



ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการให้บริการเป็นตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
บทความวันที่ 12 ม.ค. 2564 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 5126 ครั้ง
บทความวันที่ 12 ม.ค. 2564 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 5126 ครั้ง
ภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับการให้บริการเป็นตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง)
กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่าย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40
(2) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการเป็นตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) ตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง
สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 124/2546 ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 ดังนี้
1. หลักการทั่วไป
“ตัวการมีหน้าที่โดยประการใด
ให้ตัวแทนปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ แทนตัวการโดยประการนั้น” กล่าวคือ ตัวแทนต้องทําการตามคําสั่งทั้งที่แสดงออกชัดแจ้ง
หรือโดยปริยายของตัวการ และตัวแทนต้องทําการด้วยตนเอง เว้นแต่จะมีอํานาจใช้ตัวแทนช่วงทําการได้
ทั้งนี้ ตัวแทนต้องได้รับความยินยอมในอันที่จะเข้าทํานิติกรรมในนามของตัวการ เว้นแต่ในกรณีของการชําระหนี้
กิจการใดที่มีกฎหมายกําหนดว่าต้องทําเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการนั้นก็ต้องทําเป็นหนังสือ
หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ด้วย แล้วแต่กรณี
“ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจในฐานะตัวแทน”
(ดู http://web.krisdika.go.th/data/legalform/form_191/form_191.pdf “ลักษณะของสัญญาตัวแทน”
ประกอบ)
2. หน้าที่ของตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
2.1 เป็นตัวแทนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า
โดยจัดทำใบขนสินค้า ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ
ด่านศุลกากรเพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้า
และส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งสินค้าออกนอก
ราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศให้แก่ผู้ส่งออก
2.2 จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าให้แก่ส่วนราชการ
องค์การของ รัฐบาล หรือนิติบุคคลซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา
39 แห่งประมวลรัษฎากร
2.3 จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา
39 แห่งประมวลรัษฎากร
2.4 คำนวณหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า โดยเจ้าของสินค้ามีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี
ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ
ภ.ง.ด.53 เว้นแต่ กรณีผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้ามีความประสงค์จะให้ตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 แทนเจ้าของสินค้าก็สามารถกระทำได้
3. การปฏิบัติการทางภาษีอากรของตัวแทน
3.1
กรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าให้แก่ส่วนราชการ
องค์การของ รัฐบาล หรือนิติบุคคลซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา
39 แห่งประมวลรัษฎากร ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย (ข้อ 2 วรรคสอง)
3.2
กรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา
39 แห่งประมวลรัษฎากร ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย ในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า
โดยเจ้าของสินค้ามีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53
(ข้อ 2 วรรคสาม)
3.3
กรณีผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้ามีความประสงค์จะให้ตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 แทนเจ้าของสินค้าก็สามารถกระทำได้ โดยตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง)ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
และระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้าด้วย
และตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ตามแบบ ภ.ง.ด.53 เป็นรายฉบับแต่ละรายของเจ้าของ สินค้า โดยต้องระบุชื่อ ที่อยู่
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้าในช่อง “ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย”
และระบุชื่อตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ในช่อง “ผู้จ่ายเงิน” ซึ่งกรมสรรพากรจะออกใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า
และตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่าย ใบเสร็จรับเงินจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 และสำเนาแบบ ภ.ง.ด.53
ให้แก่เจ้าของสินค้าด้วย (ข้อ 2 วรรคสี่)
กรณีตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) ได้จ่ายเงินของตนไปก่อนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า
ให้ปฏิบัติตามข้อ 3.1 ข้อ 3.2 และข้อ 3.3 ดังกล่าว และต่อมาเมื่อตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง)
ได้เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรคืนจากเจ้าของสินค้า
ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำนวนเงินดังกล่าว
และเจ้าของสินค้า ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (ข้อ 3)
4. ภาระภาษีอากรของตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
4.1 กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม
การประกอบกิจการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา
77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา
77/2 และมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยคำนวณภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
(ข้อ 1 วรรคแรก)
4.2 กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย
ค่าบริการที่ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าจ่ายให้แก่ตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยและ ผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคล
หรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ
3.0 ของค่าบริการ และกรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
เป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา
47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
หรือนิติบุคคลอื่น มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10.0
ของค่าบริการ ทั้งนี้ ตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 (ข้อ 1 วรรคแรก)
4.3 กรณีที่ไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(1) เมื่อผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าได้จ่ายเงินจ่ายล่วงหน้า
(Advance
Payment) ให้แก่ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
เพื่อดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออก
ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ในขณะที่จ่ายเงินจ่ายล่วงหน้า (ข้อ 2 วรรคแรก)
(2) ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า
ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ต้องแสดงเอกสารหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าใช้จ่ายในนามของเจ้าของสินค้า
และเมื่อตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) เรียกเก็บค่าบริการจากเจ้าของสินค้า ตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง)
มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับ
และผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากค่าบริการทั้งหมดที่จ่าย (ข้อ
4)
4.4 ตัวอย่าง
ในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็น
เจ้าของสินค้า ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ได้จ่ายเงินของตนไปก่อนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากร
โดยค่าใช้จ่ายที่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า ได้แก่ การจ่ายค่าภาระ (Port Handling Charge) ค่าเช่าพื้นที่ ค่าใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ และค่าขนส่ง
ให้แก่ท่าเรือ คลังสินค้า หรือการจ่ายค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้แก่กรมศุลกากร
จำนวน 10,000 บาท นอกจากนี้ ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ได้จ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้าและค่าใช้จ่ายตามประเพณีซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของสินค้ายอมรับว่ามีการ
จ่ายจริงอีกจำนวน 4,000 บาท เมื่อการดำเนินงานแล้วเสร็จ ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ได้ออก ใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายและค่าบริการจากเจ้าของสินค้า
โดยระบุรายการค่าใช้จ่ายแยกเป็นค่าใช้จ่ายที่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้าจำนวน
10,000 บาท ค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้าจำนวน 4,000 บาท
และค่าบริการจำนวน 2,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 16,000 บาท
กรณีดังกล่าวตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
และเจ้าของสินค้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้
(1) ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการจำนวน 6,000 บาท
ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของ สินค้าจำนวน 4,000
บาท และค่าบริการจำนวน 2,000 บาท
(2)
เจ้าของสินค้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
จากค่าบริการทั้งหมดที่จ่ายจำนวน 6,000 บาท
(3) ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรที่เรียกเก็บจากเจ้าของสินค้าจำนวน
10,000 บาท ซึ่ง เป็นค่าใช้จ่ายที่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า
และเมื่อเจ้าของสินค้าจ่ายเงินจำนวน 10,000 บาท ดังกล่าวให้แก่ตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) เจ้าของสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่าย
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 124/2546
เรื่อง
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่าย
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร
เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการเป็นตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนำ เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการเป็นตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ประกอบกิจการเป็นตัวแทนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า
โดยจัดทำใบขนสินค้า ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ
ด่านศุลกากรเพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้า
และส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งสินค้าออกนอก
ราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศให้แก่ผู้ส่งออก
การประกอบกิจการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา
77/2 และมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
โดยคำนวณภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
ค่าบริการที่ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าจ่ายให้แก่ตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยและ
ผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคล หรือนิติบุคคลอื่น
ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการ และกรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
เป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา
47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10.0 ของค่าบริการ
ทั้งนี้ ตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ข้อ 2 กรณีผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าได้จ่ายเงินจ่ายล่วงหน้า
(Advance
Payment) ให้แก่ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) เพื่อดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออก
ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ในขณะที่จ่ายเงินจ่ายล่วงหน้า
กรณีตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง)
ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าให้แก่ส่วนราชการ
องค์การของ รัฐบาล
หรือนิติบุคคลซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
กรณีตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา
39 แห่งประมวลรัษฎากร ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย ในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า
โดยเจ้าของสินค้ามีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53
กรณีผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้ามีความประสงค์จะให้ตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 แทนเจ้าของสินค้าก็สามารถกระทำได้
โดยตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่ายของตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) และระบุชื่อ ที่อยู่
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้าด้วย และตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
มีหน้าที่ต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 เป็นรายฉบับแต่ละรายของเจ้าของ สินค้า โดยต้องระบุชื่อ ที่อยู่
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้าในช่อง "ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย" และระบุชื่อตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ในช่อง "ผู้จ่ายเงิน" ซึ่งกรมสรรพากรจะออกใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า
และตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ใบเสร็จรับเงินจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 และสำเนาแบบ ภ.ง.ด.53 ให้แก่เจ้าของสินค้าด้วย
ข้อ 3 ให้นำความในข้อ
2 วรรคสอง วรรคสาม
และวรรคสี่มาใช้บังคับสำหรับกรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ได้จ่ายเงินของตนไปก่อนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า
และต่อมาเมื่อตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ได้เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรคืนจากเจ้าของสินค้า
ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำนวนเงินดังกล่าว
และเจ้าของสินค้า ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ข้อ 4 กรณีตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง)
จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า
ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ต้องแสดงเอกสารหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าใช้จ่ายในนามของเจ้าของสินค้า
และเมื่อตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) เรียกเก็บค่าบริการจากเจ้าของสินค้า ตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง)
มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับ
และผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากค่าบริการทั้งหมดที่จ่าย
ตัวอย่าง
ในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็น เจ้าของสินค้า
ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ได้จ่ายเงินของตนไปก่อนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากร
โดยค่าใช้จ่ายที่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า ได้แก่ การจ่ายค่าภาระ (Port Handling Charge) ค่าเช่าพื้นที่ ค่าใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ และค่าขนส่ง
ให้แก่ท่าเรือ คลังสินค้า หรือการจ่ายค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้แก่กรมศุลกากร
จำนวน 10,000 บาท นอกจากนี้ ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง)
ได้จ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้าและค่าใช้จ่ายตามประเพณีซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของสินค้ายอมรับว่ามีการ
จ่ายจริงอีกจำนวน 4,000 บาท เมื่อการดำเนินงานแล้วเสร็จ
ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ได้ออก
ใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายและค่าบริการจากเจ้าของสินค้า
โดยระบุรายการค่าใช้จ่ายแยกเป็นค่าใช้จ่ายที่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้าจำนวน
10,000 บาท
ค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้าจำนวน 4,000 บาท และค่าบริการจำนวน 2,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 16,000 บาท
กรณีดังกล่าวตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
และเจ้าของสินค้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้
(1) ตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการจำนวน 6,000 บาท ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของ สินค้าจำนวน
4,000 บาท และค่าบริการจำนวน 2,000 บาท
(2) เจ้าของสินค้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่ายจากตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) จากค่าบริการทั้งหมดที่จ่ายจำนวน 6,000
บาท
(3) ตัวแทนออกของ
(ชิปปิ้ง) ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรที่เรียกเก็บจากเจ้าของสินค้าจำนวน
10,000 บาท ซึ่ง
เป็นค่าใช้จ่ายที่มีใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า
และเมื่อเจ้าของสินค้าจ่ายเงินจำนวน 10,000 บาท
ดังกล่าวให้แก่ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) เจ้าของสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี
เงินได้ ณ ที่จ่าย
สั่ง ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร



