ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

เรียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับนักบัญชี ตอนที่ 2 บทบัญญัติกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม

บทความวันที่ 19 ม.ค. 2564  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 1553 ครั้ง

เรียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับนักบัญชี ตอนที่ 2

บทบัญญัติกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม

         

ก่อนที่จะเรียนรู้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอทยอยนำองค์รวมของระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมากล่าวเป็นตอน ๆ โดยเริ่มจากบทบัญญัติกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนดังนี้

บทบัญญัติกำหมายภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นไปตามหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งย่อยออกเป็น 14 ส่วน รวม 115 มาตรา ในแต่ละส่วนจะขึ้นเลขมาตราใหม่จากมาตรา 77 ถึงมาตรา 90 ดังนี้

ส่วน  1  ข้อความทั่วไป (รวม 6 มาตรา)

     มาตรา 77        ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมิน

     มาตรา 77/1    นิยามศัพท์เกี่ยวกับ

                            - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

                            - กิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

                            - การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

     มาตรา 77/2    หลักการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

                            - หลักการบริโภค

                            - หลักปลายทาง

     มาตรา 77/3     กิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

     มาตรา 77/4     การส่งสำเนาสัญญาที่มีมูลค่าตั้งแต่ 500,000 บาท ขึ้นไป

     มาตรา 77/5     อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในการตีความว่ากิจการใดเป็นการขายสินค้าหรือการให้บริการ

ส่วน 2 ความรับผิดในการเสียภาษี (รวม 4 มาตรา)

     มาตรา 78         ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีขายสินค้า

     มาตรา 78/1     ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีให้บริการ

     มาตรา 78/2     ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีนำเข้า

     มาตรา 78/3     ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

ส่วน 3 ฐานภาษี (รวม 8 มาตรา)

     มาตรา 79         ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ รูปแบบของมูลค่าฐานภาษี และกรณีที่ไม่นับรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี

     มาตรา 79/1     ฐานภาษีสำหรับการส่งออก การขนส่งระหว่างประเทศ และกรณีที่จะกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

     มาตรา 79/2     ฐานภาษีสำหรับการนำเข้า

     มาตรา 79/3     การคำนวณมูลค่าของฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ

     มาตรา 79/4     การคำนวณมูลค่าของฐานภาษีที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้เป็นเงินตราไทย

     มาตรา 79/5     ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและขายยาสูบ

     มาตรา 79/6     ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

     มาตรา 79/7     การกำหนดฐานภาษีโดยพระราชกฤษฎีกา

ส่วน 4 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (รวม 3 มาตรา)

      มาตรา 80        การประกอบกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10.0

     มาตรา 80/1     การประกอบกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

     มาตรา 80/2     การประกอบกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 2.5

ส่วน 5 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (รวม 4 มาตรา)

     มาตรา 81         การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่างๆ 

     มาตรา 81/1     การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กิจการขนาดย่อม

     มาตรา 81/2     อำนาจอธิบดีในการกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำรายงาน

     มาตรา 81/3     สิทธิในการขอแจ้งต่ออธิบดีเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ส่วน 6 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีและการคำนวณภาษี (รวม 19 มาตรา)

     มาตรา 82         ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

     มาตรา 82/1     ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีต่างๆ

     มาตรา 82/2     ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกับผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร 

     มาตรา 82/3     การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสีย ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

     มาตรา 82/4     สิทธิในการเรียกภาษีขายจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

     มาตรา 82/5     ภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

     มาตรา 82/6     การเฉลี่ยภาษีซื้อ

      มาตรา 82/7    การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายยาสูบที่อธิบดีกำหนด

     มาตรา 82/8     การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

     มาตรา 82/9     เงื่อนไขการออกใบเพิ่มหนี้

     มาตรา 82/10   เงื่อนไขการออกใบลดหนี้

     มาตรา 82/11   ภาษีขายที่คำนวณจากส่วนของหนี้สูญ

     มาตรา 82/12   การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีรับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า หรือสิทธิในบริการอัตราศูนย์

     มาตรา 82/13   การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการนอกราชอาณาจักร และได้เข้ามาประกอบกิจการในราชอาณาจักร

     มาตรา 82/14   การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีนำเข้าสินค้า

     มาตรา 82/15   การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีรับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรศุลกากร

     มาตรา 82/16   การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5

     มาตรา 82/17   สิทธิขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5

     มาตรา 82/18   การเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5

ส่วน 7 การยื่นแบบและการชำระภาษี (รวม 11 มาตรา)

     มาตรา 83         การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีทั่วไป

     มาตรา 83/1     การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการบางประเภท

     มาตรา 83/2     การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

     มาตรา 83/3     ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการแทนหรือร่วมกับผู้ประกอบการจดทะเบียน

     มาตรา 83/4     การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่ม

     มาตรา 83/5     การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ขายทอดตลาด

     มาตรา 83/6     การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร

     มาตรา 83/7     การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือสิทธิในบริการอัตราศูนย์

     มาตรา 83/8     การยื่นใบขนสินค้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้นำเข้า

     มาตรา 83/9     การยื่นใบขนสินค้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีนำสินค้าออกจากเขตปลอดอากร

     มาตรา 83/10   ให้กรมศุลกากรหรือกรมสรรพสามิตเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากร

ส่วน 8 เครดิตภาษีและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (รวม 5 มาตรา)

     มาตรา 84         สิทธิขอคืนหรือขอเครดิตภาษี

     มาตรา 84/1     เงื่อนไขการขอคืนภาษี

     มาตรา 84/2     การขอคืนภาษีสำหรับการนำเข้า

     มาตรา 84/3     ให้ดอกเบี้ยสำหรับการคืนภาษี

     มาตรา 84/4     หลักเกณฑ์การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร

ส่วน 9 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (รวม 20 มาตรา)

     มาตรา 85         ให้ขอจดทะเบียนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ

     มาตรา 85/1     กำหนดเวลาขอจดทะเบียนของกิจการเกินขนาดย่อม

     มาตรา 85/2     ให้ตัวแทนมีหน้าที่รับผิดชอบในการจดทะเบียน

     มาตรา 85/3     กรณีไม่ต้องจดทะเบียน และ การจดทะเบียนชั่วคราว

     มาตรา 85/4     ให้แสดงใบทะเบียนไว้ ณ ที่เปิดเผย

     มาตรา 85/5     กรณีทะเบียนสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด

     มาตรา 85/6     ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ในการจดทะเบียน

     มาตรา 85/7     การเปิดสถานประกอบการ

     มาตรา 85/8     การย้ายสถานประกอบการ

     มาตรา 85/9     สถานประกอบการเฉพาะกิจ

     มาตรา 85/10   ขอให้อธิบดีสั่งถอนทะเบียนได้

     มาตรา 85/11   กรณีเพิ่มมูลค่าของกิจการขนาดย่อม

     มาตรา 85/12   แจ้งหยุดประกอบกิจการชั่วคราว

     มาตรา 85/13   แจ้งโอนกิจการ

     มาตรา 85/14   การควบบริษัทเข้ากัน ให้แจ้งการเลิกและการจดทะเบียนใหม่

     มาตรา 85/15   แจ้งการเลิกกิจการ

     มาตรา 85/16   กรณีผู้ประกอบการตาย

     มาตรา 85/17   การสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน

     มาตรา 85/18   ผู้รับผิดชอบ กรณีถอนทะเบียน กรณีเลิก กรณีตาย

     มาตรา 85/19   กรณีที่อธิบดีสั่งขีดชื่อออกจากทะเบียน

ส่วน 10 ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ (รวม 15 มาตรา)

     มาตรา 86         หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษี

     มาตรา 86/1     ผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี

     มาตรา 86/2     การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร

     มาตรา 86/3     การออกใบกำกับภาษีของผู้ทอดตลาด

     มาตรา 86/4     รายการในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

     มาตรา 86/5     รายการในใบกำกับภาษีที่อธิบดีกำหนดเป็นอย่างอื่น

     มาตรา 86/6     รายการในใบกำกับภาษีอย่างย่อของกิจการค้าปลีก และการขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ

     มาตรา 86/7     ขอออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และการขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อของกิจการอย่างอื่น

     มาตรา 86/8     ข้อผ่อนปรนเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษี

     มาตรา 86/9     รูปแบบของใบเพิ่มหนี้

     มาตรา 86/10   รูปแบบของใบลดหนี้

     มาตรา 86/11   การขอออกใบกำกับภาษีต่อไป กรณีเลิกกิจการหรือขอให้เพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 

     มาตรา 86/12   ใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ และใบแทนใบลดหนี้

     มาตรา 86/13   ความรับผิดของผู้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะออก

     มาตรา 86/14   ใบเสร็จรับเงินที่กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิตออกให้ถือเป็นใบกำกับภาษี

ส่วน 11 การจัดทำรายงานและเก็บรักษาหลักฐานและเอกสาร (รวม 4 มาตรา)

     มาตรา 87         หลักเกณฑ์การจัดทำรายการภาษีขาย ภาษีซื้อ สินค้าและวัตถุดิบ

     มาตรา 87/1     อำนาจอธิบดีในการกำหนดให้จัดทำรายงานเป็นอย่างอื่น

     มาตรา 87/2     อำนาจอธิบดีในการกำหนดให้ตัวแทนจัดทำรายงาน

     มาตรา 87/3     หลักเกณฑ์การเก็บรักษารายงาน ใบกำกับภาษี และเอกสารอื่น

ส่วน 12 อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน (รวม 7 มาตรา)

     มาตรา 88         อำนาจในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม

     มาตรา 88/1     อำนาจในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจากผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้

     มาตรา 88/2     อำนาจในการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการประเมินตามมาตรา 88 และมาตรา 88/1

     มาตรา 88/3     อำนาจในเข้าไปในสถานประกอบการเพื่อตรวจปฏิบัติการ

     มาตรา 88/4     อำนาจในการออกหมายเรียก

     มาตรา 88/5     อำนาจแจ้งการประเมินเป็นหนังสือ

     มาตรา 88/6     กำหนดเวลาการประเมินภาษี

ส่วน 13 เบี้ยปรับ - เงินเพิ่ม (รวม 3 มาตรา)

     มาตรา 89         หลักเกณฑ์เกี่ยวกับเบี้ยปรับ

     มาตรา 89/1     หลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงินเพิ่ม

     มาตรา 89/2     เบี้ยปรับและเงินเพิ่มถือเป็นภาษี

ส่วน 14 บทกำหนดโทษ (รวม 6 มาตรา)

     มาตรา 90         กรณีความผิดที่ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

     มาตรา 90/1     กรณีความผิดที่ระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

     มาตรา 90/2     กรณีความผิดที่ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     มาตรา 90/3     กรณีความผิดที่ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     มาตรา 90/4     กรณีความผิดที่ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และ ปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท

                            (ดู มาตรา 37 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบ)

     มาตรา 90/5     ผู้ต้องรับโทษกรณีผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล


ซึ่งผู้เรียนต้องกำหนดขอบเขตของบทบัญญัติกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละส่วน เพื่อการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงของกฎหมายในตอนต่อ ๆ ไป โดยอ่านย้ำอ่านทวนหลาย ๆ รอบจนสามารถหลับตามองเห็นแต่ละมาตราในแต่ละส่วนได้โดยพลัน