ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีเงินกินเปล่า

บทความวันที่ 27 ก.ค. 2559  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 12652 ครั้ง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีเงินกินเปล่า

 

ขอนำประเด็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือได้รับกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือน หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกับเงินกินเปล่า จากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งได้นำความตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 มาเป็นปุจฉา – วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 อย่างไร

วิสัชนา ด้วยปรากฏว่า มีบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจำนวนมาก (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดก) ที่มีเงินได้หรือ ได้รับประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น นอกจากจะเรียกเก็บเงินค่าเช่าแล้ว ยังเรียกเก็บเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือได้รับกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือน หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน โดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นระยะเวลานาน เช่น 3 ปี 10 ปี หรือ 30 ปี ซึ่งผู้ให้เช่าจะต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้ แต่เนื่องจากผู้ให้เช่าต้องยอมให้ผู้เช่าได้เช่าอาคารหรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน ถ้าผู้ให้เช่าจะต้องรับภาระการเสียภาษีเงินได้จากจำนวนเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้นทั้งหมดในปีเดียวกับที่ได้รับเงินหรือประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมจะเป็นภาระหนักแก่ผู้ให้เช่ามิใช่น้อย

      เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดก และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีเงินได้ดังกล่าว ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวเสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย กระทรวงการคลังจึงขอเรียนให้ทราบว่า ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถเฉลี่ยเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้น ตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าได้ เช่น ผู้ให้เช่าได้รับเงินกินเปล่าในการให้เช่าอาคารเป็นเงิน 30,000,000 บาท แต่ผู้ให้เช่าต้องผูกพันให้เช่าเป็นเวลา 30 ปี ดังนี้ ให้เฉลี่ยเงินกินเปล่าจำนวน 30,000,000 บาท นั้นออกเป็นรายปีจำนวน 30 ปี โดยผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะมี เงินได้ปีละ 1,000,000 บาท และผู้มีเงินได้ในกรณีนี้จะต้องยื่นรายการเงินได้ และชำระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าของทุกปีที่เฉลี่ย ให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ ความตามประกาศดังกล่าวให้ใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ปีภาษี 2557 ซึ่งต้องยื่นรายการ ในปี 2558 เป็นต้นไป

ปุจฉา ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ได้วางแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้เสียภาษีที่มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือได้รับกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือน หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน (เงินกินเปล่า) ให้ถูกต้อง ตรงตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยให้ใช้กับผู้มีเงินได้ประเภทใดบ้าง

วิสัชนา ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าที่สามารถเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าได้ จะต้องเป็นผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ผู้ให้เช่าที่เป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดก (ข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558)

ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเฉลี่ย และการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินกินเปล่าหรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกันอย่างไร

วิสัชนา ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าตั้งแต่ปีภาษี 2557 เป็นต้นไป โดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน เช่น 3 ปี 10 ปี หรือ 30 ปี จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ (ข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558)

       1. นำเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจำนวนไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) และชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ

       2. นำเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นแบบ แสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.93) และชำระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปี ตามจำนวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษี ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้อง ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินกินเปล่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 ไปรวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้ แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษี

           กรณีผู้มีเงินได้บางรายยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ตามแนวทางดังกล่าว เมื่อพ้นกำหนดเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าและยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ได้ แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายปีภาษีตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าเป็นต้นไป

ปุจฉา ในปี พ.ศ. 2557 นายแดงได้นำที่ดินของตนเองไปให้ บริษัท ดำ จากัด เช่าเพื่อสร้างห้างสรรพสินค้า สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา 30 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2586 โดย นายแดงได้รับเงินกินเปล่าในวันที่ทำสัญญาเช่าเป็นเงินจำนวน 30 ล้านบาท และได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 5 นายแดงมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าว นายแดงมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยนำเงินกินเปล่าจำนวน 30 ล้านบาท ไปเฉลี่ยเป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษี 2557 ถึงปีภาษี 2586 จำนวน 30 ปี คิดเป็นเงินได้พึงประเมินปีละ 1 ล้านบาท แล้วดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 30 ฉบับ และชำระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 30 ปี เป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคม 2558 และเมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปีภาษี 2557 ถึงปีภาษี 2586 นายแดงมีหน้าที่ต้องนำเงินกินเปล่าดังกล่าวมาคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น ทั้งนี้ นายแดงมีสิทธินำภาษีเงินได้ที่ บริษัท ดำ จำกัด ได้หักไว้ ณ ที่จ่ายทั้งจำนวน มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปีภาษี 2557 ได้ด้วย

           หากนายแดงได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 30 ฉบับ ไปชำระล่าช้า นายแดงจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93 ทั้ง 30 ฉบับ และจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สาหรับปีภาษี 2557 เพิ่มเติม โดยนำเงินกินเปล่าตามส่วนของปีภาษี 2557 ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ด้วย

ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติ สำหรับกรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าก่อนปีภาษี 2557 อย่างไร

วิสัชนา ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าก่อนปีภาษี 2557 โดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน เช่น 3 ปี 10 ปี หรือ 30 ปี จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ (ข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558)

       1. ถือปฏิบัติตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้ จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยนำเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจำนวนไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือนำเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และชำระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษี ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินกินเปล่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 ไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษี

       2. กรณีผู้มีเงินได้มิได้ดำเนินการตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 แต่ต่อมาได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 โดยขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า และชำระภาษีเงินได้จาก เงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นวันสิ้นปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าและยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ได้ แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยให้คำนวณ เงินเพิ่มเป็นรายปีภาษีตั้งแต่เดือนมกราคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าเป็นต้นไป อย่างไรก็ดี หากเป็นการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้สามารถยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการได้

ปุจฉา ในปี พ.ศ. 2556 นายฟ้าได้นำที่ดินของตนเองไปให้ บริษัท เหลือง จากัด เช่าเพื่อสร้างอาคารโรงงาน สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึงปี พ.ศ. 2565 โดยนายฟ้าได้รับเงินกินเปล่าในวันที่ทำสัญญาเช่าเป็นเงินจำนวน 10 ล้านบาท นายฟ้ามีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไร

วิสัชนา นายฟ้ามีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ดังนี้

       1. นำเงินกินเปล่าทั้งจำนวน 10 ล้านบาท ไปถือเป็นเงินได้พึงประเมินประจาปีภาษี 2556 แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคม 2557

           หากนายฟ้าได้นำเงินกินเปล่าทั้งจำนวน 10 ล้านบาท ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย เป็นจำนวน 2 เดือนภาษี (เมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2557) หรือ

       2. ขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยนำเงินกินเปล่าจำนวน 10 ล้านบาท ไปเฉลี่ยเป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษี 2556 ถึงปีภาษี 2565 จำนวน 10 ปี คิดเป็นเงินได้พึงประเมินปีละ 1 ล้านบาท แล้วดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 10 ฉบับ และชำระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 10 ปี เป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนธันวาคม 2556 และเมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปีภาษี 2556 ถึงปีภาษี 2565  

           นายฟ้ามีหน้าที่ต้องนำเงินกินเปล่าดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น

           หากนายฟ้าได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 10 ฉบับ ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 นายฟ้าจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93 ทั้ง 10 ฉบับ เป็นจำนวน 3 เดือน (มกราคม มีนาคม พ.ศ. 2557) โดยนายฟ้ามีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ต่ออธิบดีกรมสรรพากรได้ และเมื่อได้รับอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จะมีผลทำให้ นายฟ้าต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย

           อย่างไรก็ดี หากนายฟ้าได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 10 ฉบับ ในวันที่ 16 ตุลาคม 2557 นายฟ้าจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93 ทั้ง 10 ฉบับ เป็นจำนวน 10 เดือน (มกราคม ตุลาคม พ.ศ. 2557) และจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับปีภาษี 2556 เพิ่มเติม โดยนาเงินกินเปล่าตามส่วนของปีภาษี 2556 ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ด้วย

ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติ สำหรับกรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าเป็นจำนวนหลายครั้ง อย่างไร

วิสัชนา กรณีผู้มีเงินได้ให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน แล้วได้รับเงินกินเปล่าเป็นจำนวนหลายครั้ง เช่น ให้เช่า 10 ปี แล้วได้รับเงินกินเปล่าในปีที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท ในปีที่ 3 จำนวน 1 ล้านบาท ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ (ข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558)

       1. นำเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจำนวนไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ

       2. นำเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และชำระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยให้เฉลี่ยเงินกินเปล่าตามจำนวนปีของอายุการเช่าที่เหลือ กล่าวคือ ได้รับเงินกินเปล่าในปีที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท ให้เฉลี่ยเป็นจำนวน 10 ปี แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 10 ฉบับ และชำระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 10 ปีภาษี ภายในเดือนมีนาคมของปีที่ 2 ส่วนเงินกินเปล่าที่ได้รับในปีที่ 3 จำนวน 1 ล้านบาท ให้เฉลี่ยเป็นจำนวน 8 ปี แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 8 ฉบับ และชำระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 8 ปีภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีที่ 4 เป็นต้น

ปุจฉา แนวทางปฏิบัติ สำหรับกรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าโดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือน เป็นระยะเวลานาน แต่สัญญาเช่าจะมีผลใช้บังคับเริ่มในปีอื่นที่มิใช่ปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน อย่างไร

วิสัชนา กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าโดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือน เป็นระยะเวลานาน แต่สัญญาเช่าจะมีผลใช้บังคับเริ่มในปีอื่นที่มิใช่ปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ (ข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558)

       1. นำเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจำนวนไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีภายใน เดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ

       2. นำเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า และยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 สำหรับปีที่สัญญาเช่าเริ่มมีผลใช้บังคับจนถึงปีที่ครบอายุสัญญาเช่า และชำระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า และเมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษี ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินกินเปล่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ในแต่ละปีไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษี

       กรณีผู้มีเงินได้มิได้ดำเนินการตาม 5.1 และ 5.2 แต่ต่อมาได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 โดยขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า และชำระภาษีเงินได้จาก เงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นกำหนดเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าและ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ได้ แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษี ที่ต้องชำระ โดยให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายปีภาษีตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าเป็นต้นไป

ปุจฉา ในปี พ.ศ. 2558 นายเขียวได้นำที่ดินของตนเองไปให้ บริษัท ขาว จำกัด เช่าโดยทำสัญญาเช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี สัญญาเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึงปี พ.ศ. 2562 โดยได้รับเงินกินเปล่าจากการทำสัญญาเช่าในวันที่ทำสัญญาเช่าเป็นเงินจำนวน 3 ล้านบาท นายเขียวมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าวนายเขียวมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังนี้

       1. นำเงินกินเปล่าทั้งจำนวน 3 ล้านบาท ไปถือเป็นเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 2558 แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559

       2. ขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยนำเงินกินเปล่าจำนวน 3 ล้านบาท ไปเฉลี่ยเป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษี 2560 ถึงปีภาษี 2562 คิดเป็นเงินได้พึงประเมินปีละ 1 ล้านบาท แล้วดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 3 ฉบับ และชำระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 3 ปี เป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 และเมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปีภาษี 2560 ถึงปีภาษี 2562 นายเขียวมีหน้าที่ต้องนำเงินกินเปล่าดังกล่าวมายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น

       หากนายเขียวได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 3 ฉบับ ในวันที่ 31 มีนาคม 2560 นายแดงจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93