ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

รางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬา

บทความวันที่ 6 ส.ค. 2567  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 106 ครั้ง

รางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬา

  

เงินได้ที่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬาได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬา และรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

ซึ่งตามมาตรา 42 (28) แห่งประมวลรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ได้กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหสรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินสิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น ดังนี้

มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

       (28) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหสรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินสิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร  ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 325 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เพิ่มเติม (93) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร กำหนดให้ยกเว้นเงินได้ที่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬาได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬา และรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด โดยให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ดังนี้

ข้อ 2 ให้กำหนดเงินได้ต่อไปนี้เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496

       (93) เงินได้ที่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬาได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬา และรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด”

ทั้งนี้ โดยหมายเหตุเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 42 (28) แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติให้เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินสิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ อันมีผลทําให้ต้องมีการจัดเก็บภาษีสําหรับเงินได้ที่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬาได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการสนับสนุนนักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬาที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ สมควรกําหนดให้เงินได้ดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ได้รับเกินสิบล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวง

อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (93) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 325 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 293) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ที่นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬา ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัล อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข้งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬาได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท ดังต่อไปนี้

“ข้อ 1 ในประกาศนี้

     “นักกีฬา” หมายความว่า บุคคลซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ

     “ผู้ฝึกสอนกีฬา” หมายความว่า ผู้ฝึกสอนกีฬาที่ฝึกสอนนักกีฬา ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขัน รายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ

     “สมาคมกีฬา” หมายความว่า สมาคมกีฬาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คําว่า “แห่งประเทศไทย” และ คําว่า “แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

     “การแข่งขันรายการมหกรรมกีฬา” หมายความว่า การแข่งขันกีฬา ที่คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ส่งเข้าแข่งขันดังต่อไปนี้

         (1) โอลิมปิกเกมส์ (ฤดูร้อน – ฤดูหนาว)

         (2) พาราลิมปิกเกมส์

         (3) เอเชี่ยนเกมส์ (ฤดูร้อน – ฤดูหนาว)

         (4) อาเซียนพาราเกมส์

         (5) เอเชี่ยนพาราเกมส์

         (6) เอเชี่ยนอินดอร์มาเชี่ยลอาร์ทเกมส์

         (7) เอเชี่ยนบีชเกมส์

         (8) ซีเกมส์

     “การแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ” หมายความว่า การแข่งขันกีฬา ที่สมาคมกีฬาส่งเข้าแข่งขัน ดังนี้

         (1) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก

         (2) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย

         (3) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งอาเซียน หรือ

         (4) รายการแข่งขันระดับนานาชาติที่สหพันธ์กีฬานานาชาติเป็นเจ้าของการจัดการแข่งขัน

ข้อ 2 นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬา ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติในนามทีมชาติไทย

ข้อ 3 นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬาต้องได้รับเงินจากการให้โดยเสน่หาเพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติจากภาครัฐ หรือเอกชน โดยไม่มีข้อผูกพันต้องกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการตอบแทน ให้แก่ผู้ให้ หรือบุคคลอื่น ทั้งนี้ เงินรางวัลดังกล่าว จะต้องได้รับภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การแข่งขันสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

ข้อ 4 ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับรางวัลดังกล่าว จะต้องแสดงหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าได้รับเงินจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ

ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป”

 

จากบทบัญญัติดังกล่าว เป็นที่สบายใจได้ว่านักกีฬาของประเทศไทย และผู้ฝึกสอนกีฬา ในนามทีมชาติไทย ได้รับรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขัน ตามองค์ประกอบดังต่อไปนี้ นอกจากได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (28) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบัญญัติให้เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินสิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น แล้วในฐานะผู้เสียสละสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ ยังได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2 (93) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 325 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 293) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ที่นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬา ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัล อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข้งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง นักกีฬาของประเทศไทย และผู้ฝึกสอนกีฬาที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติในนามทีมชาติไทย ดังต่อไปนี้

     “การแข่งขันรายการมหกรรมกีฬา” หมายความว่า การแข่งขันกีฬา ที่คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ส่งเข้าแข่งขันดังต่อไปนี้

         (1) โอลิมปิกเกมส์ (ฤดูร้อน – ฤดูหนาว)

         (2) พาราลิมปิกเกมส์

         (3) เอเชี่ยนเกมส์ (ฤดูร้อน – ฤดูหนาว)

         (4) อาเซียนพาราเกมส์

         (5) เอเชี่ยนพาราเกมส์

         (6) เอเชี่ยนอินดอร์มาเชี่ยลอาร์ทเกมส์

         (7) เอเชี่ยนบีชเกมส์

         (8) ซีเกมส์

     “การแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ” หมายความว่า การแข่งขันกีฬาที่สมาคมกีฬาส่งเข้าแข่งขัน ดังนี้

         (1) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก

         (2) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย

         (3) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งอาเซียน หรือ

         (4) รายการแข่งขันระดับนานาชาติที่สหพันธ์กีฬานานาชาติเป็นเจ้าของการจัดการแข่งขัน

ประการที่สอง เป็นเงินได้จากการให้โดยเสน่หา เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติจากภาครัฐ หรือเอกชน

ประการที่สาม เป็นการรับรางวัลดังกล่าว โดยไม่มีข้อผูกพันต้องกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการตอบแทน ให้แก่ผู้ให้ หรือบุคคลอื่น

ประการที่สี่ ทั้งนี้ เงินรางวัลซึ่งเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังกล่าว เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทจะต้องได้รับภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การแข่งขันสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

 

กรณีของนักกีฬาแบดมินตัน “วิว” กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักกีฬาเทควันโด “เทนนิส” พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ "ใบเตย" ศศิกานต์ ทองจันทร์ "หยู" บัลลังก์ ทับทิมแดง นักมวยสากลหญิง “บี” จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง เป็นต้น รวมทั้งผู้ฝึกสอนที่จะได้รับเงินรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2024 จากทั้งการกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คําว่า “แห่งประเทศไทย” และ คําว่า “แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์” หรือจากภาครัฐ หรือเอกชน นอกจากจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น ตามมาตรา 42 (28) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส แล้ว หากเงินรางวัลมีจำนวนเกินกว่า 10 ล้านบาท ก็จะยังคงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่จำกัดจำนวน ตามข้อ 2 (93) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 293) ฯ ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

 ---------------------------------

 

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 293)

เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ที่นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬา

ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี

เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและ

รายการแข้งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท

---------------------------------

 

อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (93) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 325 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬาได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในประกาศนี้

     “นักกีฬา” หมายความว่า บุคคลซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ

     “ผู้ฝึกสอนกีฬา” หมายความว่า ผู้ฝึกสอนกีฬาที่ฝึกสอนนักกีฬา ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขัน รายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ

     “สมาคมกีฬา” หมายความว่า สมาคมกีฬาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คําว่า “แห่งประเทศไทย” และ คําว่า “แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์”

     “การแข่งขันรายการมหกรรมกีฬา” หมายความว่า การแข่งขันกีฬา ที่คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ส่งเข้าแข่งขันดังต่อไปนี้

     (1) โอลิมปิกเกมส์ (ฤดูร้อน – ฤดูหนาว)

     (2) พาราลิมปิกเกมส์

     (3) เอเชี่ยนเกมส์ (ฤดูร้อน – ฤดูหนาว)

     (4) อาเซียนพาราเกมส์

     (5) เอเชี่ยนพาราเกมส์

     (6) เอเชี่ยนอินดอร์มาเชี่ยลอาร์ทเกมส์

     (7) เอเชี่ยนบีชเกมส์

     (8) ซีเกมส์

     “การแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ” หมายความว่า การแข่งขันกีฬา ที่สมาคมกีฬาส่งเข้าแขงงขัน ดังนี้

     (1) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก

     (2) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย

     (3) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งอาเซียน หรือ

     (4) รายการแข่งขันระดับนานาชาติที่สหพันธ์กีฬานานาชาติเป็นเจ้าของการจัดการแข่งขัน

ข้อ 2 นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬา ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติในนามทีมชาติไทย

ข้อ 3 นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬาต้องได้รับเงินจากการให้โดยเสน่หาเพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติจากภาครัฐ หรือเอกชน โดยไม่มีข้อผูกพันต้องกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการตอบแทน ให้แก่ผู้ให้ หรือบุคคลอื่น ทั้งนี้ เงินรางวัลดังกล่าว จะต้องได้รับภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การแข่งขันสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

ข้อ 4 ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับรางวัลดังกล่าว จะต้องแสดงหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าได้รับเงินจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ

ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

 

ประสงค์ พูนธเนศ

อธิบดีกรมสรรพากร

 

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 37 ง หน้า 115 – 117 ลว. 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560