ว่าด้วยการงดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี เกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร
บทความวันที่ 18 มี.ค. 2564 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 9500 ครั้ง
บทความวันที่ 18 มี.ค. 2564 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 9500 ครั้ง
ว่าด้วยการงดเบี้ยปรับตามมาตรา
89 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี
เกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม
ตามมาตรา
81/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ตามมาตรา
85/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการสินค้าหรือการให้บริการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามมาตรา 77/2 (1) ประกอบกับมาตรา 77/1 (8) และ 10) แห่งประมวลรัษฎากร
โดยมีรายได้ดังกล่าวเกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามมาตรา 81/1
แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม
กล่าวคือ สำหรับกรณีผู้ประกอบการมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกิน 1,800,000 บาทต่อปี
ตามที่พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นกรณีที่ได้กำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมไว้แล้ว
โดยยื่นแบบ ภ.พ.01 คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร นั้น
แม้ผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่ออธิบดีกรมสรรพาก ตามแบบ ภ.พ.01 ภายใน 30 วันตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 85/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังกล่าว แล้วก็ตาม ผู้ประกอบการยังคงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 2 เท่าของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของฐานภาษีที่มิใด้จดทะเบียน เนื่องจากประกอบการโดยมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 และมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งเรื่องนี้
กรมสรรพากรทราบด้วยดีมาแต่ต้นว่า เป็นกรณีที่กฎหมายมีความย้อนแย้ง (Conflict) กัน กล่าวคือ ให้เวลาแก่ผู้ประกอบการในอันที่จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกินกว่าฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม แต่ก้กำหนดให้ต้องเสียเบี้ยปรับ ทั้งที่ผู้ประกอบการได้ให้ความร่วมมือกระทำตามที่กฎหมายกำหนดแล้่ว ดังนั้นในกรณี้ที่ผู้ประกอบการได้ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดดังกล่าว พร้อมทั้งยื่นแบบ และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว ถือได้ว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนรายนั้น ๆ ได้ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการ
และไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเป็นที่ทราบกันในหมู่ผู้เจริญที่ได้ศึกษากฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มโดยชัดแจ้งว่า
กรมสรรพากรไม่มีเจตนาที่จะเรียกเก็บเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จากผู้ประกอบการในกรณีนี้ กรมสรรพากรจึงได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป 121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ดังนี้
“ข้อ 2 มอบหมายให้บุคคลดังต่อไปนี้
สั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา
22 มาตรา 26 มาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ตามหลักเกณฑ์ทีอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด โดยไม่จำกัดจำนวนเบี้ยปรับ
(1) ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษีกลาง
สำหรับเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
(2)
ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ตามที่กรมสรรพากรกำหนด
(3) สรรพากรภาค และนักวิชาการภาษี 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ
ณ สำนักงานสรรพากรภาค สำหรับเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรภาคนั้น
การสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรของนักวิชาการภาษี
9 ชช. ตามวรรคหนึ่ง สรรพากรภาคจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีก็ได้
(4) สรรพากรพื้นที่
สำหรับเขตท้องที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่นั้น
(5) สรรพากรพื้นที่สาขา
สำหรับเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น”
ทั้งนี้ การงดเบี้ยปรับในกรณีดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. เป็นการสั่งงดเบี้บปรับตามหลักเกณฑ์ทีอธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ตามข้อ
2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542 ฯ ดังนี้
1.1 ผู้ประกอบการที่จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา
89 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเบี้ยปรับนั้น
เว้นแต่กรณีอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเบี้ยปรับโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
1.2 การยื่นคำร้องดังกล่าว
ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมิน
ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
พิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
1.3 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระ
ภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ
ให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคำร้องของดเบี้ยปรับ
คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ
หมายความถึง กรณีเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในหนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว
2. เป็นการสั่งงดเบี้บปรับตามเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อ
3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542 ฯ โดยกำหนดหใเจ้าพนักงานประเมินพิจารณางดเบี้ยปรับให้ได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
2.1 เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า ผู้ประกอบการที่จะต้องเสียเบี้ยปรับไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
และ
2.2 ผู้ประกอบการได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี
ดังนั้น นับแต่อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่
ท.ป 121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา เจ้าพนักงานสรรพากรที่ได้รับการศึกษาอบรมเกี่ยวกับการคำนวณเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
89 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้ประกอบการได้ให้ความร่วมมือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา
85/1 แห่งประมวลรัษฎากร โดยได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับมูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกิน
1.8 ล้านบาทต่อปี โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ
โดยเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในหนังสือ (ต.6)
หรือ บันทึกข้อความแล้ว ก็ย่อมได้รับการพิจารณางดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ในกรณีนี้โดยปริยายทุกราย โดยไม่มีการผลัดผ่อนบิดพริ้วใด ๆ จากเจ้าพนักงานประเมิน
จึงหวังว่า เสียงสะท้อนตามข้อความนี้
จะได้เข้าถึงเจ้าพนักงานประเมินที่ยังไม่ทราบถึงเจตนารมณ์ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.
