภทของทรัพย์ที่จะลงทุน
การลงทุนในทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้สองเท่าของมูลค่าทรัพย์สิน
ต้องเป็นการลงทุน โดยการซื้อ เช่าซื้อ สร้าง ก่อสร้าง เป็นต้น หรือการต่อเติม
เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม
ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับทรัพย์สินดังต่อไปนี้
1.1 เครื่องจักร ส่วนประกอบ
อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์
“เครื่องจักร” หมายความว่า
สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิด พลังงานเปลี่ยน
หรือแปลงสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม
ก๊าซไฟฟ้า
หรือพลังงานอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันและหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์
ไฟลวีล ปุลเล สายพาน เพลา เกียร์ หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสนองกัน
แต่ไม่รวมถึงยานพาหนะที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ
1.2 โปรแกรมคอมพิวเตอร์
1.3 ยานพาหนะที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ
แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่มิใช่ได้มาเพื่อนำออกให้เช่า
1.4 อาคารถาวร
แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย ทั้งนี้
ต้องจ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนฯ
ตามประกาศอธิบดี เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304) ลงวันที่ 19
กรกฎาคม พ.ศ. 2560
2. คุณลักษณะของทรัพย์สิน
ทรัพย์สินจะนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ 1.5 เท่า
ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
2.1 ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
2.2 ต้องสามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา
65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
และต้องได้ทรัพย์สินนั้นมาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การได้ตามประสงค์ภายในวันที่ 31
ธันวาคม พ.ศ. 2560
2.3 ต้องอยู่ในราชอาณาจักร
เว้นแต่ยานพาหนะตามข้อ 1.3
2.4 ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
2.5 ไม่เป็นทรัพย์สินที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
เว้นแต่เป็นการนำไปใช้ในโครงการตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น
3. หลักเกณฑ์การลงทุน
3.1 สำหรับทรัพสินตามข้อ 1.1 ข้อ 1.2 และ ข้อ 1.3
ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ข้อ 2 ของประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที 304))
(1) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก
หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญาใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น
แล้วแต่กรณีที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม
พ.ศ. 2560 หรือ
(2) ต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559
แต่การจ่ายเงินเพื่อการลงทุนยังไม่ได้จ่ายให้ครบถ้วนตามจำนวนที่ตกลงกันไว้
3.2 สำหรับทรัพย์สินตามข้อ
1.4 ซึ่งไม่รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินโดยการซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินนั้นมา ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ข้อ 3 ของประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 304))
(1) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก
หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ดังนี้
(ก) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 โดยยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
กรณีขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522
โดนยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนวันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2560
ไม่ว่าจะมีการขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารนั้นหรือไม่ก็ตามต้องมีการทำสัญญาจ้าง
ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยต้องไม่มีการลงทุน หรือต่อเติม เปลี่ยนแปลง
ขยายออก
หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินตามใบอนุญาตดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่
1 มกราคม พ.ศ.2560 หรือ
(ข)
ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 31
ธันวาคม พ.ศ.2560
กรณีแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา
39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ต้องมีการทำสัญญาจ้าง
ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยต้องไม่มีการลงทุน หรือต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก
หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินตามการแจ้งดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2560 หรือ
(ค)
กรณีไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง
ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง
ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้นที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 หรือ
(2)
ต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559
แต่การจ่ายเงินเพื่อการลงทุนยังไม่ได้จ่ายให้ครบถ้วนตามจำนวนที่ตกลงกันไว้
4. ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ลงทุนในทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ในข้อ
3 ดังกล่าวข้างต้น ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม
เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม
ตามมาตรา 65 ตรี (5)
แห่งประมวลรัษฎากร
เป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประเภทของทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไขและระยะเวลาดังนี้ (ข้อ 4 ของประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 304))
4.1 ทรัพย์สินตามข้อ 1.1
ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
4.2 ทรัพย์สินตามข้อ 1.2
ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
4.3 ทรัพย์สินตามข้อ 1.3 ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
4.4 ทรัพย์สินตามข้อ 1.4 ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับระยะเวลายี่สิบรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
5. ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ
4 เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้ (ข้อ 5
ของประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 304))
5.1 กรณีการลงทุนในเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือยานพาหนะที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ให้เริ่มใช้สิทธิตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน
5.2
กรณีการลงทุนในเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือยานพาหนะ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559
แต่การจ่ายเงินเพื่อการลงทุนยังไม่ได้จ่ายให้ครบถ้วนตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดังนี้
(1) กรณีการลงทุนในทรัพย์สินที่ไม่ใช่เครื่องจักร
ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินเพื่อการลงทุนตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงในระหว่างวันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยการจ่ายเงินนั้นจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด
ให้เริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(2) กรณีการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นเครื่องจักร
ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นดังนี้
(ก) กรณีเครื่องจักรนั้นได้เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา
65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร มาแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2560
ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินเพื่อการลงทุนตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงในระหว่างวันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
โดยการจ่ายเงินนั้นจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด
ให้เริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(ข) กรณีเครื่องจักรนั้นยังไม่ได้เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ
(2) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560
ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา
65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
5.3 กรณีการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นอาคารเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ
3.2 (1)
ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา
65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
5.4 กรณีการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นอาคารเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ
3.2 (2) ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นดังนี้
(1) กรณีอาคารนั้นได้เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา
65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร มาแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560
ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินเพื่อการลงทุนตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงในระหว่างวันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2560
โดยการจ่ายเงินนั้นจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด
ให้เริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(2) กรณีอาคารนั้นยังไม่ได้เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา
65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560
ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา
65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
6. ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ
4 ที่นำทรัพย์สินตามข้อ 1
ไปใช้ในโครงการที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตราการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น
ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลง
(ข้อ 6 ของประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 304))
7.
ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ
3.2 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ดำเนินการดังนี้ (ข้อ 7
ของประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 304))
7.1 กรณีเป็นการลงทุนในทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ข้อ
3.1 (1) และข้อ 3.2 (1) ให้จัดทำโครงการลงทุนและแผนการลงทุนตามแบบแจ้งโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงินตามที่แนบท้ายประกาศนี้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์
(Web
Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในวันที่
31ธันวาคม พ.ศ. 2560
7.2 กรณีเป็นการลงทุนในทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ข้อ
3.1 (2) และข้อ 3.2 (2)
ให้แจ้งแผนการจ่ายเงินตามแบบแจ้งโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงินตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th
ภายในวันที่ 31ธันวาคม พ.ศ. 2560
7.3 จัดทำรายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น
โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ
สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องมีอยู่ในทะเบียนทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือเอกสารอื่นใดในทำนองเดียวกันที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำขึ้น
8. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้โดยหักเป็นรายจ่ายได้
1.5 เท่าของมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 แล้ว ต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
จะมีผลดังนี้
กรณีเกิดเหตุการดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีใด
ให้สิทธิที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกานี้สิ้นสุดลง
และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้วไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธินั้น
เว้นแต่กรณีที่มีการขายทรัพย์สินหรือทรัพย์สินถูกทำลายหรือสูญหายหรือสิ้นสภาพ
ให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ขายทรัพย์สินหรือทรัพย์สินนั้นถูกทำลายหรือสูญหายหรือสิ้นสภาพ
แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับแล้วไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิอีก