อายุความการดำเนินคดีอาญาตามประมวลรัษฎากร
บทความวันที่ 27 พ.ค. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 22342 ครั้ง
บทความวันที่ 27 พ.ค. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 22342 ครั้ง
อายุความการดำเนินคดีอาญาตามประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
ในส่วนที่เป็น "บทลงโทษ" หรือ "บทกำหนดโทษ"
เนื่องจากการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร
หรือหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากร รวมเรียกว่า
"บทกำหนดโทษทางอาญาตามประมวลรัษฎากร" นั้น
ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความการดำเนินดคีอาญากำหนดไว้แต่อย่างใด
จึงต้องกลับมาปรับใข้ตามมาตรา 95 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้
“มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้อง และได้ตัวผู้กระทําความผิดมายังศาลภายในกําหนดดังต่อไปนี้นับแต่วันกระทําความผิด
เป็นอันขาดอายุความ
(1)
ยี่สิบปี สําหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต
หรือจําคุกยี่สิบปี
(2)
สิบห้าปี สําหรับความผิดต้องระวางโทษจําคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3)
สิบปี สําหรับความผิดต้องระวางโทษจําคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4)
ห้าปี สําหรับความผิดต้องระวางโทษจําคุกกวาหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี
(5)
หนึ่งปี สําหรับความผิดต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทําความผิดมายังศาลแล้ว
ผู้กระทําความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกําหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันท่ีหลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา
ก็ไห้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน"
จากบทบัญญัติดังกล่าวขอจำแนกอายุความการดำเนินคดีอาญาตามบทกำหนดโทษที่ปรากฎในประมวลรัษฎากรดังนี้
อนึ่งบทบัญญัติที่อ้างถึงในที่นี้ หากมิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น ให้หมายความถึงบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
1.
สําหรับความผิดตามประมวลรัษฎากรที่ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
อาทิ ระวางโทษปรับแต่เพียงสถานเดียว ที่มีอายุความดำเนินคดอาญาเพียง 1 ปี นับแต่วันกระทําความผิด
ประกอบด้วย
1.1 บทกำหนดโทษตามมาตรา 3 นว
กรณีผู้ใดรู้อยู่แล้วไม่อำนวยความสะดวกหรือขัดขวางเจ้าพนักงานผู้กระทำการ
ตามหน้าที่ ตรวจค้น ยึด อายัดบัญชี และเอกสารหลักฐษน ตามความในมาตรา 3 เบญจ
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
1.2 บทกำหนดโทษตามมาตรา 3 ทศ
กรณีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
เกี่ยวกับการแปลเอกสารเป็นภาษาไทยตามความใน มาตรา 3 ฉ
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
1.3 บทกำหนดโทษตามมาตรา 3 ทวาทศ
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับการมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ออกตามความในมาตรา
3 เอกาทศ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท
1.4 บทกำหนดโทษตามมาตรา 4 นว
คนต่างด้าวผู้ใดเดินทางออกจากประเทศไทยโดยไม่มีใบผ่านภาษีอากร
ซึ่งต้องมีตามความในประมวลรัษฎากรนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
คนต่างด้าวผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
1.5 บทกำหนดโทษตามมาตรา 35 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 17
มาตรา 50 ทวิ มาตรา 51 หรือมาตรา 69 เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
1.6 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90 บุคคลดังต่อไปนี้
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
(1)
ผู้ไม่จัดส่งสำเนาสัญญาหรือเอกสารตามมาตรา 77/4 (2)
(2)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 83 หรือ มาตรา
83/1
(3)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 83/2
(4)
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 83/3
(5)
ผู้มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5
มาตรา 83/6 หรือ มาตรา 83/7
(6)
ผู้นำเข้าไม่ยื่นใบขนสินค้าตามมาตรา 83/8 หรือมาตรา 83/9
(7)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา
85/6
(8)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/7
วรรคสาม มาตรา 85/8 วรรคสอง มาตรา 85/15 วรรคสอง หรือมาตรา 85/17
วรรคสอง
(9)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการย้ายสถานประกอบการตามมาตรา 85/8 วรรคหนึ่ง
(10)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการหยุดประกอบกิจการชั่วคราวตามมาตรา 85/12
(11)
ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดก
หรือทายาทของผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา
85/16 วรรคสามหรือวรรคห้า
(12)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ หรือ
ใบลดหนี้ โดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วนตามมาตรา 86/4 มาตรา 86/5
มาตรา 86/6 มาตรา 86/7 มาตรา 86/9 มาตรา 86/10 หรือ มาตรา 86/11
(13)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ หรือใบแทนใบลดหนี้
ตามมาตรา 86/12
(14)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87
(15)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงาน โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1
(16)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนจงใจไม่เก็บและรักษาใบกำกับภาษี หรือสำเนาใบกำกับภาษี
หรือเก็บรักษาเอกสารดังกล่าว โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดตาม มาตรา 87/3
1.7 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/1
บุคคลดังต่อไปนี้ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
(1)
ตัวแทนละเลยไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรตามมาตรา
85/2
(2)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แสดงใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/4
(3)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม หรือปิดสถานประกอบการตามมาตรา
85/7 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
(4)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการโอนกิจการบางส่วนหรือการรับโอนกิจการตามมาตรา
85/13
(5)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเลิกหรือการโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 85/13
หรือ มาตรา 85/15 วรรคหนึ่ง
(6)
ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร
จัดทำรายงานโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 87/2
1.8 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/2
บุคคลดังต่อไปนี้
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82/18 (2)
(2)
ผู้ประกอบการใดซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/1 มาตรา 85/13
วรรคสอง หรือมาตรา 85/14
(3)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จัดทำใบกำกับภาษีหรือสำเนาใบกำกับภาษี
หรือจัดทำแล้วไม่ส่งมอบให้ผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการตามมาตร า86 วรรคหนึ่ง
หรือไม่จัดทำใบกำกับภาษีหรือสำเนา ใบกำกับภาษี
และไม่ส่งมอบให้ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ตามที่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการเรียกร้อง
ตามมาตรา 86/8 วรรคสอง
(4)
ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว
ออกใบกำกับภาษีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา
86 วรรคสอง
(5)
ตัวแทนออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 86 วรรคสี่
(6)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา
86/6 วรรคหก
(7)
ผู้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 88/4
1.9 บทกำหนดโทษตามมาตรา 91/18
บุคคลใดประกอบกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา
91/12 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
บุคคลตามมาตรา
91/12 วรรคห้า ละเลยไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนของผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง
1.10 บทกำหนดโทษตามมาตรา 91/20
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะผู้ใดจัดทำรายงานโดยไม่เป็นไปตามแบบหรือไม่จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ
หรือลงรายการในรายงานไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา
91/14 วรรคสองหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
1.11 บทกำหนดโทษตามมาตรา 124
ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากร หรือขีดฆ่าแสตมป์ เพิกเฉยหรือปฏิเสธไม่เสียอากร
หรือไม่ขีดฆ่าแสตมป์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
1.12 บทกำหนดโทษตามมาตรา 125
ผู้ใดออกใบรับไม่ถึง 10 บาท สำหรับมูลค่าตั้งแต่ 10
บาทขึ้นไป หรือแบ่งแยกมูลค่าที่ได้รับชำระนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรก็ดี
จงใจกระทำหรือทำตราสารให้ผิดความจริงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ก็ดี
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
1.13 บทกำหนดโทษตามมาตรา 127
ผู้ใดไม่ทำหรือไม่เก็บบันทึกตามมาตรา 105 ตรี
หรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่ถูกเรียกร้องตามมาตรา 106
หรือออกใบรับ ซึ่งไม่ปิดแสตมป์ตามจำนวนอากรที่ต้องเสีย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
1.14 บทกำหนดโทษตามมาตรา 127 ทวิ
ผู้ใดโดยตนเองหรือโดยสมคบกับผู้อื่นทำให้ไม่มีการออกใบรับหรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่รับเงินหรือรับชำระราคาตามมาตรา
105 หรือออกใบรับเป็นจำนวนเงินน้อยกว่าที่รับเงินหรือรับชำระราคาจริง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
1.15 บทกำหนดโทษตามมาตรา 128
ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจในการปฏิบัติตามหน้าที่
หรือโดยรู้อยู่แล้ว หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามคำเรียก
หรือไม่ยอมให้ยึดตราสารหรือเอกสาร
หรือไม่ปฏิบัติตามหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจ ตามความในมาตรา 123 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติ
มาตรา 105 ทวิ มาตรา 105 จัตวา
หรือมาตรา 123 ทวิ
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
2.
สําหรับความผิดตามประมวลรัษฎากรที่ต้องระวางโทษจําคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี
ที่มีอายุความดำเนินคดอาญา 5 ปี นับแต่วันกระทําความผิด ประกอบด้วย
2.1 บทกำหนดโทษตามมาตรา 13
เจ้าพนักงานผู้ใด โดยหน้าที่ราชการตามลักษณะ 2 นี้
ได้รู้เรื่องกิจการของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง
ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 10 นำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือยังให้ทราบกันไปโดยวิธีใด มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
2.2 บทกำหนดโทษตามมาตรา 36
ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายหรือสรรพากรจังหวัด
เจ้าพนักงานประเมิน ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือกรรมการที่ออกตามมาตรา 12 ตรี
มาตรา 19 มาตรา 23 หรือมาตรา 32 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2.3 บทกำหนดโทษตามมาตรา 37 ทวิ
ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่นตามลักษณะนี้
เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.4 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/3
บุคคลดังต่อไปนี้ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1)
ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา
86/2 วรรคสอง
(2)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินโดยไม่ได้รับอนุมัติตามมาตรา
86/6 วรรคหก หรือมาตรา 86/7
(3)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จัดทำรายงานตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา
87/1
(4)
ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรไม่จัดทำรายงานตามมาตรา 87/2
(5)
ผู้ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานประเมิน
หรือขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 88/3 วรรคหนึ่ง
2.5 บทกำหนดโทษตามมาตรา 91/19
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะผู้ใดไม่จัดทำรายงานตามมาตรา 91/14
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.6 บทกำหนดโทษตามมาตรา 126
ผู้ใดจงใจลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าแสตมป์เป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
2.7 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/5
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ
ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอม หรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
3. สําหรับความผิดตามประมวลรัษฎากรที่ต้องระวางโทษจําคุก
กว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี ที่มีอายุความดำเนินคดอาญา 10 ปี นับแต่วันกระทําความผิด
ประกอบด้วย
3.1 บทกำหนดโทษตามมาตรา 35 ทวิ
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 12 ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ในกรณีผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
3.2 บทกำหนดโทษตามมาตรา 129 ผู้ใดโดยเจตนาทุจริตมีแสตมป์ซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นแสตมป์ปลอมก็ดี
หรือค้าแสตมป์ที่ใช้แล้ว หรือที่มีกฎกระทรวงประกาศให้เลิกใช้เสียแล้วก็ดี
ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสามปี
หรือทั้งปรับทั้งจำ
3.3 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/5
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ
ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอม หรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
4.
สําหรับความผิดตามประมวลรัษฎากรที่ต้องระวางโทษจําคุก กว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
ที่มีอายุความดำเนินคดอาญา 15 ปี นับแต่วันกระทําความผิด
ประกอบด้วย
4.1 บทกำหนดโทษตามมาตรา 37 ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1)
โดยเจตนาแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ
หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือเพื่อขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้
หรือ
(2)
โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยง
หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้”
4.2 บทกำหนดโทษตามมาตรา 37 ตรี
ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 37 ทวิ หรือมาตรา 90/4
ที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากร
และเป็นความผิดที่เกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
หรือจำนวนภาษีอากรที่ขอคืนโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน
ตั้งแต่สองล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
และผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรดังกล่าวได้กระทำในลักษณะที่เป็นกระบวนการหรือเป็นเครือข่าย
โดยสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จหรือปกปิดเงินได้พึงประเมินหรือรายได้
เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากร
และมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนั้นได้
ให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เมื่ออธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่าย
ความผิดมูลฐานส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแล้ว
ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป
ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น
ผู้อุทธรณ์จะต้องชำระภายในกำหนดเวลาเช่นเดียวกับวรรคก่อน
4.3 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/4
บุคคลดังต่อไปนี้ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออกเอกสารดังกล่าวตามมาตรา
86 วรรคสอง หรือ มาตรา 86/1
(2)
ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร
โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 86/2 วรรคหนึ่ง
(3)
ผู้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออก เอกสารดังกล่าวตามมาตรา
86/13
(4)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง
หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ลงรายการ หรือลงรายการเป็นเท็จในรายงานตามมาตรา
87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1
(5)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ออกใบกำกับภาษี
ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ หรือใบแทนเอกสารดังกล่าว
(6)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทำการใด ๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย
หรือโดยวิธีการอื่นใด ทำนองเดียวกัน
(7)
ผู้ประกอบการโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม
หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี
4.4 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/5 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล
กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอม หรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
5.
สําหรับความผิดตามประมวลรัษฎากรที่ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต
หรือจําคุกยี่สิบป ที่มีอายุความดำเนินคดอาญา 20 ปี นับแต่วันกระทําความผิด (ไม่มีบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร ที่กำหนดโทษสูงขนาดนี้)
....บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
ในส่วนที่เป็น "บทลงโทษ" หรือ "บทกำหนดโทษ"
เนื่องจากการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร
หรือหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากร รวมเรียกว่า
"บทกำหนดโทษทางอาญาตามประมวลรัษฎากร" นั้น
ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความการดำเนินดคีอาญากำหนดไว้แต่อย่างใด
จึงต้องกลับมาปรับใข้ตามมาตรา 95 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้
....“มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้อง และได้ตัวผู้กระทําความผิดมายังศาลภายในกําหนดดังต่อไปนี้นับแต่วันกระทําความผิด
เป็นอันขาดอายุความ
........(1)
ยี่สิบปี สําหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต
หรือจําคุกยี่สิบปี
........(2)
สิบห้าปี สําหรับความผิดต้องระวางโทษจําคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
........(3)
สิบปี สําหรับความผิดต้องระวางโทษจําคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
........(4)
ห้าปี สําหรับความผิดต้องระวางโทษจําคุกกวาหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี
........(5)
หนึ่งปี สําหรับความผิดต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
........ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทําความผิดมายังศาลแล้ว
ผู้กระทําความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกําหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันท่ีหลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา
ก็ไห้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน"
....จากบทบัญญัติดังกล่าวขอจำแนกอายุความการดำเนินคดีอาญาตามบทกำหนดโทษที่ปรากฎในประมวลรัษฎากรดังนี้
อนึ่งบทบัญญัติที่อ้างถึงในที่นี้ หากมิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น ให้หมายความถึงบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
1.
สําหรับความผิดตามประมวลรัษฎากรที่ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
อาทิ ระวางโทษปรับแต่เพียงสถานเดียว ที่มีอายุความดำเนินคดอาญาเพียง 1 ปี นับแต่วันกระทําความผิด
ประกอบด้วย
1.1 บทกำหนดโทษตามมาตรา 3 นว
กรณีผู้ใดรู้อยู่แล้วไม่อำนวยความสะดวกหรือขัดขวางเจ้าพนักงานผู้กระทำการ
ตามหน้าที่ ตรวจค้น ยึด อายัดบัญชี และเอกสารหลักฐษน ตามความในมาตรา 3 เบญจ
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
1.2 บทกำหนดโทษตามมาตรา 3 ทศ
กรณีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
เกี่ยวกับการแปลเอกสารเป็นภาษาไทยตามความใน มาตรา 3 ฉ
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
1.3 บทกำหนดโทษตามมาตรา 3 ทวาทศ
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับการมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ออกตามความในมาตรา
3 เอกาทศ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท
1.4 บทกำหนดโทษตามมาตรา 4 นว
คนต่างด้าวผู้ใดเดินทางออกจากประเทศไทยโดยไม่มีใบผ่านภาษีอากร
ซึ่งต้องมีตามความในประมวลรัษฎากรนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
คนต่างด้าวผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
1.5 บทกำหนดโทษตามมาตรา 35 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 17
มาตรา 50 ทวิ มาตรา 51 หรือมาตรา 69 เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
1.6 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90 บุคคลดังต่อไปนี้
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
(1)
ผู้ไม่จัดส่งสำเนาสัญญาหรือเอกสารตามมาตรา 77/4 (2)
(2)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 83 หรือ มาตรา
83/1
(3)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 83/2
(4)
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 83/3
(5)
ผู้มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5
มาตรา 83/6 หรือ มาตรา 83/7
(6)
ผู้นำเข้าไม่ยื่นใบขนสินค้าตามมาตรา 83/8 หรือมาตรา 83/9
(7)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา
85/6
(8)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/7
วรรคสาม มาตรา 85/8 วรรคสอง มาตรา 85/15 วรรคสอง หรือมาตรา 85/17
วรรคสอง
(9)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการย้ายสถานประกอบการตามมาตรา 85/8 วรรคหนึ่ง
(10)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการหยุดประกอบกิจการชั่วคราวตามมาตรา 85/12
(11)
ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดก
หรือทายาทของผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา
85/16 วรรคสามหรือวรรคห้า
(12)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ หรือ
ใบลดหนี้ โดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วนตามมาตรา 86/4 มาตรา 86/5
มาตรา 86/6 มาตรา 86/7 มาตรา 86/9 มาตรา 86/10 หรือ มาตรา 86/11
(13)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ หรือใบแทนใบลดหนี้
ตามมาตรา 86/12
(14)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87
(15)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงาน โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1
(16)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนจงใจไม่เก็บและรักษาใบกำกับภาษี หรือสำเนาใบกำกับภาษี
หรือเก็บรักษาเอกสารดังกล่าว โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดตาม มาตรา 87/3
1.7 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/1
บุคคลดังต่อไปนี้ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
(1)
ตัวแทนละเลยไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรตามมาตรา
85/2
(2)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แสดงใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/4
(3)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม หรือปิดสถานประกอบการตามมาตรา
85/7 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
(4)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการโอนกิจการบางส่วนหรือการรับโอนกิจการตามมาตรา
85/13
(5)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเลิกหรือการโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 85/13
หรือ มาตรา 85/15 วรรคหนึ่ง
(6)
ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร
จัดทำรายงานโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 87/2
1.8 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/2
บุคคลดังต่อไปนี้
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82/18 (2)
(2)
ผู้ประกอบการใดซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/1 มาตรา 85/13
วรรคสอง หรือมาตรา 85/14
(3)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จัดทำใบกำกับภาษีหรือสำเนาใบกำกับภาษี
หรือจัดทำแล้วไม่ส่งมอบให้ผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการตามมาตร า86 วรรคหนึ่ง
หรือไม่จัดทำใบกำกับภาษีหรือสำเนา ใบกำกับภาษี
และไม่ส่งมอบให้ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ตามที่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการเรียกร้อง
ตามมาตรา 86/8 วรรคสอง
(4)
ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว
ออกใบกำกับภาษีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา
86 วรรคสอง
(5)
ตัวแทนออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 86 วรรคสี่
(6)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา
86/6 วรรคหก
(7)
ผู้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 88/4
1.9 บทกำหนดโทษตามมาตรา 91/18
บุคคลใดประกอบกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา
91/12 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
บุคคลตามมาตรา
91/12 วรรคห้า ละเลยไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนของผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง
1.10 บทกำหนดโทษตามมาตรา 91/20
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะผู้ใดจัดทำรายงานโดยไม่เป็นไปตามแบบหรือไม่จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ
หรือลงรายการในรายงานไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา
91/14 วรรคสองหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
1.11 บทกำหนดโทษตามมาตรา 124
ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากร หรือขีดฆ่าแสตมป์ เพิกเฉยหรือปฏิเสธไม่เสียอากร
หรือไม่ขีดฆ่าแสตมป์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
1.12 บทกำหนดโทษตามมาตรา 125
ผู้ใดออกใบรับไม่ถึง 10 บาท สำหรับมูลค่าตั้งแต่ 10
บาทขึ้นไป หรือแบ่งแยกมูลค่าที่ได้รับชำระนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรก็ดี
จงใจกระทำหรือทำตราสารให้ผิดความจริงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ก็ดี
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
1.13 บทกำหนดโทษตามมาตรา 127
ผู้ใดไม่ทำหรือไม่เก็บบันทึกตามมาตรา 105 ตรี
หรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่ถูกเรียกร้องตามมาตรา 106
หรือออกใบรับ ซึ่งไม่ปิดแสตมป์ตามจำนวนอากรที่ต้องเสีย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
1.14 บทกำหนดโทษตามมาตรา 127 ทวิ
ผู้ใดโดยตนเองหรือโดยสมคบกับผู้อื่นทำให้ไม่มีการออกใบรับหรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่รับเงินหรือรับชำระราคาตามมาตรา
105 หรือออกใบรับเป็นจำนวนเงินน้อยกว่าที่รับเงินหรือรับชำระราคาจริง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
1.15 บทกำหนดโทษตามมาตรา 128
ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจในการปฏิบัติตามหน้าที่
หรือโดยรู้อยู่แล้ว หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามคำเรียก
หรือไม่ยอมให้ยึดตราสารหรือเอกสาร
หรือไม่ปฏิบัติตามหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจ ตามความในมาตรา 123 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติ
มาตรา 105 ทวิ มาตรา 105 จัตวา
หรือมาตรา 123 ทวิ
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
2.
สําหรับความผิดตามประมวลรัษฎากรที่ต้องระวางโทษจําคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี
ที่มีอายุความดำเนินคดอาญา 5 ปี นับแต่วันกระทําความผิด ประกอบด้วย
2.1 บทกำหนดโทษตามมาตรา 13
เจ้าพนักงานผู้ใด โดยหน้าที่ราชการตามลักษณะ 2 นี้
ได้รู้เรื่องกิจการของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง
ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 10 นำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือยังให้ทราบกันไปโดยวิธีใด มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
2.2 บทกำหนดโทษตามมาตรา 36
ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายหรือสรรพากรจังหวัด
เจ้าพนักงานประเมิน ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือกรรมการที่ออกตามมาตรา 12 ตรี
มาตรา 19 มาตรา 23 หรือมาตรา 32 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2.3 บทกำหนดโทษตามมาตรา 37 ทวิ
ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่นตามลักษณะนี้
เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.4 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/3
บุคคลดังต่อไปนี้ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1)
ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา
86/2 วรรคสอง
(2)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินโดยไม่ได้รับอนุมัติตามมาตรา
86/6 วรรคหก หรือมาตรา 86/7
(3)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จัดทำรายงานตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา
87/1
(4)
ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรไม่จัดทำรายงานตามมาตรา 87/2
(5)
ผู้ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานประเมิน
หรือขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 88/3 วรรคหนึ่ง
2.5 บทกำหนดโทษตามมาตรา 91/19
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะผู้ใดไม่จัดทำรายงานตามมาตรา 91/14
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.6 บทกำหนดโทษตามมาตรา 126
ผู้ใดจงใจลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าแสตมป์เป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
2.7 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/5
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ
ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอม หรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
3. สําหรับความผิดตามประมวลรัษฎากรที่ต้องระวางโทษจําคุก
กว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี ที่มีอายุความดำเนินคดอาญา 10 ปี นับแต่วันกระทําความผิด
ประกอบด้วย
3.1 บทกำหนดโทษตามมาตรา 35 ทวิ
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 12 ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ในกรณีผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
3.2 บทกำหนดโทษตามมาตรา 129 ผู้ใดโดยเจตนาทุจริตมีแสตมป์ซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นแสตมป์ปลอมก็ดี
หรือค้าแสตมป์ที่ใช้แล้ว หรือที่มีกฎกระทรวงประกาศให้เลิกใช้เสียแล้วก็ดี
ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสามปี
หรือทั้งปรับทั้งจำ
3.3 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/5
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ
ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอม หรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
4.
สําหรับความผิดตามประมวลรัษฎากรที่ต้องระวางโทษจําคุก กว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
ที่มีอายุความดำเนินคดอาญา 15 ปี นับแต่วันกระทําความผิด
ประกอบด้วย
4.1 บทกำหนดโทษตามมาตรา 37 ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1)
โดยเจตนาแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ
หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือเพื่อขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้
หรือ
(2)
โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยง
หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้”
4.2 บทกำหนดโทษตามมาตรา 37 ตรี
ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 37 ทวิ หรือมาตรา 90/4
ที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากร
และเป็นความผิดที่เกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
หรือจำนวนภาษีอากรที่ขอคืนโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน
ตั้งแต่สองล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
และผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรดังกล่าวได้กระทำในลักษณะที่เป็นกระบวนการหรือเป็นเครือข่าย
โดยสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จหรือปกปิดเงินได้พึงประเมินหรือรายได้
เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากร
และมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนั้นได้
ให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เมื่ออธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่าย
ความผิดมูลฐานส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแล้ว
ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป
ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น
ผู้อุทธรณ์จะต้องชำระภายในกำหนดเวลาเช่นเดียวกับวรรคก่อน
4.3 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/4
บุคคลดังต่อไปนี้ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออกเอกสารดังกล่าวตามมาตรา
86 วรรคสอง หรือ มาตรา 86/1
(2)
ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร
โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 86/2 วรรคหนึ่ง
(3)
ผู้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออก เอกสารดังกล่าวตามมาตรา
86/13
(4)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง
หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ลงรายการ หรือลงรายการเป็นเท็จในรายงานตามมาตรา
87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1
(5)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ออกใบกำกับภาษี
ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ หรือใบแทนเอกสารดังกล่าว
(6)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทำการใด ๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย
หรือโดยวิธีการอื่นใด ทำนองเดียวกัน
(7)
ผู้ประกอบการโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม
หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี
4.4 บทกำหนดโทษตามมาตรา 90/5 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล
กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอม หรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
5.
สําหรับความผิดตามประมวลรัษฎากรที่ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต
หรือจําคุกยี่สิบป ที่มีอายุความดำเนินคดอาญา 20 ปี นับแต่วันกระทําความผิด (ไม่มีบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร ที่กำหนดโทษสูงขนาดนี้)