81/2542 ฯ และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 121/2545 ฯ จะได้โปรดทราบถึงแนวทางปฏิบัติที่เป็นอริยะ
อันประเสร็ฐของกรมสรรพากรด้วยดี และเสนอให้สรรพากรพื้นที่งดเบี้ยปรับให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนรายที่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นโดยพลัน
เพราะการฝ่าฝืนคำสั่งผู้บังคับบัญชาในกรณีนี้ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียภาษีอากร
ซึ่งอาจเข้าองค์ประกอบแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้โดยง่ายดาย
ประมวลรัษฎากร
มาตรา 85/1 ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1)
สำหรับผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ
และมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา
81/1 ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามสิบวันนับแต่
(ก)
วันที่มูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม
สำหรับกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมไว้แล้ว หรือ
(ข) วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
สำหรับกรณีที่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมขึ้นใหม่
หรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมน้อยกว่าที่กำหนดไว้ก่อน
(2) สำหรับผู้ประกอบการที่ได้แจ้งต่ออธิบดีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
81/3
ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งต่ออธิบดี
ให้นำมาตรา 85 วรรคสอง วรรคสาม
และวรรคสี่ มาใช้บังคับ
มาตรา 89 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
หรือบุคคลตามมาตรา 86/13 เสียเบี้ยปรับในกรณีและตามอัตราดังต่อไปนี้
(1) ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือประกอบกิจการเมื่อถูกสั่งเพิกถอนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/17 แล้ว ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษี ตลอดระยะเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว หรือเป็นเงินหนึ่งพันบาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า...
เบี้ยปรับตามมาตรานี้อาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.81/2542)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.120/2545)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.121/2545)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.140/2547)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.81/2542)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.92/2542)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.98/2543)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.117/2545)
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่
ท.ป. 81/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
27 ทวิ วรรคสอง มาตรา 67 ตรี วรรคสาม
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 31) พ.ศ.
2534 มาตรา 89 วรรคสอง และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534
อธิบดี กรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
กำหนดหลักเกณฑ์การงดหรือลด เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 11/2529
เรื่อง ระเบียบการงด หรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามมาตรา
22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี และมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10
กันยายน พ.ศ.2529
(2) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 37/2534
เรื่อง ระเบียบการงด หรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา
91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 50/2537 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตาม
มาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2537
ข้อ 2 ให้บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา
22 มาตรา 26 มาตรา 89 หรือมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเบี้ยปรับนั้น
เว้นแต่กรณีอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเบี้ยปรับโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมิน
ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
พิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระ
ภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ
หรือกรณีผู้ประกอบกิจการที่เสียภาษีธุรกิจ
เฉพาะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนั้น
โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคำร้องตามวรรคหนึ่ง
คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสาม
หมายความถึง กรณีเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในหนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว
(ดู คำสั่งกรมสรรพากรที่
ท.ป. 127/2546)
ข้อ 3 เจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้ได้เฉพาะกรณีเจ้า
พนักงานประเมินเห็นว่า บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี
ข้อ 4 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา
22 หรือมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้
แต่ต้องให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของ เบี้ยปรับ
ข้อ 5
การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (1) มาตรา 89 (2) มาตรา 89 (3)
และมาตรา 89 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1)
ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา 83/7
แห่งประมวลรัษฎากร
ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนำส่งนั้น โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจ
สอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 15 วัน
นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษี มูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 15 วัน
แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 5
ของเบี้ยปรับ
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 117/2545)
(ค) ถ้าชำระภายหลัง 30 วัน
แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10
ของเบี้ยปรับ
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 117/2545)
(ง) ถ้าชำระภายหลัง 60 วัน
นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษี มูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.71) หรือแบบนำส่งภาษี
และผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี ตามมาตรา 83/7
แห่งประมวลรัษฎากร ได้มายื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษี
และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนำส่งนั้น
(ก) ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าว
ให้เสีย ร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) พ้นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าว
ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
(3)
ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทำความผิดในการ
เสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา
83/7 แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการบันทึกความผิดไว้ในหนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว
ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก)
ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ภายในหนึ่งปี
นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข)
ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ พ้นกำหนดหนึ่งปี
นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
(4)
ในกรณีที่มีการตรวจพบการกระทำความผิดตาม (3) แล้ว แต่ เจ้าพนักงานประเมินยังไม่ได้ดำเนินการประเมินภาษีให้เสร็จสิ้น
และผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือ ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา 83/7
แห่งประมวลรัษฎากร ได้มายื่นแบบแสดงรายการภาษี
หรือแบบนำส่งภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนำส่งนั้น
ก่อนที่จะได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน
ให้ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบการกระทำ
ความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี
ให้เจ้าพนักงาน ประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดเบี้ยปรับได้ ตามอัตราและเงื่อนไขตาม
(3)
ข้อ 6 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา
89 (5) และมาตรา 89 (10) แห่งประมวล รัษฎากร
ซึ่งไม่ใช่กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้เจ้าพนักงานประเมินมี
อำนาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก)
ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายใน หนึ่งปี
นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข)
ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อพ้น กำหนดหนึ่งปี
นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 7 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา
89 (10) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีมีสินค้า ขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้
ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1)
ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิด
กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี
มูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะ
ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก)
ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ภายในสองปี
นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ
พ้นกำหนดสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 20
ของเบี้ยปรับ
(2)
ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิด
กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้ เสียร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 8 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา
89 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้า พนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้
โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดัง ต่อไปนี้
(1)
ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (8)
แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว
ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะถูกต้องครบ ถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก)
ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ภายในสองปี
นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 0.5 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ
พ้นกำหนดสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 1
ของเบี้ยปรับ
(2)
ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิด ตามมาตรา 89
(8) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสีย ร้อยละ 10
ของเบี้ยปรับ
ข้อ 9 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา
89 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนัก งานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้
แต่ต้องให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 10
การงดหรือลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (6) และมาตรา 89 (7) แห่ง
ประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจพิจารณาสั่งงดหรือลดได้ เว้นแต่อธิบดี
กรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ 11 การงดหรือลดเบี้ยปรับนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้
ให้ กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 120/2545)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 121/2545)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 127/2546)
ข้อ 12 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียเบี้ยปรับหลายกรณีตามมาตรา
89 แห่งประมวลรัษฎากร
ให้เจ้าพนักงานประเมินสั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียงกรณีเดียว ซึ่ง เป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บได้เงินเป็นจำนวนมาก
และอาจพิจารณาสั่งลดให้อีกตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 หรือข้อ 11
สำหรับกรณีที่เรียกเก็บนั้น ส่วนกรณีอื่นให้งด
ข้อ 13 ให้นำความในข้อ
5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 11 และข้อ 12 มาใช้บังคับสำหรับการงดหรือลดเบี้ยปรับตามมาตรา
91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากรโดย อนุโลม
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.121/2545)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.127/2546 )
ข้อ 14 ให้บุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่ม
ตามมาตรา 67 ตรี ทำคำร้องเป็น
หนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเงินเพิ่มนั้น
เว้นแต่กรณีอธิบดีกรม
สรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเงินเพิ่มโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือ แจ้งการประเมิน
ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
ในกรณีบุคคลตามวรรคหนึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี
เงินได้นิติบุคคลกลางปี โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็น
หนังสือ ให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคำร้องตามวรรคหนึ่
คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรค
สามหมายความถึง กรณีเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิด
ไว้ในหนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว
ข้อ 15
เจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มให้ได้เฉพาะกรณี
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า
บุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่มไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี
ข้อ 16 การลดเงินเพิ่มตามมาตรา
67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้
ดังต่อไปนี้
(1)
กรณีบุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ
โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน โดยตรงเป็นหนังสือ ให้ลดเงินเพิ่มได้
แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ
ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน
7 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50
ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้เสียร้อยละ 1.5
ต่อเดือน หรือเศษ ของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ
แต่ไม่เกินเงินเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 17
การงดหรือลดเงินเพิ่มนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้ ให้
กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
ข้อ 18 คำสั่งกรมสรรพากรที่ถูกยกเลิกโดยคำสั่งนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้า
ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปสำหรับการจัดเก็บภาษีการค้าที่ต้องชำระอยู่ก่อนหรือในและหลังวันที่
คำสั่งฉบับนี้ใช้บังคับ
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันออกคำสั่งนี้เป็นต้นไป
สั่ง
ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอก
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 120/2545
เรื่อง มอบหมายการสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรกรณีการนำเข้า
--------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกตามความในมาตรา 89 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)
พ.ศ. 2534 เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 11
ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง
หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 มอบหมายให้เจ้าพนักงานประเมินสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยไม่ต้องมีคำร้องของผู้นำเข้า ดังนี้
(1) ในกรณีที่ผู้นำเข้าได้รับการงดค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ในกรณีที่มีการเรียกค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรน้อยกว่าหนึ่งเท่าของเงินอากรที่ขาด
ให้ลดเบี้ยปรับลงคงเสียตามอัตราส่วนของค่าปรับที่เรียกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(3) ในกรณีที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
แต่เจ้าพนักงานตรวจพบว่าผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้อง
หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป
ให้ลดเบี้ยปรับลงคงให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
(4) ในกรณีที่ผู้นำเข้าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและเบี้ยปรับที่ต้องเสียเต็มอัตราตามกฎหมายมีจำนวนไม่เกิน
1,000.- บาท ให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ 2 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11
ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 10
ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 121/2545
เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะ
--------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง
หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา
91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่น
ดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 11 และข้อ 13 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง
หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา
91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่ง
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 61/2539 เรื่อง มอบอำนาจการสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(2) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 70/2540 เรื่อง มอบอำนาจสั่งงดเบี้ยปรับ ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์บางกรณี ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.
2540
(3) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 96/2543 เรื่อง มอบอำนาจการสั่งงดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
การสั่งขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์และการสั่งอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรสำหรับศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ 2 มอบหมายให้บุคคลดังต่อไปนี้ สั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ตามหลักเกณฑ์ทีอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
โดยไม่จำกัดจำนวนเบี้ยปรับ
(1) ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษีกลาง สำหรับเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
(2) ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ตามที่กรมสรรพากรกำหนด
“(3) สรรพากรภาค และนักวิชาการภาษี 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สำนักงานสรรพากรภาค สำหรับเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรภาคนั้น
การสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรของนักวิชาการภาษี
9 ชช.
ตามวรรคหนึ่ง
สรรพากรภาคจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่
ท.ป.142/2547 ใช้บังคับ 17 พฤศจิกายน 2547
เป็นต้นไป)
(4) สรรพากรพื้นที่
สำหรับเขตท้องที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่นั้น
(5) สรรพากรพื้นที่สาขา
สำหรับเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น
ข้อ 3 มอบหมายให้เจ้าพนักงานสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 22 มาตรา
26 มาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ได้
นอกเหนือไปจากหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด สำหรับคำร้องขอ งดหรือลดเบี้ยปรับที่มีจำนวนเบี้ยปรับเต็มอัตราตามกฎหมาย
ดังนี้
(1) ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษีกลาง
สำหรับเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรไม่เกิน 500,000.- บาท
(2) ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ไม่เกิน 500,000.- บาท
“(3) สรรพากรภาค และนักวิชาการภาษี 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สำนักงานสรรพากรภาค
สำหรับเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรภาคนั้น ไม่เกิน 300,000.- บาท
การสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรของนักวิชาการภาษี
9 ชช.
ตามวรรคหนึ่ง
สรรพากรภาคจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่
ท.ป.142/2547 ใช้บังคับ 17 พฤศจิกายน 2547
เป็นต้นไป)
(4) สรรพากรพื้นที่
สำหรับเขตท้องที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่นั้นไม่เกิน 100,000.-บาท
ข้อ 4 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 10
ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร